ค้นหาในเว็บไซต์ :

วิปัสสนา

เรื่องที่ ๓๗ : ๑๑ วันธรรมบรรยาย ( ๒๓ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


มีอุปาทานอยู่ ๔ อย่าง ที่คนมักจะติดอยู่ตลอดชั่วชีวิต

อุปาทานประการแรก ก็คือ ความยึดมั่นในกาม หรือความอยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่าพอใจ ซึ่งเรียกว่า กามุปาทาน เมื่อใดที่เกิดความอยากในสิ่งเหล่านี้ขึ้นในใจ เวทนาหรือ ความรู้สึกทางกาย ก็จะเกิดขึ้นมาด้วยแม้ว่าจะเป็นความรู้สึก เดือดร้อนฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นในส่วน ลึก แต่โดยผิวเผินคนเราก็ยังชอบความรู้สึกเช่นนี้ และอยากให้มีอยู่ต่อไป ซึ่งอาจเปรียบเทียบ ได้กับการเกาแผล ทั้งๆที่รู้ว่า จะทำให้แผลอักเสบ แต่คนก็ยังชอบเกา เมื่อสมปรารถนาแล้ว ความรู้สึกที่มา พร้อมกับความอยากหมดไปแล้ว คนก็จะสร้างความอยากขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เกิด ความรู้สึกแบบเดียวกันต่อไปอีกแล้วก็จะเริ่มติดความอยากนั้น และเพิ่มความทุกข์ให้กับตนเอง

อุปาทานประการที่ 2 ก็คือ การยึดติดกับ "ตัวฉัน" "ของฉัน" ซึ่งเรียกว่า อัตตวาทุปาทาน โดยไม่รู้ว่า แท้จริง "ตัวฉัน" นั่นคืออะไร คนเรามักจะทนคำวิพากษ์วิจารณ์ ความเป็น "ตัวฉัน" ไม่ได้ หรือทนไม่ได้ ที่จะให้ใครมาทำร้าย "ตัวฉัน" อุปาทานจะขยายรวมไปถึง อะไรก็ตาม ที่ "ตัวฉัน" เป็นเจ้าของ หรืออะไรก็ตามที่เป็น "ของฉัน" อุปาทานนี้จะไม่นำมาซึ่งความทุกข์ ถ้า หากอะไรก็ตาม ที่เป็น "ของฉัน" นั้น จะยังคงมีอยู่ตลอดกาล และ "ตัวฉัน" จะยังมีชีวิตอยู่ เพื่อมีความสุขกับสิ่งที่เป็นของฉันได้ตลอดกาลเช่นกัน แต่ตามกฏธรรมชาตินั้น ไม่ช้าก็เร็วคน เราจะต้องตายไป ด้วยเหตุนี้ การยึดติดกับสิ่งที่ไม่จีรังย่อมนำมาซึ่งความทุกข์

อุปาทานประการที่ 3 ก็คือ การยึดมั่นถือมั่นในความคิดเห็น และความเชื่อของตนเอง ซึ่ง เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน เรามักจะไม่สามารถทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็น หรือความเชื่อ ของเราได้ หรือแม้แต่จะรับความคิดเห็นของคนอื่นก็ยังยากคนเรามักไม่เข้าใจว่า คนทุกคน ต่างสวมแว่นสี แตกต่างกันคนละสี ถ้าเราสามารถถอดแว่นออกได้ เราก็จะแลเห็น สภาพความ จริง อย่างที่มันเป็นอยู่ โดยไม่มีการแต่งแต้ม แต่ส่วนใหญ่แล้ว คนก็ยังติดอยู่กับสีแว่นของตน เอง ติดอยู่กับแนวความคิด ความเชื่อมั่นที่มีอยู่ดั้งเดิมของตน

อุปาทานประการที่ 4 ก็คือ การยึดมั่นถือมั่นในวิธีปฏิบบัติแบบแผน หรือพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งเรียกว่า สีลัพพัตตุปาทาน เรามักไม่สามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเปลือกนอก และ ไม่ได้มีสาระความเป็นจริงอยู่เลย หากผู้ได้เรียนรู้ ถึงวิธีการที่จะได้พบกับสัจธรรมภายในกาย ตนแล้ว แต่ยังคงยึดติดอยู่กับรูปแบบพิธีกรรมภายนอก ที่ไร้สาระเหล่านี้ อุปาทานที่ยึดติดอยู่ ก็ จะทำให้เกิดความลังเลสงสัยขึ้น ในตัวผู้นั้น และมีผลให้เกิดความทุกข์ หากเราได้พิจารณา ความทุกข์ทั้งหลายในชีวิตให้ ถ่องแท้แล้ว เราก็จะพบว่า ความทุกข์ต่างเกิดขึ้นจากอุปาทานทั้ง ๔ ประการนี้ ซึ่งใน การค้นหาสัจธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ได้ทรงค้นพบสภาพความ เป็นจริงในข้อ นี้ แม้กระนั้น พระองค์ก็ยังคงสำรวจภายในพระองค์เองต่อไป เพื่อค้นหาต้น ตอที่ลึก สุดของความทุกข์ ให้เข้าใจว่า ปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อติดตาม ไปให้ถึง ต้นเหตุแห่ง ทุกข์





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย