เมื่อเราเริ่มสังเกตดูอริยสัจข้อแรก คือ ทุกข์ หรือ ความจริงเกี่ยวกับความทุกข์แล้ว สาเหตุ
แห่งทุกข์ คือ สมุทัย ก็จะปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด เพื่อเราจะได้พิจารณาสมุทัย ซึ่งเป็น
อริยสัจข้อที่ ๒ ได้ด้วย หากสาเหตุถูกขจัดให้หมดไป ความทุกข์ก็จะถูกขจัดออกไปด้วย นี่คือ
อริยสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธ การที่จะขจัดความทุกข์ออกไปได้ คนเราจะต้องมีวิธีการ นั่นคือ
อริยสัจข้อที่ ๔ หรือ มรรค อันได้แก่ หนทางที่จะดับทุกข์ โดยการขจัดสาเหตุแห่งทุกข์ เรา
เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ ที่จะสังเกตดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางกาย โดยไม่มีการปรุงแต่งสังเกต
ดูความเจ็บปวดที่ได้รับ ด้วยความมีอุเบกขา คือวางใจเฉย เสมือนว่าเป็นความเจ็บปวดของ
ผู้อื่น ตรวจสอบดูความเจ็บปวดนั้น ให้เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบการทดลองใน
ห้องปฏิบัติการ หากท่านล้มเหลวก็ให้พยายามใหม่ พยายามต่อไป แล้วท่านจะได้พบว่า ท่าน
ค่อยๆ คลายจากความทุกข์
สิ่งมีชีวิตทุกๆ ชีวิต จะต้องมีความทุกข์ชีวิตเริ่มต้นด้วยการร้องไห้ การเกิดเป็นความทุกข์อัน
ใหญ่หลวง เพราะผู้ที่เกิดมา จะต้องเผชิญกับความทุกข์ อันเนื่องมาจาก ความเจ็บป่วย และ
ความแก่แต่ไม่ว่าชีวิตคนเราจะทุกข์ขนาดไหน ก็ไม่มีใครอยากตาย เพราะความตายนั้น จัดเป็น
ความทุกข์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดชีวิตคนเราต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่เราไม่ชอบ และก็ยังต้อง
พลัดพรากจากสิ่งที่เรารักเราชอบอีกด้วย
สิ่งที่ไม่ต้องการมักจะเกิดขึ้น แต่สิ่งที่ต้องการกลับไม่เกิด เหล่านี้ล้วนทำให้เรารู้สึกเป็นทุกข์
การเข้าใจความเป็นจริงอันนี้ โดยเพียงแต่เข้าใจในเหตุผลก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้คนเราพ้น
จากความทุกข์ได้ อย่างมากก็เพียงแต่ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้มองเข้าไปในตนเอง เพื่อที่
จะได้พบกับความจริง และพบหนทางที่จะพ้นทุกข์เท่านั้น สิ่งที่ เจ้าชายสิทธัตถะโคตมะ ได้
ทรงทำ เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็คือ การที่พระองค์ทรงเริ่มสังเกตดูความจริง ภายใน
กรอบแห่งร่างกายของพระองค์เอง เหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าวิจัย โดยค่อยๆ
สังเกตดูจากสภาพความเป็นจริง ที่ปรากฏอยู่ทั่วๆ ไป ไปสู่สภาพความเป็นจริงในระดับที่ลึกลง
ไป จนกระทั่งถึงสภาพความเป็นจริง ในขั้นที่ละเอียดที่สุด พระองค์จึงได้ทรงพบว่า เมื่อใดก็
ตามที่คนเกิดความอยาก หรือตัณหาขึ้นมา ไม่ว่าจะเพื่อเป็นการรักษาความรู้สึกที่เป็นสุขเอาไว้
หรือเพื่อที่จะขจัดความรู้สึกที่เป็นทุกข์ออกไป หากความอยากนั้น มิได้เป็นไปตามความ
ปรารถนา คนเราก็จะเริ่มเป็นทุกข์
และเมื่อพระองค์ได้สังเกตต่อไป จนถึงระดับที่ละเอียดที่สุด พระองค์ทรงพบว่าเมื่อมองสิ่ง
เหล่านี้ด้วยใจอันเป็นอุเบกขาแล้ว ก็เห็นได้ชัดว่า ความยึดมั่นถือมั่น หรืออุปาทาน ที่มีต่อขันธ์
๕ หรือ ต่อรูปนาม หรือต่อกายและใจของเรานั้น เป็นทุกข์จากการคิดพิจารณาหาเหตุผล เรา
ก็พอจะเข้าใจได้ว่า รูปหรือกายนั้น ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เปลี่ยน
แปลงไป ไม่มีตัวตน ไม่สามารถควบคุมได้ แต่โดยความจริงแล้ว คนทั่วไปก็ยังคงมีความยึด
มั่นถือมั่นในตัวตนอยู่นั่นเอง และในทำนองเดียวกัน ก็สร้างอุปาทานขึ้นกับจิต หรือนามทั้ง ๔
ส่วน คือ วิญญาณ สัญญา เวทนา และสังขาร โดยยึดติดอยู่ว่า เป็น "ตนเอง" "ของตน" โดย
ไม่คำนึงถึงธรรมชาติที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอของมัน
โดยทั่วๆไป มนุษย์เราก็มักจะใช้คำว่า "ตัวเรา" และ "ของเรา"อยู่แล้ว เมื่อมามีอุปาทานยึด
ติดอยู่กับขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป วิญญาณ สัญญา เวทนา และสังขารด้วย ก็เท่ากับเราสร้างทุกข์ให้
กับตนเอง ที่ใดก็ตามที่มีการยึดติด ที่นั้นก็จะมีแต่ความทุกข์ยิ่งมีอุปาทาน หรือการยึดมั่นถือมั่น
มากเท่าใด ความทุกข์ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น