จากการที่ได้สังเกตลมหายใจเข้าออก ภายในบริเวณขอบเขตที่จำกัดให้ท่านก็ได้เริ่มทำการ
สังเกตต่อไปถึงเวทนา หรือความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย เมื่อเริ่มฝึก เราได้เผชิญกับ
ความไม่สบายกาย หรือทุกขเวทนาต่างๆ เช่นความเจ็บปวด อาการ กดดันต่างๆ เป็นต้น ซึ่ง
ท่านก็คงเคยเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้มาแล้วในอดีต แต่นิสัยของจิต มักจะมีการปรุงแต่งต่อ
ความรู้สึกดังกล่าว ด้วยการพยายามหันไปหาความสุข และหลีกให้พ้นจากความทุกข์ซึ่งทำให้
เกิดความฟุ้งซ่านเร่าร้อนใจอยู่เป็นนิตย์
ขณะนี้ท่านได้เรียนรู้แล้วว่า จะเฝ้าดูความรู้สึกที่เกิดขึ้น โดยไม่ปรุงแต่งได้อย่างไรจะตรวจ
สอบความรู้สึกต่างๆ อย่างมีอุเบกขา โดยไม่เอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเหล่านั้นได้
อย่างไรความเจ็บปวด ความทุกข์ ยังคงมีอยู่ การร้องไห้ไม่ได้ช่วยให้คนเราพ้นจากความทุกข์
ได้ แล้วเราจะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไรและจะอยู่กับความทุกข์นั้นได้อย่างไร แพทย์ที่
รักษาผู้ป่วย จะต้องรู้ว่าความเจ็บป่วยนั้นคืออะไร และอะไรเป็นสาเหตุพื้นฐานของความเจ็บ
ป่วยนั้นถ้ามีเหตุ ก็จะต้องมีทางออก โดยการขจัดสาเหตุนั้นออกไป เมื่อสาเหตุของความเจ็บ
ป่วยถูกขจัดออกไป ความเจ็บป่วยก็จะหมดไปด้วยโดยอัตโนมัติ
ฉะนั้น เพื่อเป็นการขจัดสาเหตุ เราจึงต้องทำตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
ประการแรก เราจะต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงของ ความทุกข์ ความทุกข์นั้นมีอยู่ทั่วไป
ทุกหนทุกแห่ง นี่เป็นสัจธรรมสากล แต่สิ่งที่จะกลายเป็นอริยสัจได้ ก็ต่อเมื่อคนเราเริ่มสังเกต
ดูความทุกข์ โดยไม่มีการปรุงแต่งบุคคลใดก็ตาม ที่ประพฤติได้เช่นนี้นับว่าเป็น อริยบุคคล