ธรรมสมาทาน ** ข้อยึดถือเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ

 หิ่งห้อยน้อย   19 มิ.ย. 2555

 
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
                     ผู้ซึ่งไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง




ธรรมสมาทาน ....
ข้อยึดถือเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ

๐ ธรรมสมาทาน หรือ คือปฏิบัติธรรม
ได้กระทำ คือ ทำกรรม ที่รังสรรค์
พระองค์ตรัส ให้ทราบ โดยทั่วกัน
สี่ อย่างนั้น พึงพิศ พินิจตรอง

๐ หนึ่ง...กระทำ ทุกสิ่ง ในกองทุกข์
ซึ่งไร้สุข เก็บทุกข์ ไว้ทั้งผอง
ทุกคืนค่ำ ร้องร่ำ น้ำตานอง
จิตหม่นหมอง มีแต่ทุกข์ ท่วมทับใจ

๐ สอง.. กระทำ ในสิ่งดี ที่ยากนัก
แต่มิพัก รีบเร่ง เพียรเข้าไว้
มีวิบาก เป็นสุข ในหทัย
กุศลวิบาก ส่งผลให้ ได้รับพลัน

๐ สาม ... กระทำ สิ่งไม่ดี ด้วยความสุข
เริงร่าสนุก ไร้ทุกข์ มีสุขสันต์
อกุศลวิบาก ย่อมให้ ผลโดยพลัน
เบื้องหน้านั้น รับทุกข์ ไร้สุขแทน

๐ สี่ ... กระทำ สิ่งดี ที่เปี่ยมสุข
ไร้ความทุกข์ ในหทัย ให้สุขแสน
กุศลวิบาก ส่งเบื้องหน้า พาสู่แดน
ที่สุขแสน ด้วยผล ตนกระทำ


เจริญในธรรม เจ้าค่ะ


   





ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
                     ผู้ซึ่งไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง




ธรรมสมาทาน ....
ข้อยึดถือเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ

๐ แลนี่คือ ธรรมสมาทาน
สุขเพราะทาน ศีล ภาวนา พาสู่สัมม์
ยังเวียนอยู่ ในโลกียธรรม
ไม่ถลำ ลงลู่ สู่อบาย

๐ แม้สร้างกรรม ทำชั่ว อกุศล
ชั่วก็ดล ให้ทุกข์ สุขสลาย
กุศลกรรมบถสิบ อย่าดูดาย
เร่งขวนขวาย กันไว้ ใส่จินตนา

๐ แต่ละสมาทานนั้น เป็นอย่างไร
โปรดอดใจ รออ่าน กาลสิกขา
หิ่งห้อยน้อย จะอัญเชิญ พุทธวาจา
ทรงอรรถา อธิบาย มาร่ายกลอนฯ



เจริญในธรรม เจ้าค่ะ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย