"อาหุเนยยะบุคคล" (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

 วิริยะ12  

.
 "อาหุเนยยะบุคคล"

" .. "อาหุเนยยะบุคคลนั้น คือบุคคลผู้มีคุณ อันสมควรจะรับการบูชาด้วยวัตถุที่สมควรก็ตาม" ด้วยการช่วยต่าง ๆ ก็ตาม เป็นต้นว่า "มารดาบิดาเป็นอาหุเนยะของบุตรธิดา แม้ผู้มีคุณอื่น ๆ ก็สงเคราะห์เข้าในข้อนี้ เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่ผู้ได้รับคุณของท่านพึงนำสิ่งต่าง ๆ ไปบำรุงท่าน" เป็นการบูชาคุณท่านตามฐานะ

ในฝ่ายพระพุทธศาสนา "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก ชื่อว่าเป็นอาหุเนยยะ" เพราะเป็นผู้มีคุณสมควรที่บุคคลจะพึงเข้ามาบำรุงเป็นการบูชาคุณ

"จะยกคุณที่ทำให้เป็นอาหุเนยยะขึ้นแสดง" พอเป็นนิทัสนะนัย ต่อไปนี้ :-

๑. เป็นผู้ปฏิบัติ "เพื่อละกิเลสให้สิ้นไปได้แล้ว หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละกิเลส"
๒. "เป็นผู้มีอิ่มมีพอ มีมักน้อยสันโดษ" รู้ประมาณในการรับ ในการบริโภค "ไม่ทำระเริงในส่วนที่ดี ไม่ทำความเหยียดหยามในส่วนที่เลว"

๓. "ไม่ก่อหนี้ทางอริยวินัย" อธิบายทางพระวินัยว่า "พิจารณาบริโภคปัจจัยทั้ง ๔ ไม่บริโภคด้วยตัณหา ปฏิบัติดังนี้ชื่อว่า ไม่บริโภคเป็นหนี้"

๔. "ปฏิบัติในทางรักษา ศรัทธาปสาทะ หรือเจริญศรัทธาปสาทะให้ยิ่งขึ้น" เมื่อบุคคลผู้เข้ามาได้ศรัทธาปสาทะเป็นข้อแรก "ก็ย่อมจะได้ศีลได้สุตะ คือการสดับธรรม ตลอดจนได้ปัญญาเห็นธรรม" เมื่อเป็นเช่นนี้ "ก็ชื่อว่าเป็นผู้ให้มากกว่าที่เขาบริจาค เพราะเป็นผู้ให้อริยทรัพย์ หรือเป็นเหตุให้เขาได้อริยทรัพย์" .. "

"อาหุเนยฺโย"
พระธรรมวราภรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๐๑ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
 

5,562







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย