"ความผูกพัน คือกรรมทางใจ" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

 วิริยะ12  

.
 "ความผูกพัน คือกรรมทางใจ"

" .. "กรรมที่อาจทำให้มนุษย์ในชาติหนึ่งต้องเป็นสัตว์ในอีกชาติหนึ่ง หรือทำสัตว์ในชาติหนึ่งให้กลับเป็นมนุษย์ในอีกชาติหนึ่ง" มีผู้เขียนบ้างเล่าบ้างไว้หลายเรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องที่มีปรากฏในพุทธกาล "จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามพึงไม่ประมาท" กรรมใดที่เคยมีแสดงไว้ว่า "ทำให้มนุษย์ต้องเกิดเป็นสัตว์ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่พึงทำ"

กรรมสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ "เป็นกรรมทางใจคือความผูกพัน" ผู้ตายมีความผูกพันในภพภูมิของตน เช่น "ผูกพันในทรัพย์สมบัติของตน" ในภพภูมินั้น "ความผูกพันยึดมั่นอาจนำให้กลับมาเกิดในบ้านเรือนตนอีกได้" แต่จะมิใช่เป็นมนุษย์

มีเรื่องเล่าว่า "เกิดเป็นเล็นก็มี เกิดเป็นสุนัขก็มี" ซึ่งน่าจะไม่มีผู้ใดปรารถนาจะเป็น จึงน่าจะต้องระวังกรรมทางใจให้มาก เช่นเดียวกับกรรมทางกายทางวาจา อย่ายึดมั่นห่วงใยในอะไรให้มากนัก วางเสีย ปล่อยเสีย "ท่องพุทโธไว้เสมอนั่นแหละจะทำให้ถอนใจจากความยึดมั่นได้"

เคยมีผู้เล่าเรื่องเจ้าของพระพุทธรูปงดงามองค์หนึ่ง "สิ้นชีวิตไปในขณะที่จิตใจกำหลังรักและหวงแหนพระพุทธรูปองค์นั้นอย่างยิ่ง" เมื่อมีผู้มาขอชมพระพุทธรูป "ก็มีงูใหญ่เลื้อยมาแผ่พังพานขู่อยู่ต่อหน้าแสดงความหวงแหน" เมื่อผู้มาขอชมพูดว่าเพียงมาขอชมไม่ได้คิดจะนำไปเป็นของตน งูก็เลื้อยห่างไป

ว่ากันว่าเจ้าของพระพุทธรูป "ได้มาเกิดเป็นงูเสียแล้ว เพราะความผูกพันหวงแหนพระพุทธรูป" ความยึดมั่นผูกพันจึงเป็นกรรมทางใจที่น่าจะเป็นเหตุแห่งการทำให้มนุษย์ในชาติหนึ่งต้องเป็นสัตว์ในอีกชาติหนึ่งได้ จึงไม่พึงประมาท "จะจริงหรือไม่จริง เชื่อหรือไม่เชื่อ ก็อย่าประมาทไว้ก่อน พยายามทำกรรมทางใจให้พ้นจากความยึดมั่นถือมั่นให้ได้เต็มความสามารถเถิด" .. "

"อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม"
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
 

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9926

5,582







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย