"การฆ่าตัวตายเป็นการทำบาปหนัก" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

 วิริยะ12  

.
 "การฆ่าตัวตายเป็นการทำบาปหนัก"

" .. การฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่เนือง ๆ ในปัจจุบัน "ก็เกิดจากเหตุที่ต้องการหนีให้พ้นทุกข์ของการเกิดที่ต้องเผชิญอยู่ในภพภูมินี้" โดยหาได้รู้ไม่ ว่ากำลังหนีทุกข์ไปสู่การมีทุกข์ที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกข์ที่กำลังเผชิญอยู่

"เพราะการหนีทุกข์ด้วยการฆ่าตัวตายเป็นการทำบาปหนัก" เป็นการสร้างชีวิตในภพภูมินี้ ไปสู่ภพภูมิหน้าแล้ว ผู้ใหญ่ในสมัยโบราณท่านเคยบอกไว้ว่า "ผู้ฆ่าตัวตายจะต้องฆ่าต่อไปในภพชาติอื่น ๆ ถึง ๕๐๐ ชาติ" นั่นก็น่าจะหมายความว่าจะต้องฆ่าตัวตายอีก จนครบ ๕๐๐ ชาติตามที่ผู้ใหญ่ท่านบอกเล่าไว้

ถึงคำบอกเล่าที่มีมาตามที่ผู้ใหญ่ท่านบอกเล่าไว้ถึงคำบอกเล่าที่มีมาแต่โบราณกาล ดังที่กล่าวแล้วว่า "การฆ่าตัวตายจะต้องฆ่าถึง ๕๐๐ ชาติ" แม้ฟังสักแต่ว่าฟังไม่ได้ยกคำกล่าวนี้ขึ้นพิจารณาให้ดี

ก็จะไม่เห็นความสำคัญอย่างยิ่งของคำบอกเล่านี้ของท่านผู้ใหญ่ ก็จะฆ่าตัวตายกันอย่างไม่คิดให้เข้าใจว่า "ถ้าชาตินี้ไม่ใช่ชาติที่ ๕๐๐ ของการฆ่าตัวตาย ก็จะต้องฆ่าต่อไปในภพชาติข้างหน้าผู้ใหญ่ ความทุกข์หนักหนาเพียงไหนที่ทำให้ถึงกับต้องฆ่าตัวตาย" ที่ได้รับในภพชาติปัจจุบัน

ชาติอนาคตก็จะต้องพบกับความทุกข์ที่หนักหนาอีก จนทนไม่ได้อีก "ถึงต้องหนีความทุกข์ด้วยการฆ่าตัวตายอีก" เมื่อมีความทุกข์หนักหนาเพียงไร "ก็ขอให้กลัวที่จะต้องพบความทุกข์ที่หนักหนาต่อไปอีกในภพภูมิข้างหน้า จนถึงจะต้องฆ่าตัวตายอีก ชาติแล้วชาติเล่าจนครบ ๕๐๐ ชาติ" จึงจะพ้นโทษของการทำบาปด้วยการฆ่าตัวตาย

"ผลแห่งกรรมของการฆ่าตัวตายหนักหนามิใช่น้อย ฆ่าตัวตายชาติหนึ่งจะต้องฆ่าถึง ๕๐๐ ชาติ" คือจะต้องมีความทุกข์หนักนักหนาจนรับไม่ได้ ต้องฆ่าตัวตายถึง ๕๐๐ ชาติ ผู้มีความทุกข์ทั้งหลายที่รู้สึกว่าหนักนักหนา

"ขอให้คิดถึงคำบอกเล่าของท่านผู้ใหญ่ในสมัยโบราณคิดถึงคำบอกเล่านี้แล้วก็อย่าวู่วามทำลายชีวิตตนเพื่อหนีความทุกข์ที่ต้องเผชิญ อย่าแพ้กรรมของตนเอง แต่จงพยายามเอาชนะ" แม้กรรมร้ายจะหนักหนาเพียงไร

"กรรมดีที่หนักหนากว่าก็สามารถเอาชนะได้แน่นอน" อยู่ที่ว่าจะต้องทำดีให้ถึงที่สุดความสามารถ จนชนะกรรมไม่ดีได้ "ชนะที่สำคัญยิ่งคือชนะการไม่ต้องฆ่าตัวตาย" อาจจะเป็นผลกรรมของอดีตชาติ ที่จะทำให้ต้องฆ่าตัวตาย "แต่ตามคำบอกเล่าของท่านผู้ใหญ่ในอดีต มีความทุกข์หนักหนาเพียงไรอำนาจของความทุกข์ก็ไม่อาจชนะอำนาจยิ่งใหญ่ของใจได้แน่นอน" .. "

"แสงส่องใจ" ที่ระลึก วันอาสาฬหบูชา
๗ กรกฎาคม พระพุทธศักราช ๒๕๕๒
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวขิรญาณสังวร 

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=33155

5,574







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย