"โลกยิ่งเรียนยิ่งกว้าง ธรรมยิ่งรู้ยิ่งแคบ" (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
.
"โลกยิ่งเรียนยิ่งกว้าง ธรรมยิ่งรู้ยิ่งแคบ"
" .. "เรื่องของโลกยิ่งเรียนก็ยิ่งกว้าง เรื่องของธรรมยิ่งรู้ก็ยิ่งแคบ" และรู้แคบเท่าไรก็ยิ่งดี "ถ้ารู้กว้างออกไปมักฟุ้งซ่าน" เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบ
ถ้าจะเปรียบ "ก็เหมือนกับการเดินไปในหนทางที่แคบ ๆ ย่อมจะไม่มีใครเดินสวนทางเข้ามาชนกับเราได้" ส่วนคนเดินตามหลังนี้ช่างเขา เมื่อไม่มีใครสวนทางเข้ามาข้างหน้าแล้ว "คนที่จะเดินบังหน้าเราก็ไม่มี เราก็จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าออกไปได้ไกลที่สุด" ฉันใด
ผู้ทำจิตใจให้แคบเข้าละเอียดเข้า "ก็จะเกิดความวิเวกสงบ เกิดแสงและเกิดวิปัสสนาญาณ มองเห็นอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ทุกอย่าง" เหตุนั้น "ท่านจึงว่าผู้มีวิปัสสนาญาณ เป็นผู้มีสายตาอันไกล"
คนที่ส่งจิตออกไปอยู่นอกตัว "เปรียบเทียบกับคนที่เดินไปตามถนนกว้าง ๆ ถนนกว้างนั้น" อย่าว่าแต่คนจะสวนทางเข้ามาได้เลย แม้แต่สุนัขและสัตว์ตัวโต ๆ มันก็เดินสวนเข้ามาได้ ฉะนั้น "จึงไม่ปลอดภัย จิตผู้นั้นก็จะมีแต่ความฟุ้งซ่าน" เต็มไปด้วยนิวรณธรรมหาความสงบมิได้ .. "
"ลมกับจิต"
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)