"ละชั่วทำดี ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

 วิริยะ12  

"ละชั่วทำดี ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"

" .. ที่พากันมาอบรมทางศาสนามาพังธรรมในวันนี้จึงอยากจะอธิบายให้เข้าใจ หลักสำคัญที่ท่าน วางไว้ว่า "ละชั่วทำดี หรือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ไม่ใช่ทำชั่วได้ดี "คำว่า ดี ในที่นี้อย่าไปเข้าใจถึงเรื่องภายนอก ท่านหมายเอาภายใน เราทำชั่วแล้วใจไม่สบายนั้นแหละเรียกว่าไม่ดี"

สมมุติว่าเราขโมย สตางค์ของพ่อแม่มาสักห้าบาทสิบบาท ลองคิดดูซิพ่อแม่ของเราท่านก็คงไม่ว่าอะไรหรอก "แต่จิตใจของเราจะรู้สึกอย่างไรบ้างในขณะที่ขโมยเอาของท่านไปนั้น" หรือเราไปทำผิดสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม "คบค้า เพื่อนชั่ว ๆ เลว ๆ หรือไปทำความชั่วด้วยตนเองก็ตาม" ภายในใจจะรู้สึกอย่างไรบ้าง

คงมีความรู้สึก "นึกคิดในสิ่งที่มันไม่ดี เรียกว่าเศร้าหมองในใจ ท่านเรียกว่า กิเลส" ตรงนี้ต่างหากที่เรียกว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การทำชั่วต้องทำลี้ลับไม่มีใครเปิดเผย แสดงว่ามันไม่ดี" จึงต้องทำลี้ลับเปิดเผยไม่ได้

เปรียบเหมือนกับแผล "สมมุติว่าเป็นแผลที่หน้าแข้งเหวอะหวะเหม็นหึ่ง ใครจะไปเปิดให้คนเห็น เราต้องเอาผ้าพ้นไว้เพราะมันสกปรกไม่ดีไม่อยากให้ใครเห็น" แต่ถ้าสิ่งที่ดี ๆ ละคราวนี้เราไม่ปิดบังเลย "มีแต่อยากจะอวดให้พ่อแม่ให้ผู้ที่เราเคารพนับถือได้รู้ได้เห็นด้วยซํ้า" ถึงจะไม่อวดก็ตาม "แต่ใจของเรา อิ่มเอิบอยู่คนเดียว ยิ้มแย้มแจ่มใสทั้งกายและใจเปิดเผยได้เต็มที่" นั้นคือ"ความดี ทำดีได้ดี"

ถ้าเรา "เข้าใจว่าต้องมีคนเขาสรรเสริญเยินยอจึงจะเรียกว่าทำดีอันนั้นเข้าใจยังไม่ทันถูก" ยังไม่ถึงหลักพระพุทธศาสนา หลักของพระพุทธศาสนา "ต้องเข้าถึงใจของผู้ที่ทำ" นี่ขอให้เข้าใจให้ถูกต้องว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอย่างที่อธิบายมานี้ อย่าไปอาศัยคนอื่น" คนเราทำดีทุกคนนั่นแหละ .. "


"คุณค่าของพระพุทธศาสนา"
พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

5,579







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย