อาการตึงที่หว่างคิ้วหรือตึงที่ดั้งจมูกหรือตึงที่กลางหน้าผาก - โดยนพดล ปฏิมาประกรณ์

 npaaccount    19 พ.ย. 2556

อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนั่งสมาธิ และอาการตึงที่หว่างคิ้วหรือตึงที่ดั้งจมูกหรือตึงที่กลางหน้าผาก - โดยนพดล ปฏิมาประกรณ์

ถ้านั่งสมาธิมีอาการแปลกๆ คืออาการของคนที่นั่งสมาธิหรือวิปัสนาก่อนจะผ่านถึงญานต่างๆได้ ต้องผ่านอาการเช่นนี้เสมอ จงปล่อยไป และพิจารณา อย่ายึดติด อย่ายินดี กับ ปิติ ต่างๆ ระหว่างนั่งสมาธิ ปิติ คือ ความอิ่มใจ ความอิ่มเอิบใจ มี 5 อย่าง

1. ขุททกาปิติ ปิติเล็กๆ น้อยๆ คือเกิดขนลุกชูชันขึ้น เกิดน้ำตาไหล บางครั้งก็เกิดขนลุกซู่ทั่วร่างกาย บางทีก็เกิดผมตั้งชูชันขึ้น แต่เกิดนิดหน่อย แล้วก็ดับไป นี้คือลักษณะของขุททกาปิติ ซึ่งเกิดแก่นักปฏิบัติบ่อยแต่ไม่ใช่ทุกท่าน มีลักษณะดังนี้
1.1 มีสีขาวต่างๆ
1.2 เยือกเย็น ขนลุก มึนตึงหนักๆ
1.3 น้ำตาไหล หนังหัวพองสยอง
1.4 ตัวชา พองขึ้น
1.5 ตัวใหญ่ๆออก
1.6 ขายาว แขนยาว ฟันยาว ออกไปก็มี

2. ขณิกาปิติ ปิติชั่วขณะ คือรู้สึกเสียวแปลบขึ้นตามร่างกายเหมือนสายฟ้าแลบ แต่พักหนึ่งก็ดับไป หรือบางครั้งเกิดคันตามใบหน้าเหมือนมีมดหรือมีไรมาไต่หรือเหมือนกับมีใยแมงมุมมาพาดบนใบหน้า บางทีเนื้อตัวกระตุก หรือบางทีกระดูกสันหลังกระตุก บางทีเส้นกระตุก ปิติชนิดนี้มักจะบังเกิดแก่นักปฏิบัติทุกท่าน แต่อาการเหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง มีลักษณะดังนี้
2.1 มีสีแดงๆ ด่างๆ
2.2 เกิดในจักษุทวารดุจสายฟ้าแลบ
2.3 เป็นประกายดังตีเหล็กไฟ
2.4 แสบทั่วกาย กายแข็ง
2.5 เป็นดั่งแมลงเม่าจับ ไต่ตามตัว
2.6 ร้อนตามตัว
2.7 หัวใจสั่น ไหว
2.8 ขุนลุก ขนชันบ่อยๆ แต่ไม่มากนัก
2.9 คันยุบยิบคล้ายมดไต่ ไรคลานตามใบหน้า ตามตัว
2.10 เป็นดั่งปลาตอด เป็นดั่งเส้นเอ็นชักเป็นต้น
2.11 มีอาการคล้ายๆ กับน้ำร้อนที่กำลังเดือดพล่าน
2.12 เหมือนปลาผุดขึ้นเวลาโยนเศษอาหารลงไป

3. โอกกันติกาปิตี ปิติเป็นระลอก ปิติเช่นนี้จะรู้สึกซู่ซ่าแรงกว่าขณิกาปิติ คือแรงกว่าสายฟ้าแลบ มีอาการเหมือนกับคลื่นกระทบฝั่ง บางทีเหมือนกับคนนั่งเรือไปในมหาสมุทรถูกคลื่น ทำให้รู้สึกโคลงเคลงเหมือนจะล้ม ถ้าใครเกิดปิติเช่นนี้ขึ้น บางทีจะรู้สึกรำคาญ เพราะว่าขณะที่เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอยู่นั้น ตึกทั้งหลังหรือแม้แผ่นดินที่ตนเดินหรือนั่งบางครั้งอยู่จะรู้สึกตะแคง บางท่านเข้าใจว่าปิตินั้นต้องรู้สึกอิ่มใจ แต่นี่ไม่เสมอไป เช่น โอกกันติกาปิตินี้ มักจะรู้เฉยๆมากกว่า แต่ปิติข้อสุดท้าย คือ ผรณาปิติมีความอิ่มใจอย่างเห็นได้ชัด มีลักษณะดังนี้
3.1 ตัวไหวเอน โยก โคลง
3.2 สะบัดหน้า สะบัดมือ สะบัดเท้า
3.3 มีอาการสั่นๆ และบางทีมีอาการสูงๆต่ำ คล้ายเตียงจะคว่ำ
3.4 คลื่นไส้ดุจจะอาเจียน และบางทีอาเจียนออกมาจริงๆก็มี
3.5 บ้างก็เหมือนละลอกซัด
3.6 สั่นระรัวดุจใบไม้ปักในน้ำไหล
3.7 มีสีเหลืออ่อน สีดอกผักตบ
3.8 มีกายโยกไป -มา
3.9 มีอาการสะบัดร้อน สะบัดหนาว
3.10 บ้างก็มีอาการวูบวาบ มาจากข้างล่าง หรือมาจากข้างบน
3.11 บ้างก็มีอาการคล้ายๆแล่นโต้คลื่นอยู่ในน้ำ
3.12 บ้างก็รู้สึกว่าร่างกายเราผิดปกติ

4. อุพเพงคาปิติ ปิติโลดลอย ปิตินี้มีลักษณะทำให้ใจฟู บางทีทำให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นเว้นจากเจตนาก็มี เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือบางท่านมีตัวลอยขึ้นเหนือพื้น ซึ่งยังปรากฎว่ามีอยู่ในหมู่นักปฏิบัติในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีลักษณะดังนี้
4.1 กายสูงขึ้น ตัวเบา ตัวลอย
4.2 คันยุบยิบดุจไรไต่ตามหน้าตามตัว
4.3 ท้องเสียอย่างแรง ท้องเดินเป็นบิด
4.4 สัปหงกไปข้างหน้าไปข้างล่าง
4.5 คล้ายคนผลักคะมำลงไปข้างหน้า
4.6 คล้ายคนจับศรีษะหมุนไปมา
4.7 ปากงับๆอ้าๆบ้าง
4.8 ไหว โยก โคลง โอนเอน ไป - มา ดุจลมพัดต้นไม้
4.9 กายหกคะเมนถลำไป
4.10 กายกระโดดขึ้นปลิวไป
4.11 กายกระดุกกระดิก ยกแขน ยกเท้า
4.12 กายเงื้อมไป มาข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
4.13 มีสีไข่มุก สีขี้ลม สีนุ่น
4.14 มือที่อยู่ในท่าหงาย คล้ายมีคนจับคว่ำลง มือที่ อยู่ในท่าคว่ำคล้ายมีจับให้หงายขึ้น
4.15 นั่งอยู่ตรงๆ จะรู้สึกว่ามีอาการโอนไปเอนมา เหมือนต้นอ้อที่ลู่ไปตามลม

5. ผรณาปิติ ปิติซาบซ่าน คือรู้สึกซาบซ่านเอิบอิ่ม ไปทั่วร่างกาย ถ้าใครเคยประสบมาแล้วจะรู้สึกพอใจมาก เพราะรู้สึกซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ปิติประเภทนี้เป็นปิติโดยองค์ฌานโดยตรง แต่ผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ถึงขั้นฌานบางท่านก็เกิดปิติชนิดนี้ได้เหมือนกัน มีลักษณะดังนี้
5.1 มีความเยือกเย็นแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย
5.2 สงบเป็นพักๆ
5.3 คันยุบ ตามตัว
5.4 ซึมๆไม่อยากลืมตา
5.5 ไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกาย
5.6 ซู่จากปลายเท้าถึงศรีษะ จากศรีษะถึงปลายเท้า
5.7 กายเย็นดุจอาบน้ำ หรือดุจถูกน้ำแข็ง
5.8 มีอาการยิบๆ แยบๆ เหมือนไรไต่หน้า
5.9 มีสีคราม สีเขียวใบตองอ่อน สีเขียวมรกต
5.10 ทำให้เพลิดเพลินไม่อยากกระดุก กระดิก
5.11 เปลือกตาที่ปิดอยู่ก็ไม่อยากเปิดขึ้น

อาการตึงที่หว่างคิ้วหรือตึงที่ดั้งจมูกหรือตึงที่กลางหน้าผากขณะนั่งสมาธิ ถือเป็นอาการรวมของจิต ซึ่งหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม พระลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต “พระผู้ศักดิ์สิทธิ์หายาก ผู้มีบารมีแห่งวัดป่าห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ” ได้เคยบอกกับคุณนพดลว่า เป็นอาการรวมของพลังจิต ให้เอาจิตวางไว้ที่ตรงนั้นดีแล้ว ผู้ที่มีพลังจิตแก่กล้ามักจะมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ซึ่งต่างจากผู้ที่มีพลังจิตที่นุ่มนวลจะไม่มีอาการตึงใดๆ้ปรากฎเลย เมื่อวางฐานจิตไว้ดีแล้ว นิ่งแล้ว ชัดแล้ว จะมีทางให้เลือกไปต่อได้สองทาง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.npa-account.com/symptom.html   


ที่มา : การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

DT015531

npaaccount

19 พ.ย. 2556
 เปิดอ่านหน้านี้  5534 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย