กรรม

  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๔ : อาจคลาดเคลื่อน ต้องเตือนให้ระวัง ( ๑ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต )

ลักษณะของหลักกรรมนี้เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาเพราะกรรมเป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนาจะต้องมีการเน้นอยู่เสมอหลักการของศาสนานั้นก็เหมือนกับหลักการปฏิบัติทั่วไปในหมู่มนุษย์เมื่อเผยแพร่ไปในหมู่มนุษย์วงกว้างซึ่งมีระดับสติปัญญาต่างกันมีความเอาใจใส่ต่างกันมีพื้นเพภูมิหลังต่างๆกันนานๆเข้าก็มีการคลาดเคลื่อนเลือนลางไปได้จึงจะต้องมีการทำความเข้าใจกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ

เรื่องกรรรมนี้ก็เหมือนกันเมื่อเผยแพร่ไปในหมู่ชนจำนวนมากเข้าก็มีอาการที่เรียกว่าเกิดความคลาดเคลื่อนมีการเฉไฉไขว้เขวไปได้ทั้งในทางการปฏิบัติและความเข้าใจหลักกรรมในพระพุทธศาสนานี้ท่านสอนไว้เพื่ออะไรที่เราเห็นชัดก็คือเพื่อไม่ให้แบ่งคนโดยชาติกำเนิดให้แบ่งโดยความประพฤติโดยการกระทำนี่เป็นประการแรกดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าประพฤติ

ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "กมฺมุนาวสโลโหติก มฺมุนาโหติพฺราหฺมโณ" คนไม่ใช่ต่ำทรามเพราะชาติกำเนิดแต่คนจะเป็นคนต่ำทรามก็เพราะกรรมคือการกระทำคน มิใช่จะเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิดแต่เป็นพราหมณ์คือผู้บริสุทธิ์ คือคนดีคนประเสริฐก็เพราะกรรมคือการกระทำตามหลักการนี้ พระพุทธศาสนายึดเอาการกระทำหรือความประพฤติมาเป็นเครื่องแบ่งแยกมนุษย์ในแง่ของความประเสริฐหรือความเลวทราม ไม่ให้แบ่งแยกโดยชาติกำเนิด ความมุ่งหมายในการเข้าใจหลักกรรมประการที่สองที่ท่านเน้น ก็คือการรับผิดชอบต่อตนเองคนเรานั้นมักจะซัดทอดสิ่งภายนอกซัดทอดปัจจัยภายนอก ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองเวลามองหาความผิดต้องมองไปที่ผู้อื่นก่อน มองที่สิ่งภายนอกก่อนแม้แต่เดินเตะกระโถนก็ต้องบอกว่าใครเอากระโถนมาวางซุ่มซ่ามไม่ว่าตนเดินซุ่มซ่าม

เพราะฉะนั้นจึงเป็นลักษณะของคนที่ชอบซัดทอดปัจจัยภายนอกแต่พระพุทธศาสนาสอนให้รับผิดชอบการกระทำของตนเองให้มีการสำรวจตนเองเป็นเบื้องต้นก่อน

ประการต่อไป ท่านสอนหลักกรรมเพื่อให้รู้จักพึ่งตนเองไม่ฝากโชคชะตาไว้กับปัจจัยภายนอก ไม่ให้หวังผลจากการอ้อนวอนนอนคอยโชคให้หวังผลจากการกระทำหลักกรรมในพระพุทธศาสนาสอนว่า "ความสำเร็จเกิดขึ้นจากการกระทำตามทางของเหตุผล"






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย