ค้นหาในเว็บไซต์ :

คลังแสงแห่งธรรม
สมาธิ

สมาธิ : เรื่องที่ ๒๐ : อนุสติ ( ๓ )
โดย : พระอริยคุณาธาร สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนกวาง


๙. กายคตาสติ นึกถึงสิ่งเป็นกาย คือส่วนหนึ่งๆ ซึ่งประกอบกันขึ้น เป็นอัตภาพ ร่างกาย ที่เรียก ว่าอาการ ๓๒ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูกไขข้อ มูตร สมอง นึกถึงสิ่งเหล่านี้แต่ละส่วนๆ โดย วัณโณ - สี, คันโธ - กลิ่น, รโส - รส, โอโช - โอชะ, สัณฐาโน -สัณฐาน ให้ปรากฏชัดเจนแก่ใจ

ขั้นแรก พึงท่องจำอาการ ๓๒ นี้ให้แม่นยำ ว่าได้ ทั้งตามลำดับ ทั้งทวนลำดับ
ขั้นสอง สำเหนียกลักษณะ ของอาการ ๓๒ นั้น แต่ละสิ่ง โดยสี กลิ่น รส โอชะ สัณฐาน
ข้อสาม พึงดูของจริงให้เห็นด้วยตา แม้สักอย่างหนึ่ง พอให้เป็นภาพติดตาไว้บ้าง
ขั้นสี่ ทำการนึกถึงอาการ ๓๒ นี้ทั้งหมดไปตามลำดับ แล้วทวนกลับหลายๆเที่ยว
ขั้นห้า เมื่ออาการใดใน ๓๒ นั้น ปรากฏชัดเจนแก่ใจ ที่สุดพึงถือเอาอาการนั้น

ทำการนึกเห็นให้มาก ติดต่อเรื่อยๆ จนเกิดเป็นภาพชัดเจนที่สุด ขยายให้ใหญ่ให้มากได้ตาม ต้องการ ชื่อว่า สำเร็จกายคตาสติ แล้ว

๑๐. อานาปานสติ นึกถึงลมหายใจเข้าออก คือสภาพปรุงแต่งกายให้ดำรงสืบต่อไปได้เมื่อใด สภาพนี้หยุดชะงักไป ไม่ทำการสืบต่อ เมื่อนั้นชีวิตก็ขาดที่เรียกว่า ตาย วิญญาณธาตุอัน อาศัยอยู่ในร่างกาย ก็ออกจากร่างไป นี้ว่าโดยลักษณะสามัญ ส่วนลักษณะพิเศษนั้น อาการ ไม่หายใจ ย่อม มีได้ แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
๑. ผู้อยู่ในครรภ์มารดา
๒. ผู้ดำน้ำ
๓. ผู้สลบชนิดหนึ่ง
๔. ผู้เข้าจตุตถฌาน

ในเวลาปกติ ย่อมต้องมีอาการหายใจ คือสูดลมเข้าสู่ร่างกาย ผายลมออกจากร่างกายเสมอ แม้ในเวลาหลับ สภาพปรุงแต่งกายนี้ ก็ทำหน้าที่อยู่เรื่อยๆไปวิธีปฏิบัติในกรรมฐานบทนี้ พึงอยู่ ในป่า ในร่มไม้ หรือในที่ว่าง ซึ่งเป็นที่สงัดอากาศโปร่ง เย็นสบาย อาบน้ำ ชำระกายให้สะอาด นุ่งห่มผ้าสะอาด ปราศจากกลิ่นเหม็นสาบ นั่งในท่าที่เรียกว่า บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติ ให้มั่น กำหนดลมหายใจเข้าออก อันเป็นไปอยู่โดยปกตินั้นให้รู้ทัน ทั้งเวลาลมเข้า เวลาลมออก แล้วกำหนดระยะเวลาลมเข้าออกสั้นยาวให้รู้ทัน ต่อจากนั้น กำหนดที่ที่ลมสัมผัส คือต้นลม สัมผัสที่ปลายจมูก กลางลมสัมผัสที่ทรวงอก ปลายลมสัมผัสที่ตรงสะดือในเวลาลมออก ตรง กันข้ามกับที่กล่าวมานี้ คือทวนลำดับออกไป

ในระยะต่อๆไป สติจะใหญ่โต ครอบคลุมร่างกายแม้ทั้งหมดไว้ จะไม่มีอาการแล่นไปตาม อาการอีกต่อไป และลมหายใจก็จะปรากฏละเอียดเข้าทุกที จนปรากฏว่าไม่มี ในที่สุด จะเห็นว่า ลมปรุงกาย ซ่านอยู่ทั่วทุกส่วน แม้กระทั่งปลายเส้นขน เมื่อมาถึงขั้นนี้ ชื่อว่าได้ผลในการเจริญ อานาปานสติกรรมฐานขั้นต้นแล้ว พึงเจริญให้แคล่วคล่องเชี่ยวชาญต่อไปอานาปานสติกรรม ฐานนี้ สามารถตัดกระแสวิตกได้ดี เหมาะสำหรับคนวิตกจริต คือคนชอบคิด ชอบนึกเป็นกรรม ฐานสุขุม ประณีต เหมาะสำหรับมหาบุรุษ พระบรมศาสดาทรงบำเพ็ญกรรมฐานข้อนี้มาก เวลา ทรงพักผ่อน ที่เรียกว่า ปฏิสัลลีนวิหาร ก็ทรงอยู่ด้วยอานาปานสติสมาธิวิหารเสมอ

กายก็ไม่ลำบาก จักษุก็ไม่ลำบาก จิตก็พ้นจากอาสวะ
ละความคิดเกี่ยวกับเสียงที่เคยชินได้
กำหนดน่าเกลียด ในสิ่งไม่น่าเกลียดได้
กำหนดไม่น่าเกลียด ในสิ่งน่าเกลียดได้
กำหนดน่าเกลียดได้ ทั้งในสิ่งไม่น่าเกลียด ทั้งในสิ่งน่าเกลียด
ได้ฌานสมาบัติโดยไม่ยาก ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ
ได้บรรลุอรหัตผล หรืออนาคามีในปัจจุบัน





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย