ค้นหาในเว็บไซต์ :

ธุดงควัตร
๑๐ : ธุดงค์วัตร ๑๓ อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร

ศ า ส น พิ ธี : ธุดงควัตร
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๑๐ : ธุดงค์วัตร ๑๓ อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร



ฉนฺนญฺจ ปฏิกฺขิปามิ อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ
เรางดที่มุงบังและโคนไม่เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร


วิธีการปฏิบัติ

การเข้าไปสู่อุโบสถเพื่อการฟังธรรมก็ดี เพื่อทำอุโบสถก็ดี ย่อมควรแก่อัพโภกาสิภิกษุนั้น ถ้าเมื่อเธอเข้าไปแล้วฝนตกลงมา เมื่อฝนยังตกอยู่อย่าเพิ่งออกต่อเมื่อฝนหยุดแล้วจึงออกไป เข้าไปสู่โรงฉันหรือโรงไฟ ทำวัตรก็ดี เข้าไปอาปุจฉา (เชื้อเชิญ) ภิกษุเถระด้วยภัตตาหารในโรงฉันก็ดี เมื่อให้อุทเทส (สอน) หรือเอา (เรียน) เข้าไปแม้ที่มุงบังก็ดี ขนเครื่องเสนาสนะ มีเตียงตั่งเป็นต้น ที่วางเกะกะอยู่ภายนอกเข้าไปไว้ข้างใน (ที่มุงบัง) ก็ดี ย่อมควรทุกอย่าง ถ้าเดินทางถือบริ ขารของภิกษุที่เป็นผู้เฒ่ากว่าไป เมื่อฝนตกเข้าสู่ศาลาอันตั้งอยู่ท่ามกลางทางก็ควร ถ้ามิได้ถืออะไรจะแล่นไปด้วยหวังใจว่าจะอยู่ในศาลา ย่อมไม่ควร แต่พึงเดินโดยปกติเข้าไป ยืนอยู่จนฝนหยุดจึงไปเทอญ

ความแตกขาดจากธุดงค์ข้อนี้ ย่อมแตกในขณะที่เธอไปสู่ที่มุงบังก็ดี โคนไม้ก็ดี เพื่ออยู่ ธุดงค์ นี้ย่อมขาด

ประเภทของธุดงค์

๑. ผู้ถืออย่างอุกฤษฏ์ จะเข้าไปอาศัยเงาต้นไม้ ภูเขา หรือเรือน อยู่ย่อมไม่ควร ต้องทำจีวรกุฏิ (กระโจมจีวร) อยู่กลางแจ้งนั่นแหละ
๒. ผู้ถืออย่างกลาง จะเข้าไปอาศัยเงาต้นไม้ ภูเขาและเรื่อนอยู่ (แต่ไม่เข้าไปข้างใน) ก็ควร
๓. ผู้ถืออย่างเพลา แม้จะเงื้อมเขาที่ตนมิได้มุงบัง (เสริม) แม้ซุ้มกิ่งไม้ แม้ผ้า แม้กระท่อม (ร้าง) อันตั้งอยู่ในนานั้นๆ ที่ตนเฝ้านาเป็นต้น ทิ้งไว้ ย่อมควร

ความแตกทำลายของธุดงค์ข้อนี้ ย่อมแตกในขณะที่เธอไปสู่ที่มุงบังก็ดี โคนต้นไม้ก็ดี เพื่ออยู่ ธุดงค์นี้ย่อมขาด

อานิสงส์

๑. ตัดอาวาสปลิโพชได้
๒. แก้ง่วงได้
๓. ไม่มีสถานที่ ที่ติดข้องสมแก่คำสรรเสริญว่า ภิกษุทั้งหลายไม่ติดที่ เที่ยวไปไม่ข้องขัด ดุจมฤคทั้งหลาย
๔. เป็นพระ ๔ ทิศ
๕. มีความประพฤติมักน้อย



หัวข้อย่อย + ธุดงควัตร

อุปสมบทวิธีและการรักษาอุโบสถศีล



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย