ค้นหาในเว็บไซต์ :

ธุดงควัตร
๑๑ : ธุดงค์วัตร ๑๓ อยู่ป่าช้าเป็นวัตร

ศ า ส น พิ ธี : ธุดงควัตร
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๑๑ : ธุดงค์วัตร ๑๓ อยู่ป่าช้าเป็นวัตร



น สุสานํ ปฏิกฺขิปามิ โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ
เรางดที่มิใช่ป่าช้าเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร


วิธีปฏิบัติ

๑. ไม่ควรให้ทำที่ต่างๆ มีปะรำ จงกรมเป็นต้น แม้การสอนธรรมในป่าช้านั้น เพราะธุดงค์ ข้อนี้หนัก เพราะเหตุนั้นจึงไม่ควรประมาท ควรแจ้งพระสังฆเถระหรือเจ้าหน้าที่ทาง ราชการให้ทราบ เพื่อป้องกันอันตรายอันเกิดขึ้นแล้วจึงอยู่
๒. เมื่อจงกรม พึงชำเลืองดูศพไปด้วย
๓. เมื่อไปถึงป่าช้าเล่าก็พึงหลีกทางใหญ่เสีย เดินไปทางนอกเถิด
๔. พึงกำหนดอารมณ์ให้แม่นยำเสียแต่ในเวลากลางวัน ด้วยเมื่อกำหนดเสียเองอย่างนั้น มันจะได้ไม่เป็นสิ่งชวนกลัวสำหรับเธอในเวลากลางคืน
๕. อนุษย์ทั้งหลาย แม้มันจะเที่ยวส่งเสียงร้องไปก็อย่าประหารมัน ด้วยวัตถุอะไรๆ
๖. อันภิกษุผู้อยู่ป่าช้าจะขาดไปป่าช้าเสียแม้วันเดียวย่อมไม่ควร
๗. ของเคี้ยวของกินที่อมนุษย์ชอบ เช่น ขนมโรยงา ข้าวเจือถั่ว ปลา เนื้อ นมสด น้ำมัน น้ำอ้อยงบ ภิกษุไม่ควรเสพ
๘. ไม่ควรเข้าไปสู่เรือนแห่งตระกูล

ประเภทของธุดงค์

๑. ผู้ถืออย่างอุกฤษฏ์ พึงอยู่ในป่าช้าในลักษณะ ๓ คือ มีการเผาศพเป็นประจำ มีซากศพทอด ทิ้งอยู่มิขาด และมีเสียงร้องไห้อยู่เป็นเนืองนิตย์
๒. ผู้ถืออยู่อย่างปานกลาง ในป่าช้าที่ได้ลักษณะหนึ่งใน ๓ ลักษณะนั้นก็ใช้ได้
๓. ผู้ถืออย่างเพลา ในที่ที่สักว่าได้ลักษณะป่าช้าโดยนัยที่กล่าวแล้วก็ใช้ได้

ความแตกขาดแห่งธุดงค์ข้อนี้ ย่อมแตกในวันที่เธอมิได้ไปป่าช้านั้นแล

อานิสงส์

๑. ได้มรณสติ
๒. อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นปกติ
๓. บรรลุอสุภนิมิต
๔. บรรเทากามราคะได้
๕. เห็นสภาพร่างกายเนืองๆ
๖. มีความสังเวชหนัก
๗. ละความเมา มีเมาในความไม่มีโรคา เป็นต้น
๘. ข่มความกลัวภัยได้
๙. เป็นที่เคารพสรรเสริญแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย
๑๐. มีความมักน้อย



หัวข้อย่อย + ธุดงควัตร

อุปสมบทวิธีและการรักษาอุโบสถศีล



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย