เรียนรู้ กุศล ก่อนเจริญสติปัฏฐาน

 เช่นนั้น    20 ต.ค. 2553

เมื่อกล่าวถึง สติ การระลึก และสัมปชัญญะความรู้สึกตัว
ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดร่วมเกิดพร้อมแก่จิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
บัญญัติคำว่า กุศล หรือกุสลฺธมฺ จึงต้องทำความเข้าใจให้ตรง

กุศล เป็นคำที่อธิบาย ถึงความฉลาด ความถูกต้อง ความเฉียบแหลม ความดี ของจิต
อกุศล จึงเป็นลักษณะของคำอธิบายในทางตรงข้ามกับ กุศล

ดังนั้น ความระลึก หรือที่เรียกว่า สติ จึงต้องมีสัมปชัญญะ ประกอบด้วยเสมอ เพียงแต่ว่า ถ้าระลึกมากกว่ารู้สึกตัว จิตก็จะฝักฝ่ายไปในทางอุทธัจจะ (ไม่ใช่อุทธัจกุกกุจะ) และถ้าสัมปชัญญะ หรือรู้สึกตัวมากกว่าสติ
จิตก็จะฝักฝ่ายไปในทางอุเบกขา สติและสัมปชัญญะสมดุลย์กันเมื่อไหร่ จิตก็จะว่องไว ควรแก่งาน

ความระลึกอื่นใด นอกจากนั้นล้วนแล้วแต่ไม่เรียกว่า สติสัมปชัญญะ ถึงแม้จะเกิดความระลึกและรู้สึกตัวได้ตามที่ภาษาปัจจุบันนี้กล่าวขานกันอยู่ก็ตาม เพราะเหตุด้วยว่า มีโมหะ หรือความหลงเป็นเหตุ คือหลงเข้าไปในความระลึกรู้สึกนั้น.




   




เราสามารถใช้ คำว่า จิตเป็นกุศล ในความหมายว่า จิตเป็นบุญได้
แต่กระนั้นก็ตาม บุญ ไม่อาจใช้เป็นไวพจน์เดียวกับกุศลได้ทั้งหมด

ในทำนองเดียวกัน จิตเป็นบาป เราก็สามารถใช้คำว่า จิตเป็นอกุศลได้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า บาปใช้แทน อกุศลได้ทั้งหมด

เพราะเมื่อจิต ไม่ฉลาดในความดี หรือไม่ฉลาดในทางที่ถูกต้อง จิตนั้นก็คืออกุศลจิตไปในทันที


• เพลงแผ่เมตตา - เสถียรธรรมสถาน

• โครงการ “บวชพุทธสาวกสาวิกา” เจริญภาวนาตามหลัก“มหาสติปัฏฐานสูตร” ด้วยวิธี "ไตรสิกขา"

• "ขาดสติ ขาดความเพียร" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

• จิตตนคร

• ต้นไม้ สวน และป่า

• คนข้างหน้า

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย