ข้อเสียของความเชื่อเรื่องมีจิตหรือวิญญาณเวียนว่ายตายเกิดเพื่อรับผลกรรม
พุทธศาสนา แปลว่า คำสั่งสอนของท่านผู้รู้ หรือผู้ที่มีสติปัญญาสูงสุด แต่ว่าในปัจจุบันหลักคำสอนของพุทธศาสนาได้ถูกครอบงำจากคำสอนของศาสนาพราหมณ์ จนทำให้หลักคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนาผิดเพี้ยนไป และไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้นับถืออย่างแท้จริง โดยความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่สำคัญ ที่เข้ามาครอบงำพุทธศาสนาก็คือ ความเชื่อเรื่องจิตหรือวิญญาณเวียนว่ายตายเกิดเพื่อรับผลกรรมในชาติต่อๆไป ซึ่งความเชื่อเรื่องว่ามีจิตหรือวิญญาณเวียนว่ายตายเกิดเพื่อรับผลกรรม ตามที่เราเชื่อกันอยู่นี้จะมีผลเสียตามมามากมาย อันได้แก่
๑. เห็นแก่ตัว คือเมื่อเชื่อว่าตายแล้วยังจะไปเกิดใหม่ได้อีก และถ้าทำบุญไว้ในชาตินี้ก็จะได้รับผลบุญนั้นอีกอย่ามากมายในชาติหน้า จึงทำให้ผู้ที่มีความเชื่อเช่นนี้เกิดความโลภมากขึ้น โดยจะพยายามกอบโกยทรัพย์สมบัติเอาไว้ในชาตินี้มากๆ แม้จะในทางที่ผิดก็ตาม แล้วก็เอาไปทำบุญเพื่อหวังไปรับเอาในชาติหน้า เหมือนฝากธนาคารเอาไว้เพื่อไปรับเอาในวันต่อไป แต่เมื่อโลภแล้วถูกขัดขวางหรือไม่ได้ตามที่โลภ ก็จะโกรธคนที่มาขัดขวาง แล้วก็ทำให้เกิดการทำร้ายกันขึ้นมาอีกอย่างเช่นที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน (ส่วนคนที่ไม่เชื่อเช่นนี้แต่เชื่อเรื่องเหตุผลก็จะไม่เห็นแก่ตัว และพยายามช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลใดๆตอบแทน แต่ถึงแม้จะทำไม่ได้ก็ไม่โกรธหรือเสียใจ)
๒. ไม่พัฒนา คือเมื่อเชื่อว่า ชีวิตถูกเรื่องเวรรกรมจากชาติปางก่อนกำหนดเอาไว้แล้วก็จะฝืนไม่ได้ ต้องเป็นไปตามเวรกรรมเสมอ ดังนั้นจึงทำให้คนที่เชื่อนี้จะไม่พัฒนา เพราะเชื่อว่าถึงพัฒนาไปถ้ายังไม่หมดเวรกรรมก็จะไม่มีทางเจริญ แต่ถึงจะอยู่เฉยๆ ถ้าหมดเวรกรรมหรือมีโชควาสนาก็จะมีความเจริญขึ้นมาได้เอง นี่เองจึงทำให้คนที่เชื่อเรื่องเวรกรรมจากชาติปางก่อนจะไม่พัฒนา และล้าหลัง จนส่งผลให้ประเทศชาติล้าหลังอยู่ทุกวันนี้ (ส่วนคนที่ไม่เชื่อเช่นนี้แต่เชื่อเรื่องเหตุผล ก็จะมีการพัฒนาตนเองอย่าเสมอ)
๓. ใจดำ คือทำให้ไม่คิดจะช่วยเหลือคนที่กำลังประสบความทุกข์ความเดือดร้อน เพราะเชื่อว่านั่นเป็นเพราะเวรกกรมที่เขาทำไว้จากชาติปางก่อน หรือถึงช่วยไปเขาก็ยังต้องไปรับผลกรรมของเขานั้นอีกในอนาคตอยู่ดี ส่วนคนที่ช่วยก็ไม่ได้ช่วยเพราะความเมตตา แต่ช่วยเพราะต้องการผลประโยชน์ตอบแทน เช่น หวังให้มีคนนับถือยกย่อง หรือหวังผลทางวัตถุ เป็นต้น นี่เองที่ทำให้คนที่เชื่อเช่นนี้จะปล่อยให้คนยากคนจนถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างหน้าตาเฉย เพราะเชื่อว่านั่นเป็นเวรกรรมของเขาเอง หรือการที่เรากินเลือดกินเนื้อของสัตว์อื่นอย่างเอร็ดอร่อย โดยไม่มีคิดสงสารสัตว์ที่ต้องตายอย่างทรมานเพื่อมาเป็นอาหารของเรา เพราะเชื่อว่าเป็นเวรกรรมของสัตว์ที่ต้องรับผลเช่นนั้น นี่เองที่ความเชื่อเรื่องเวรกรรมจากชาติปางก่อนนี้จะทำให้คนที่เชื่อเป็นคนใจดำหรืออำหิตโดยไม่รู้ตัว (ส่วนคนที่ไม่เชื่อเช่นนี้แต่เชื่อเรื่องเหตุผลก็จะเป็นคนมีเมตตา คิดช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ)
๔. โง่เขลา คือทำให้ผู้ที่เชื่อเช่นนี้จะจมอยู่ในความเชื่อที่ไร้เหตุผล และไม่รู้จักใช้ความคิด เพราะเชื่อว่าถึงจะคิดไปก็ไม่มีทางเฉลียวฉลาดขึ้นได้ เพราะเชื่อว่าเราทุกคนถูกกำหนดมาแล้วตายตัวว่าต้องเป็นเช่นนี้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงทำให้ผู้ที่เชื่อเช่นนี้ถูกมองจากคนที่มีปัญญาว่าเป็นคนไม่รู้จักคิด งมงาย โง่เขลา และเมื่อมีความโง่เช่นนี้ครอบงำ ก็จะทำให้เป็นคนที่ไม่ใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหา จึงทำให้ชีวิตต้องประสบกับปัญหาและความทุกข์ความเดือดร้อนอยู่ร่ำไป อีกทั้งสติปัญญาก็จะไม่พัฒนา อันจะทำให้เป็นคนดักดานโง่เขลาไปตลอดชีวิต แล้วก็ส่งผลให้ประเทศชาติมีแต่คนโง่เขลาเต็มไปหมด สักวันก็ต้องตกเป็นทาสของประเทศชาติอื่นที่เขาฉลาดกว่าอย่างแน่นอน ถ้ายังไม่เปลี่ยนความเชื่อนี้ให้ดีขึ้น (ส่วนคนที่ไม่เชื่อเช่นนี้แต่เชื่อเหตุผลก็จะเป็นคนที่เฉลียวฉลาด)
จริงเท็จอย่างไรช่วยกันวิจารณ์หน่อย... คนขี้สงสัย
อนุปุพพิกถา เกิดขึ้นเพราะเหตุเหล่านี้ ในเบื้องต้นชี้ให้คนเห็นถึงผลบุญในเบื้องต้นของการบริจาคทาน รักษาศีล การได้สวรรค์สมบัติ และท้ายที่สุดชี้ให้เห็นว่าสวรรค์ไม่ใช่ทางแห่งที่สุด แท้ที่สุดคือทางแห่งนิพพานต่างหาก คนในแต่ละกลุ่มอาจได้รอบของตนเองแตกต่างกัน บางเหล่ามาถึงรอบแห่งการทำบุญ กอบโกยมาทำบุญคละไปกับการได้มาของผลบุญเก่าที่คนเหล่านั้นทำกรรมให้ไว้ จึงได้มารับกรรมด้วยการถูกเอารัดเอาเปรียบ บางคนอยู่ในรอบแห่งการรักษาศีล ก็เชื่อเรื่องผลบุญกรรม จนพาลต้องยึดติดแต่กับกรรมใด ใครก่อ กรรมนั้นตามสนอง โดยไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว ยังมีความลึกซึ้งในเปลี่ยนแปลงผลแห่งกรรมนั้นได้อีก ด้วยหลายวิธีแห่งการปฏิบัติด้วยจิตตามแห่งองค์ธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แลหากผู้ทำบุญข้ามสวรรค์สมบัติมาแล้ว ก็จะเล็งเห็นว่า แม้ว่าพวกนั้นติดหนี้เราหรือไม่ เราก็ไม่ปรารถนาเอาคืน หวังได้เพราะความอิ่มเอิบใจในสิ่งที่สละได้ อันลึกซึ้งว่าการทำบุญเป็นเพียงการทำให้ได้มาเห็น และรู้จักทางนิพพาน ไม่ใช่การทำบุญแล้วจะไปนิพพาน แต่การสละให้โดยไม่ยึดถือว่าคือใครเป็นใคร เพื่อใคร ในสถานภาพใดทั้งในที่ไกล และที่ใกล้นั่นเองเป็นหนทางแห่งพระนิพพาน
ลัทธิมิจฉาทิฐิเกี่ยวกับความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์3ลัทธิซึ่งต้องระวังไม่
ให้เข้าใจสับสนกับหลักกรรมคือ
1.ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า
2.อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้ยิ่งใหญ่
3.อเหตุอปัจจยวาท การถือว่าสุขทุกข์ท้ังปวงเป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
พระพุทธองค์์ป้องกันความเห็นที่แล่นไกลเกินไปจนมองเห็นความหมายของกรรมในแง่กรรมเก่ากลายจนเป็นคนนั่งนอนรอคอยผลกรรมเก่าสุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป ไม่คิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง กลายเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง พระพุทธเจ้าทรงถือความเพียรพยายามเป็นเกณฑ์์ตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรม ทั้งมิได้ปฏิเสธกรรมเก่าเพราะกรรมเก่าก็ย่อมมีส่วนอยู่ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย และย่อมมีผลต่อป้จจุบันสมกับชื่อที่ว่าเป็นเหตุปัจจัยด้วยเหมือนกัน แต่มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยอยู่นั่นเองไม่ใช่อำนาจนอกเหนือธรรมชาติอะไรที่จะไปยึดไปหมายมั่นฝากโชคชะตาไว้ให้ ผู้เข้าใจปฏิจจสุูปบาทรู้จักกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยดีแล้วย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เหมือนการที่ใครได้ขื้นตึกช้ัน3แล้วก็แน่นอนว่าการขื้นมาถึงของเขาต้องอาศัยการกระทำคือการเดินที่ผ่านมาแล้วนั้นจะปฏิเสธไม่ได้ และเมื่อขื้นมาถึงที่นั่นแล้ว การที่เขาจะเหยียดมือไปแตะพื้นดินข้างล่างตึก หรือจะนั่งรถเก๋งวิ่งมาบนตึกชั้น3เล็กๆเหมือนอย่างบนถนนหลวงก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ และข้อนี้ก็เป็นเพราะการที่เขาข่ึ้นมาบนตึกเหมือนกันปฏิเสธไม่ได้ หรือเมื่อขึ้นมาแล้ว จะเมื่อยหมดแรงเดินต่อขึ้นหรือลงไม่ไหว นั่นก็ต้องเกี่ยวกับการที่ได้เดินขึ้นมาด้วยเหมือนดัน ปฏิเสธไม่ได้ การมาถึงที่นั่นก็ดีี ทำอะไรได้ในวิสัยของที่นั่นก็ดี การที่อาจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับอะไรต่ออะไรในที่นั้นอีก ในฐานะที่ขึ้นมาอยู่กับเขา ณ ที่นั้นด้วยก็ดี ย่อมสืบเนื่องมาจากการที่ได้เดินมาด้วยนั้นแน่นอน แต่การที่เขาจะทำอะไรบ้าง ทำสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องที่นั่นแค่ไหนเพียงไร ตลอดจนว่าจะพักเสียก่อนแล้วเดินต่อ หรือจะเดินกลับลงเสียจากตึกนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่เขาจะคิดตกลงทำเอาใหม่ ทำได้ และผลที่ตามมาเรื่องที่ทำไปน้ันๆ แม้้ว่าการเดินมาเดิมยังอาจมีส่วนให้ผลต่อเขาอยู่ เช่น แรงเขาอาจจะน้อยไป ทำอะไรใหม่ได้ไม่เต็มที่ เพราะเมื่อยเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น ถึงอย่างนี้ก็เป็นเรื่องของเขาอีกที่ว่าจะคิดยอมแพ้แก่ความเมื่อยหรือว่า จะคิดแก้ไขอย่างไร ทั้งหมดนี้ ก็เป็นเรื่องของกระบวนการแห่งเหตุป้จจัยทั้งนั้น ดังนั้นจึงควรเข้าใจเรื่องกรรมเก่าเพียงเท่านี้ มันเป็นตามกระบวนการของมัน ในทางจริยธรรม ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาทย่อมถือเอาประโยชน์จากกรรมเก่าใด้ในแง่่เป็นบทเรียน เป็นความหนักแน่นในเหตุผล เป็นความเข้าใจตนเองและสถานการณ์ เป็นความรู้พื้นฐานปัจจุบันของตน เพื่อประกอบการวางแผนทำกรรมปัจจุบันและหาทางแก้ไขปรับปรุง
(ความบางส่วนจากพุทธธรรม)
ด้วยข้อความที่ยกมาจึงขอแสดงความเห็นว่า
ที่กล่าวนำว่า"้หลักคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนาผิดเพี้ยนไป และไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้นับถืออย่างแท้จริง "นั้นเป็นคำพูดที่ไม่ถูก เพราะหลักคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยนับแต่การสังคายนาครั้งที่1 (สังคายนาคือสวดพร้อมกันป้องกันการผิดเพี้ยนไปจากเดิม เรียกมุขปาฐะ) หากสงสัยควรศึกษาความเป็นมาของพระไตรปฺฎกเพิ่มเติม ฉนั้นคำถามที่ตามมาจึงเป็นคำถามจากสมมุติฐานที่คลาดเคลื่อนเนื่องจาก ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หลักคำสอนที่แท้จริงจะเกิดประโยชน์แน่แต่มิใช่แก่ผู้นับถือ แต่เกิดแก่ผู้แสวงปัญญาจริงๆไม่ฉาบฉวย ที่เห็นผิดเพี้ยนกันนั้นเป็นเพราะหลายสาเหตุ แต่ถ้าเน้นที่ปัจจัยภายในคือตนเองที่มีความใฝ่่รู้ ศึกษาหลักธรรมจริงๆก็คงไม่เพี้ยนกันไปไกล ยิ่งได้กัลยาณมิตรที่ดีก็ย่อมเห็นไดตรงตามหลักธรมมจริงๆ หลักที่เรารู้จักกันดีเช่นกาลามสูตร มงคลสูตรเป็นต้น ก็น่าจะเพียงพอที่จะระมัดระวังไม่เข้ารกเข้าพงแล้ว แต่ไม่เร้าใจ จึงตื่นเต้นกับอะไรที่มีความเร้าใจกว่าเช่น ไสยศาสตร์ ลัทธิเทพบันดาลต่างๆ เหตุนี้จึงกล่าวว่าเป็นวิกฤติทางปัญญาของชาวพุทธที่ร้ายแรง ขออภัยถ้าได้ล่วงเกินใดๆนะครับ
อนุโมทนาคุณKom
ถ้าหากมีการนำข้อเขียน หรือธรรมบรรยายของท่านใด และหนังสือเล่มไหน
มาลงไว้ โปรดให้มีการระบุลงท้ายด้วย ก็จะเป็นการให้เกียรติกับผู้เขียนค่ะ
**ในเรื่องเกี่ยวกรรม คติของศาสนาพุทธนั้น กรุณาคลิ๊กไปอ่านที่เว็บนี้ค่ะ
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเรื่อง กรรม ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ
เป็นงานเขียนธรรมบรรยายของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
@เรื่อง "ทำอย่างไรจะให้เชื่อกรรม"
http://www.watnyanaves.net/books/pdf/chuererngkam.pdf
@เรื่อง "นรก สวรรค์ สำหรับคนรุ่นใหม่"
http://www.watnyanaves.net/books/pdf/narok-sawan.pdf
@เรื่อง "หลักกรรมสำหรับคนสมัยใหม่"
http://www.watnyanaves.net/books/pdf/lakkam.pdf
เว็บฯโหลดช้าหน่อยนะค่ะ
เจริญในธรรมค่ะ