หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑
หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด
(บรรยายที่การเคหะแห่งชาติ ๒ พ.ย. ๒๕๓๓) ตอน ๑
วันนี้จะคุยเรื่องกรรมซ้ำอีกสักครั้งหนึ่ง คราวที่แล้วได้พูดกันไว้พอสมควร แต่รู้สึกว่าเรื่องกรรมนี่มีรายละเอียดมาก น่าจะซักซ้อมทำความเข้าใจพูดกันให้ละเอียดสักหน่อย
เพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์หรือปฏิบัติให้ดีขึ้น ให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดีขึ้น สิ่งที่จะขอเพิ่มเติมวันนี้คือ
สำหรับกรรมนี่หมายถึง การกระทำทางกายวาจาใจ ทั้งทางดีและทำชั่วกรรมทางใจมีความสำคัญอยู่มาก ซึ่งคนส่วนมากถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมก็ไม่ค่อยรู้
คือไม่ได้สำนึกว่าเขาได้กระทำกรรมอยู่ทุกวัน แต่เป็นกรรมทางใจ เรามักได้ยินหลายคนพูดว่า เขาไม่ได้ทำความชั่วอะไร หรือบุญไม่ได้ทำ กรรมไม่ได้สร้าง
ที่จริงเขาเข้าใจผิด เขาทำอยู่เป็นประจำแม้แต่เพียงความคิด ความคิดที่ดีก็เป็นบุญเป็นกุศล ความคิดที่ชั่วก็เป็นบาปเป็นอกุศล
มีลูกศิษย์บางคนบอกว่าไปเรียนอภิธรรมอยู่พักหนึ่งก็เลิกเรียน ถามว่าทำไมถึงเลิกเรียนเสีย บอกว่ามีแต่บาป เรียนแล้วมีแต่บาป กลัว
ผมบอกว่าแล้วทำไมคุณไม่นึกถึงทางดี ถ้าคิดไม่ดีก็มีบาป คิดดีก็เป็นบุญ มันตรงข้ามกันตลอดเวลา เราคิดไม่ดีเป็นบาป คิดให้ดีๆ ก็เป็นบุญ
มันก็เท่ากัน บาปเยอะบุญก็เยอะเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็ทำไป คือมโนกรรม
ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ
"ความคิดทางพระพุทธศาสนาและทรรศนะชีวิต เล่ม ๑"
หน้า ๑๐๙-๑๑๐ สนพ.บรรณาคาร
ที่มา : "ԴҧоطʹзȹЪԵ " - Թ Թ