"ปัญญา กับความรู้คาดคะเน"
" .. คนทั้งหลาย
"รู้ธรรมทั้งหลายแล้วไม่พ้นทุกข์" ทั้งกลับเป็นเสี้ยนหนามยอกแทงตนและผู้อื่นเข้าด้วยซ้ำ
"แต่พระพุทธเจ้าแลสาวกรู้ธรรมแล้วพ้นทุกข์ไปเลย พร้อม ๆ กับความรู้ธรรมเกิดขึ้น" เพราะเหตุใดระหว่างคนทั้งสองสามจำพวกนี้จึงต่างกันเล่า
ก็เพราะ
"ความรู้เกิดจากปัจจุบันจิต อันกลายเป็นปัญญาไปในตัว กับความรู้คาดคะเน(สัญญา) มันต่างกันราวฟ้ากับแผ่นดินนั่นเอง" จึงสามารถแปรคนทั้งสองจำพวกให้ต่างกัน เหตุที่ความรู้ที่เป็นปัจจุบันจิตจะเกิดได้ ก็ต้องพิจารณาปัจจุบันธรรมคือกายกับจิตนี้เอง
"เพราะกาย-จิต เป็นสถานที่สั่งสมกิเลสและเป็นสถานที่ถอดถอนกิเลสแลกองทุกข์ทั้งมวล"
ฉะนั้น เราควรตั้งจิตไว้โดยทำนองที่ว่า
"ให้จิตอยู่กับกายจิตจริง ๆ จนเรียกปัจจุบันได้เต็มที่" แล้วกระแสของปัจจุบันจิตจะกระจายแสงสว่าง คือปัญญาออกตามอาการของกายแลอาการของจิตโดยรอบคอบ
"จากนั้นก็จะได้เห็นทุกสิ่งทั้งที่เป็นคุณเป็นโทษ ปรากฏด้วยปัญญาอันชอบแท้" ตลอดกลางวัน กลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน จะเรียกว่าฟังธรรมทุกเวลาก็ได้ .. "
"ธัมมะในลิขิต"
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.luangta.com/upload/ThammaBook/content/20040116153537.doc