"ไม่ยอมวาง เพราะไม่เห็นโทษ" (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)

 วิริยะ12  

 "ไม่ยอมวาง เพราะไม่เห็นโทษ"

" .. "หากไม่รู้ไม่เห็นเองแล้วเป็นไม่ยอมวางง่าย ๆ" ถ้าเทียบทางโลกง่าย หมายความว่า คนอื่นว่าไม่ยอมเชื่อง่าย ๆ อาจจะเชื่อบ้างแต่ไม่ลงถึงใจ คือไม่เห็นชัด เช่น "เทียบกับคนไปทอดแห งมลงไปในน้ำจับถูกงู นึกว่าเป็นปลาไหล จึงจับจนแน่น พอยกขึ้นพ้นน้ำรู้ว่าเป็นงู ไม่รู้ว่ามือมันวางตั้งแต่เมื่อไร ไม่ได้บอกให้มันวางยาก" ใจมันสั่งให้มือวางตั้งแต่เมื่อไรไม่รู้เพราะกลัว

"ลักษณะของจิตก็เหมือนกัน" ร่างกายก้อนนี้ ถ้าหากไม่เห็นโทษหรือความสวยความงามซึ่งโลกนิยมกัน "ยังไม่เห็นโทษเห็นภัยเกิดขึ้นกับจิตใจเองแล้ว มันไม่ยอมละวางง่าย ๆ ติดแน่นอยู่อย่างนั้นแหละ" ไม่ยอมละยอมวางง่าย ๆ ใครจะว่าอย่างไรก็ตาม แม้เราบอกให้ฟังก็ไม่ยอม

อย่างความเกิดขึ้น ความทุกข์ความร้อนต่าง ๆ เกิดขึ้นในจิตใจ บอกว่าอย่าโกรธ สิ่งนั้นมันเป็นรูปนั้นวิธีนี้ กล่าวไปตามเรื่องของธรรม เช่นว่า "เป็นของไม่เทียงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของไม่สวยไม่งาม ว่าอย่างไรมันก็ไม่ยอมฟัง" มันเป็นไปตามเรื่องของมัน

"เพราะจิตยังไม่ได้ดูดดื่มรสของธรรมะ หรือจิตใจยังไม่เคยเห็น" นี่คือปัญหาสำคัญ "ถ้าจิตได้ประสบการณ์เอง เกิดขึ้นเอง ไม่ต้องบอกยาก มันรีบวางเอง" มันจะตัดสินเองเรื่องของจิต .. "

หลวงปู่ศรี มหาวีโร
เทศนา ณ วัดผาน้ำทิพย์วนาราม อ. หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด
๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๕ 

5,620







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย