"เหตุผลที่หลวงปู่ชา ท่านบิณฑบาตที่เมืองนอก"
"เหตุผลที่หลวงปู่ชา ท่านบิณฑบาตที่เมืองนอก"
" .. ครูบาอาจารย์ผู้สอนมานั้นลำบาก อย่างเช่น "อาตมาออกไปเมืองนอกซึ่งเขาไม่มีพระเหมือนบ้านเรา" ก็เป็นเหตุให้มองเห็นพระพุทธเจ้าเสียแล้ว "พอเราออกไปบิณฑบาต เขามองไม่เป็นพระเลย เขามองเป็นตัวอะไรก็ไม่รู้" คนที่คิดจะใส่บาตรสักคนหนึ่งก็ไม่มี "มีแต่เขาพากันมองว่า ตัวอะไรน่ะมานั่น"
โอ้โฮ "นึกถึงพระพุทธองค์ อาตมากราบท่านเลย" มันแสนยากแสนลำบากที่จะฝึกคนเพราะเขาไม่เคยทำ ผู้คนที่ไม่เคยทำไม่รู้จักนี่มันลำบากมาก "พอมานี่นึกถึงเมืองไทยเรา ออกจากป่าไปบิณฑบาตเท่านั้นแหละ ไม่อดแล้ว ไปที่ไหนมันก็สบายมาก"
แต่เมื่อเราไปเมืองนอกอย่างนั้น มอง ๆ "ดูไม่มีใครตั้งใจจะมาตักบาตรพระ" บาตรเขายังไม่รู้จักเลย "เราสะพายบาตรไป เขานึกว่าเป็นเครื่องดนตรีเสียอีก" ถึงอย่างนั้นอาตมาก็ยังดีใจในสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว "โดยมากพระท่านไปเมืองนอก ท่านไม่บิณฑบาตหรอก"
อาตมามองเห็นข้อนี้ "นึกถึงพระพุทธเจ้า อาตมาต้องบิณฑบาต ใครจะห้ามก็จะบิณฑบาต ไปบิณฑบาต ไปทำกิจอันนี้ที่กรุงลอนดอนได้ ดีใจเหลือเกิน" พวกพระไปด้วยกันก็ว่า "บิณฑบาตทำไม มันไม่ได้อาหาร อย่าเอาอาหารซิ ไปบิณฑบาตเอาคน" เอาคนเสียก่อน ขนมมันมากับคน "พระก็ไปบิณฑบาตให้เขามองดู เขามองดูพระนั่น ก็ถือว่าได้แล้ว"
ก็เหมือนท่านพระสารีบุตรนั่น "ท่านไปบิณฑบาตอุ้มบาตรอยู่ในบ้านตั้งหลายครั้ง เขาก็ไม่ใส่บาตรสักขันเลย" เขามองดูแล้วเขาก็เดินหนี มาถึงวันหนึ่งเขาก็ว่า "พระสมณะนี่มาอย่างไร ไป หนีไป" พระสารีบุตรท่านก็ดีใจแล้วได้บิณฑบาตแล้ววันนี้
"เพราะเขาสนใจเขาจึงไล่เรา ถ้าเขาไม่สนใจเขาไม่ไล่หรอก" เขาไม่พูดกับเราหรอก "พระสารีบุตรท่านเป็นผู้มีปัญญา เท่านั้นท่านก็พอใจแล้ว" คนสนใจ "นี่เป็นจิตของพระที่ท่านไปประกาศพระศาสนา"
อาตมานึกถึงข้อนี้แล้วก็ไม่อาย "เพราะพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสว่า ให้อายแต่สิ่งที่มันเป็นบาป ไม่เป็นบาปไม่ต้องอาย" ก็เลยออกไปบิณฑบาตได้สัก ๗ วัน "ตำรวจก็จ้องสะกดรอยตามมาห้าม ให้หยุดบิณฑบาต บอกว่าผิดกฎหมายในเมืองเขา" เราไม่รู้นี่มันผิด เราก็หยุด "ที่ผิดเพราะเขาหาว่าเป็นขอทาน บ้านเขาห้ามขอทาน"
เราก็บอกว่า "อันนั้นมันเป็นเรื่องของคน แต่นี่มันเรื่องของศาสนา พระพุทธศาสนาไม่ใช่ขอทาน" ก็เลยได้อธิบายไปว่า "ขอทานประการหนึ่ง การบิณฑบาตอีกอย่างหนึ่ง" ก็เลยเข้าใจกัน "ทุกวันนี้ที่นั่นพระก็ได้บิณฑบาตอยู่" แต่ก็ยังไม่ดีเท่าไหร่หรอก ค่อย ๆ "เริ่มไปล่ะ นี่เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ทำได้ลำบาก" .. "
"ธรรมที่หยั่งรู้ยาก"
หลวงปู่ชา สุภัทโท