๒.๓ หมวดธรรมเกี่ยวกับพระนิพพาน

 dharma  

๒.๓.๑ แนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน
นิพพานลภนปัญหา ๒๕๙ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง บุคคลย่อมบรรลุนิพพาน
ด้วยกันทุกคนหรือไม่
อธิบายว่า บุคคลไม่บรรลุนิพพานทั้งหมด ผู้ปฏิบัติชอบรู้เฉพาะธรรมที่ควรรู้ยิ่ง คือ
กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่
ควรทำให้แจ้ง ย่อมบรรลุพระนิพพาน
นิพพานอัตถิภาวปัญหา ๒๖๐ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สัตว์ที่เกิดแต่กรรม
เกิดแต่เหตุ และเกิดแต่ฤดูย่อมมีปรากฏอยู่ในโลก ส่วนสิ่งที่ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ
และไม่เกิดแต่ฤดูก็มีปรากฏอยู่ในโลกเหมือนกัน
อธิบายว่า สิ่งที่ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ และไม่เกิดแต่ฤดูในโลกนี้มีอยู่ ๒
อย่าง คือ
(๑) อากาศ
(๒) พระนิพพาน
พระพุทธเจ้าทรงแสดงมรรค คือ หนทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์แก่พระสาวก
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยเหตุตั้งหลายร้อยอย่างก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็
ไม่ได้ทรงแสดงเหตุเพื่อความยึดมั่นถือมั่นพระนิพพานไว้ เพราะพระนิพพานเป็น
อสังขตธรรม อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว เป็นธรรมชาติที่ไม่พึงกล่าวว่า พระนิพพานเกิด
ขึ้นแล้ว ไม่เกิดขึ้นแล้ว เป็นของควรให้เกิดขึ้น หรือพระนิพพานเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
หรือพระนิพพานอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น
พระนิพพานก็ยังคงมีอยู่บัณฑิตพึงรู้แจ้งได้ด้วยใจเท่านั้น พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบย่อมเห็น
พระนิพพานอันหมดจดวิเศษ ประณีต ตรง ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น ไม่มีอามิส ด้วยใจของตน
เพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงมีอยู่ เหมือนลมมีอยู่แต่ไม่สามารถแสดงได้โดยวรรณะหรือ
สัณฐาน ว่าเป็นของละเอียดหรือหยาบ เป็นสิ่งที่ยาวหรือสั้น
กัมมชากัมมชปัญหา ๒๖๑ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สัตว์ที่เกิดแต่กรรม
เกิดแต่เหตุ เกิดแต่ฤดู และสัตว์ที่ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่ฤดู
อธิบายว่า สัตว์ที่มีเจตนาเกิดแต่กรรม ไฟและพืชทั้งหมดเกิดแต่เหตุ แผ่นดิน ภูเขา
น้ำ และลม เกิดแต่ฤดู ส่วนอากาศและพระนิพพานไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่ฤดู
พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบย่อมเห็นพระนิพพานด้วยญาณอันหมดจดพิเศษ บัณฑิตพึงรู้แจ้ง
พระนิพพานได้ด้วยใจเพียงอย่างเดียว
นิพพานสัจฉิกรณปัญหา ๒๖๒ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง บุคคลผู้ปฏิบัติชอบ
ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่เกิดขึ้น หรือยังพระนิพพานให้เกิดขึ้นแล้วกระทำให้แจ้ง
ภายหลัง
อธิบายว่า บุคคลผู้ปฏิบัติชอบไม่ได้กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่เกิดขึ้น
หรือไม่ได้ทำพระนิพพานให้เกิดขึ้นแล้วกระทำให้แจ้งภายหลัง แต่พระนิพพานธาตุที่บุคคล
ผู้ปฏิบัติชอบกระทำให้แจ้งนั้นมีอยู่ พระนิพพานธาตุเป็นธรรมชาติระงับ เป็นสุข ประณีต
ผู้ปฏิบัติชอบพิจารณาความเป็นไปแห่งสังขาร ย่อมเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บ
และความตาย และจะไม่เห็นความสุขสำราญแม้เพียงเล็กน้อยในสังขาร เมื่อไม่เห็นสิ่งที่ควร
จะถือเอาเป็นสาระในสังขาร ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือที่สุด ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง
พระนิพพานด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น บุคคลกระทำให้มากซึ่งหนทางเพื่อความไม่เป็นไปแห่ง
สังขาร สติ วิริยะ และปีติของเขาย่อมตั้งมั่น เมื่อเขามนสิการจิตนั้นเนืองนิตย์จิตก็ก้าวล่วง
ความเป็นไปแห่งสังขารหยั่งลงสู่ความไม่เป็นไป บุคคลผู้ปฏิบัติได้อย่างนี้เรียกว่า กระทำให้
แจ้งซึ่งพระนิพพานนิพพานปัฏฐานปัญหา ๒๖๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สถานที่เป็นที่ตั้งของ
พระนิพพาน
อธิบายว่า พระนิพพานไม่ได้ที่ตั้งอยู่ในทิศบูรพา ทิศทักษิณ ทิศประจิม ทิศอุดร
หรือทิศด้านบน ด้านล่าง ด้านขวาง แม้โอกาสเป็นที่ตั้งของพระนิพพานก็ไม่มีเหมือนกัน
แต่พระนิพพานมีอยู่แน่นอน บุคคลผู้ปฏิบัติชอบย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานโดยโยนิโส
มนสิการ เหมือนไฟย่อมมีอยู่ เพียงแต่โอกาสที่ตั้งของไฟไม่มี เมื่อบุคคลนำไม้สองอันมาสี
เข้าด้วยกันไฟจึงจะเกิด ฐานะที่บุคคลดำรงอยู่ ปฏิบัติชอบแล้วย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง
พระนิพพานก็มีอยู่ ฐานะนั้น คือ ศีล บุคคลดำรงมั่นอยู่ในศีล เมื่อกระทำไว้ในใจโดยอุบาย
ที่ชอบ แม้จะอยู่ในสกนครและยวนนครก็ดี ในจีนนครและวิลาตนครก็ดี ในอลสันทนครก็ดี
ในนิกุมพนครก็ดี ในกาสีนครและโกสลนครก็ดี ในกัสมีรนครก็ดี ในคันธารนครก็ดี บนยอด
ภูเขาก็ดี บนพรหมโลกก็ดีปฏิบัติชอบแล้วก็กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้
จากการศึกษาได้พบว่า จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน
ซึ่งเป็นการดับกิเลสอย่างสิ้นเชิง ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารอีก บุคคล
ผู้สนใจในพระนิพพานควรศึกษาในธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ดีแล้ว เพื่อเป็น
แนวทางในการปฏิบัติโดยเฉพาะการดำเนินตามอริยมรรค อันเป็นหนทางนำไปสู่การดับทุกข์
คือ พระนิพพาน ซึ่งมีอยู่๒ อย่าง ๒๖๔ คือ
(๑) สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นสภาวะที่มีให้เห็นในอัตภาพนี้ และเป็นที่สิ้น
ไปแห่งตัณหาที่นำไปสู่ภพ
(๒) อนุปาทิเสสนิพพาน เป็นสภาวะที่มีในภายภาคหน้า และเป็นที่ดับ
สนิทแห่งภพทั้งหลายได้สิ้นเชิง
บุคคลผู้บรรลุพระนิพพานแล้ว แต่อินทรีย์๕ ยังคงเป็นไปอยู่ ไม่ได้ดับไปตาม
ย่อมทำให้ประสบกับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เสวยเวทนาอยู่ตลอดเวลา ส่วนผู้บรรลุ
พระนิพพานแล้ว แต่เวทนาของท่านไม่ถูกกิเลสมีตัณหาเป็นต้นครอบงำ ก็จักดับสนิทอย่าง
สิ้นเชิง

ที่มา : พระมหาสายเพชร วชิรเวที(หงษ์แพงจิตร)

5,618







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย