"ความทุกข์เกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนา"
" .. ความทุกข์เกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนา
"ก็คือทุกข์เพื่อจะแก้จะถอดจะถอนเสี้ยนหนามออกจากจิตใจ" เหมือนหนามยอกเข้าที่เท้า
"จะถอดหนามออกถอนหนามออกก็กลัวเจ็บ" แล้วปล่อยให้มันจมอยู่อย่างนั้นจะเป็นยังไง มันก็เลอะไปหมด เน่าไปหมด เท้า และยังทำให้อวัยวะส่วนอื่นเสียไปอีกด้วย
ถ้าเราเห็นว่า
"การถอดถอนหนามออกนั้นเป็นความทุกข์" และไม่กล้าถอดถอน เราจะปล่อยให้มันจมอยู่นั้นจะเป็นยังไง
"เราต้องเอาเหตุผลเข้าไปจับ ทุกข์ก็จำต้องถอนต้องถอด" ไม่ถอดไม่ได้
ทีนี้ก็ถอน
"เจ็บก็ถอน ทุกข์ก็ถอน แล้วใส่ยามันก็หาย" หายชั่วขณะที่ถอนเท่านั้น ถ้าหากเราไม่ถอนโดยถือว่ามันเจ็บปวดนั้น มันจะจมจะเป็นทุกข์ขนาดไหนเรื่องกิเลส
"ซึ่งเปรียบเหมือนกับหนามยอกหัวใจเราก็เหมือน ๆ กันอย่างนั้น" ความเพียรพยายามนี้เหมือนกับจะถอดถอนหัวหนามออกมา ต้องมีทุกข์บ้างจะว่าไง
"เราเป็นศิษย์ที่มีครู เราก็ต้องทำแบบครู" เราอย่าทำแบบเรา
"แบบเรา คือกิเลสอาสวะนั่นเป็นอาจารย์สอนให้คนขี้เกียจขี้คร้าน" มักง่ายอ่อนแอ ไม่จริงไม่จัง
"ทำอะไรก็ไม่เป็นหลักเป็นเกณฑ์ ไม่มีเหตุมีผล" .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=2782&CatID=3