"ผู้ว่าเขาเป็นผู้มีบาป" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

 วิริยะ12  

.
 "ผู้ว่าเขาเป็นผู้มีบาป"

" .. บาปอกุศลทั้งปวงเกิดจาก กาย วาจา ใจ ของแต่ละคน ของตนเองโดยเฉพาะ "บาปอกุศลของตนไม่ได้เกิดแต่ กาย วาจา ใจ ของผู้อื่น" เรียกตามภาษาที่พูดกันว่า "ของใครของมัน" ของใครผู้ใดต้องใครผู้นั้นทำ เป็นของตายตัวเช่นนี้ "ไม่มีใครจะทำใครให้มีบาปอกุศลได้" ถ้าตัวเองของผู้นั้นมิได้ทำ

ผู้ที่คิดว่า "คนนั้นไม่ดีคนนี้ไม่ดี แล้วตำหนิติเตียนไปต่าง ๆ นานา ตามความคิดความเชื่อของตน นั่นเป็นหนึ่งของการทำบาปอกุศล" แต่ไม่ใช่ของผู้ถูกตำหนิติเตียน แต่เป็นของผู้ตำหนิติเตียน "คือผู้ว่าเขาเป็นผู้มีบาป" ผู้ถูกว่าไม่เป็นผู้มีบาป คือไม่มีบาปไปตามปากว่าของผู้ใดอื่น จะเป็นผู้มีบาปก็ต้องเป็นผู้ได้ทำบาปด้วยตนเองหัวใจ

พระพุทธศาสนาข้อต้น "การไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง" มีความสำคัญสำหรับทุกคน ทุกคนจึงต้องเข้าใจให้ดี ทุกคนจึงควรต้องเข้าใจให้ถูก "การทุ่มเทความคิดจิตใจไปมองดูผู้อื่น อย่างเจตตาไม่ดี คือการกำลังนำตนไปทำบาปอกุศล"

ดังนั้นจึงควรมีสติ "พยายามยับยั้งความคิดที่จะมองใครอื่นอย่างยึดมั่นเชื่อมั่นว่าเขาเป็นคนไม่ดี เพราะความคิดนั้นจะสามารถหยุดบาปอกุศลมิให้เข้าไปสู่ชีวิตตนได้" .. "

"แสงส่องใจ" มาฆบูชา ๒๕๕๐
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร 
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14953

5,623







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย