"คนดี-ความดี" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"คนดี-ความดี"
".. "อันความดีที่ว่านี้ ถ้าทำอะไรลงไปแล้วคนชั่วสรรเสริญ อย่าไปเข้าใจว่าเป็นของดี" คนดีสรรเสิญเราจึงค่อยเข้าใจว่าเป็นของดี "คนดีเป็นคนชนิดใด คนดีก็คือคนมีเหตุมีผล" ที่เรียกว่าความดี ดีอย่างไร "ความดีที่เราทำนั่นไม่เบียดเบียนตนไม่ทำให้เสียผลประโยชน์ทั้งของตนและคนอื่น" คือไม่เป็นเครื่องกระทบกระเทือนทั้งตนและคนอื่น จึงจะเรียกว่าดี
"ทำอะไรแม้จะดีแสนดี ก็ตามแต่มันเป็นเครื่องกระทบกระเทือนคนอื่นแล้ว ความดีอันนั้นใชั่ไม่ได้" ไม่ไช่ของดี นี่เป็นเครื่องวัดของดีของชั่ว "เมื่อเข้าใจแล้วรู้แล้วก็มาวัดตัวของเราใจของเราดู" แล้วมาวัดผลที่ทำนั่นอีก "คือว่าไม่กระทบกระเทือนตนเอง ไม่ทำให้ตนและคนอื่นเดือดร้อนด้วย จึงจะเรียกว่าดี" .. "
"คุณค่าและประโยชน์ของพระพุทธศาสนา"
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี