"อย่าคบคนพาลให้คบบัณฑิต" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

 วิริยะ12  

.
 "อย่าคบคนพาลให้คบบัณฑิต"

" .. "คนพาล" นั้นจะทำก็ดี จะพูดจะคิดอะไรก็ดี "ล้วนเป็นไปในทางชั่ว ทางบาปอกุศลกรรม แต่ตัวเขาเองหารู้ไม่ว่าเป็นบาปอกุศล" เขาไม่มองเห็นความดี ไม่รู้จักความดีเลย ผู้เช่นนี้เรียกว่าคนพาลโดยแท้

"บัณฑิต" นั้นตรงข้าม จะนึกคิด จะพูด "จะทำอะไรก็ล้วนแต่เป็นไปเพื่อความดี" เป็นบุญ เป็นกุศล "มีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่า เราทำอะไรลงไป เป็นบาปหรือบุญ" ถ้าบาปแล้วก็รีบแก้ตัว

โบราณท่านสอนไว้ว่า "อย่าคบคนพาลให้คบบัณฑิต" การคบคนพาลเป็นการทำให้ตนชั่วเลวทรามไปตามพาล ถ้าคบบัณฑิตแล้วตนก็ค่อยเป็นคนดีขึ้นเรื่อยไป มนุษย์เราเกิดมาต้องพบทั้งคนพาลและบัณฑิต

เพราะว่าคนทั้งสองจำพวกนี้มีประจำอยู่ในโลกนี้แต่ไหนแต่ไรมา เราจะไปหลบหลีกได้อย่างไร "เว้นแต่เราจะคบหรือไม่คบเท่านั้น" และจำเป็นต้องมีคนทั้งสองประเภทนี้อยู่ด้วยกัน เพื่อไว้เป็นเครื่องวัดเทียบเคียงซึ่งกันและกัน

ถ้าหากจะมีแต่บัณฑิตอย่างเดียว ก็ไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมาวัดว่าเป็นบัณฑิต เป็นบัณฑิตตรงไหน "เราก็เอาธรรมของคนพาลเหล่านั้นแหละมาเป็นเครื่องวัด" หรือถ้ามีแต่คนพาลประเภทเดียวก็ไม่มีอะไรมาเป็นเครื่องเทียบอีกเหมือนกัน .. "

"หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี" 

5,604







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย