ค้นหาในเว็บไซต์ :

วิปัสสนา

เรื่องที่ ๑๗ : ๑๑ วันธรรมบรรยาย ( ๓ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


โดยทั่วไปแล้ว เรารู้เรื่องเกี่ยวกับตัวของเราเองน้อยมาก เราจะรู้ ก็แต่เพียงสิ่งที่ปรากฏให้ เห็นภายนอก คืออวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ที่มองเห็นได้ด้วยตาและที่เรา สามารถควบคุม การทำงานของมันได้ แต่เราจะไม่รู้อะไรเลย เกี่ยวกับอวัยวะภายใน ซึ่งทำงานอยู่นอกเหนือ อำนาจการควบคุมของเรา

ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ต่างๆในร่างกายของเรา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ โดยที่เราไม่ สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ ปฏิกิริยาทางแม่เหล็กไฟฟ้า และชีวเคมีอีกมากมาย นับไม่ถ้วน ที่เกิดขึ้นและหมุนเวียน อยู่ทั่วร่างกายของเราตลอดเวลาเราก็มิได้เคยเรียนรู้เกี่ยวกับความ เคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้เลยโดยอาศัยการสังเกตลมหายใจเข้าออกเป็น ตัวช่วย ลมหายใจของท่าน จะเป็นเสมือนสะพานเชื่อมความรู้ กับความไม่รู้ อะไรที่ท่านไม่เคย รู้ ก็จะได้รู้ และเนื่องด้วยการหายใจเข้าออก เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของร่างกาย การหาย ใจเข้าออกจึง อาจจะเป็นไปโดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ได้ และเป็นไปด้วยความตั้งอกตั้งใจ หรือ เป็นไปโดยอัตโนมัติก็ได้

ดังนั้น ถ้าเราจะเริ่มปฏิบัติให้ถูกต้อง เราควรเริ่มต้น ด้วยการสังเกตลมหายใจเข้าออกอย่าง ตั้งอกตั้งใจ โดยเริ่มจาก หายใจแรงๆก่อน แล้วจึงค่อยๆผ่อน เป็นลมหายใจเข้าออกตาม ธรรมชาติต่อไปจากจุดนี้ เราก็จะก้าวหน้าไปสู่สัจธรรมที่ลึกซึ้งภายในกายของเรา แต่ละก้าวที่ เราก้าวเดินไป จะเป็นการก้าวไป พร้อมกับความเป็นจริง ในแต่ละวัน เราจะได้ค้นคว้าลึกเข้าไป ภายในตัวของเราเอง เพื่อให้พบกับความจริงที่ซ่อนเร้นอยู่ ทั้งในร่างกายและจิตใจของเรา

สำหรับวันนี้ เราทุกคนได้ถูกขอให้สังเกตดูลมหายใจเข้าออก แต่เฉพาะทางด้านกายภาพเท่า นั้นแต่ในเวลาเดียวกัน ท่านก็มีโอกาสได้สังเกตดูจิตของท่านด้วย เพราะธรรมชาติของการหาย ใจนั้น จะเชื่อมโยงกับสภาพจิตของแต่ละคนอย่างแนบแน่นเมื่อใดที่เกิดมีกิเลสตัณหาขึ้นในจิตใจ ลมหายใจก็จะผิดปกติ บางคนอาจจะหายใจเร็วขึ้น หนักขึ้นเมื่อความรู้สึกนั้นหมดไป ลมหายใจ ก็จะนุ่มนนวลขึ้นเอง ลมหายใจจึงสามารถนำมาใช้ในการสำรวจความเป็นจริง ซึ่งไม่เพียงแต่ ทางร่างกายเท่านั้น หากแต่รวมไปถึงจิตใจด้วย





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย