ค้นหาในเว็บไซต์ :

วิปัสสนา

เรื่องที่ ๓๓ : ๑๑ วันธรมบรรยาย ( ๑๙ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


ในพื้นดินเดียวกัน หากเราปลูกพันธุ์พืชลงไป 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นพันธุ์อ้อยอีกชนิดหนึ่ง เป็นพันธุ์ต้นสะเดา พันธุ์อ้อยที่ปลูกลงไป ก็จะงอกงามและเติบโตเป็นต้นอ้อยที่มีรสหวาน เหมือนเผ่าพันธุ์ดั้งเดิม ส่วนพันธุ์สะเดาที่ปลูกลงไปในที่ดินผืนเดียวกันนี้ก็ย่อมจะเติบโต เป็น ต้นสะเดา ที่มีรสขม เหมือนเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมเช่นกัน บางคนอาจถามว่า ทำไมธรรมชาติจึงเลือก ที่รักมักที่ชัง โดยมีเมตตาต่อต้นอ้อย แต่โหดร้ายต่อต้นสะเดา แท้ที่จริงแล้ว ธรรมชาติย่อม เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ถ้าเราปลูกพันธุ์พืชที่มีความหวาน ผลที่เก็บเกี่ยวได้ก็ย่อม จะหวาน ถ้าปลูกพันธุ์พืชที่มีความขม ผลที่เก็บเกี่ยวได้ ก็ย่อมจะขม พันธุ์พืชเป็นเช่นใด ผลก็ จะออกมาเป็นเช่นนั้น

ในทำนองเดียวกัน ถ้าทำกรรมใดไว้ ผลของกรรมก็จะปรากฏเป็นเช่นนั้นเหมือนกันปัญหาคือ คนเรามักระมัดระวัง และสนใจก็แต่เฉพาะในเวลาเก็บเกี่ยวเท่านั้นทั้งนี้เพราะเราหวังจะได้ผล ที่มีรสหวาน แต่ในระหว่างที่ปลูกพืช เรากลับไม่ระมัดระวังและสนใจกลับไปปลูกเอาพันธุ์พืช ที่มีรสขม ผลที่ออกมาก็จะต้องขม ตามกฎของธรรมชาติถ้าเราต้องการผลไม้ที่มีรสหวาน เรา ก็จะต้องเลือกปลูก และบำรุงรักษาพันธุ์หวานให้ถูกต้อง ตรงกับชนิดที่เราต้องการ

การสวดมนต์อ้อนวอน ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อมุ่งหวังอภินิหาร เป็นเพียงการหลอกตนเอง เท่านั้น คนเราจะต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติ และมีชีวิตอยู่ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดัง นั้น เราจึงจำเป็นต้องระมัดระวังการกระทำของเราเองทั้งนี้เพราะ การกระทำของเรานั้น ก็คือ ชนิดของเมล็ดพันธุ์พืชที่เราได้ปลูกลงไป ซึ่งจะส่งผล ให้เราได้เก็บเกี่ยวผลที่หวานหรือขม ย่อมแล้วแต่ชนิด และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืช การกระทำของเรานั้น ทำได้ 3 ทาง ทางกาย ทางวาจาและทางใจ ผู้ที่ได้เรียนรู้ในการ สังเกตตนเอง จะทราบได้ทันทีว่า การกระทำทางใจ เป็นสิ่งที่ สำคัญที่สุด เพราะว่าการ กระทำทางใจนั้น เป็นเสมือนเมล็ดพืชที่จะก่อให้เกิดผล การกระทำทางกาย และการ กระทำทางวาจา เป็นเพียงสิ่งที่สะท้อนออกมาจากการกระทำ ทางใจ เป็นมาตรวัดความ เข้มข้นของการกระทำทางใจ เพราะการกระทำใดๆจะมีจุดเริ่มต้น ที่ใจก่อน แล้วจึงปรากฏให้เห็น เป็นการกระทำทางกายและวาจา

พระพุทธองค์ตรัสว่า ทุกสิ่งเกิดขึ้นที่ใจก่อน ใจเป็นปัจจัยของทุกสิ่ง สิ่งที่คนเราประสบล้วน แต่เป็นผลผลิตจากใจของตนเอง แท้จริงนั้น สิ่งที่คนเราได้ประสบ มิใช่อะไรอื่น หากแต่เป็นผล ผลิตจากใจของเราเองทั้งสิ้น หากท่านทำสิ่งใดลงไป ไม่ว่าจะโดยทาง กาย หรือวาจา โดยมีพื้น ฐานจากจิตที่ไม่บริสุทธิ์แล้ว ความทุกข์ก็จะติดตามท่านไป ประดุจกงล้อเกวียนที่หมุนติดตามโค ลากเกวียนฉะนั้น ด้วยเหตุนี้หากท่านมีจิตอัน บริสุทธิ์ในการกระทำใดๆ ไม่ว่าด้วยกายหรือวาจา ความสุขก็จะติดตามตัวท่านไป เหมือนดั่งเงา ดังนั้นเจตนาทางใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อเป็น เช่นนี้ เราจึงจะต้องรู้ว่า จิตคืออะไร และทำงานอย่างไร ท่านได้เริ่มศึกษาเรื่องนี้ด้วยการฝึก ปฏิบัติ เห็นว่า จิตนั้นประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ๔ ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเรียกว่า "วิญญาณ" นั่นคือส่วนที่เป็นความรู้แจ้งในอารมณ์ อวัยวะที่รับความรู้สึกในร่างกายจะไม่มีชีวิต หากไม่มี วิญญาณมาเชื่อมโยง ตัวอย่างเช่น หากเรากำลังเพ่งมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างตั้งอกตั้งใจแล้ว เกิดมีเสียงดังขึ้นมา เราจะไม่ได้ยินเสียงนั้นหรือแม้ได้ยินก็ไม่ชัดเจน ทั้งนี้เพราะวิญญาณ หรือ การรับรู้ของเรา กำลังอยู่ที่ตาในขณะนั้น หน้าที่ในส่วนนี้ของจิต จะเพียงรับรู้ว่า มีเสียงมา กระทบโดยไม่แยกแยะรายละเอียด หรือความชัดเจน

แล้วส่วนต่อไปของจิตก็จะเริ่มทำงาน ส่วนนี้เรียกว่า สัญญา คือการจำได้หมายรู้ในอารมณ์ เมื่อมีเสียงมากระทบหู เราจะรับรู้ตามความทรงจำและประสบการณ์ เก่าๆว่าสิ่งนั้นเป็นเสียง เป็นคำพูด เป็นคำสรรเสริญ เป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นเสียงเป็นคำพูด เป็นคำด่าทอ เป็นสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งการที่เราจะประเมินได้ว่า ดีหรือไม่ดี จะเป็นไปตามประสบการณ์ที่เราเคยได้รับมา จากนั้น ส่วนที่สามของจิต ก็จะเริ่ม ทำงานในทันที เรียกว่า เวทนาเป็นส่วนรับความรู้สึก เมื่อมีเสียง มากระทบ ร่างกายจะรับความรู้สึก เมื่อ สัญญา ทางจิตรับรู้ และประเมินเสียงนั้น ความรู้สึก ก็จะออกมา ว่าดีหรือไม่ดีตามการประเมินนั้น ตัวอย่างเช่น มีเสียงมากระทบ เป็นคำพูด คำ สรรเสริญเป็นสิ่งที่ดี เราก็จะเกิดความรู้สึกเป็นสุขไปทั่วร่างกาย แต่ถ้าหากมีเสียงมากระทบ เป็นคำพูด คำด่าทอ เป็นสิ่งที่ไม่ดี เราก็จะเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีขึ้นทั่วร่างกายความรู้สึกนั้นเกิด ขึ้นในร่างกาย แต่ใจจะเป็นผู้รับความรู้สึกนั้น หน้าที่ของจิตส่วนที่รับความรู้สึกนี้ เรียกว่า เวทนา ต่อไปส่วนที่สี่ของจิตก็จะเริ่มทำงาน เรียกว่า สังขาร เป็นส่วนที่ปรุงแต่ง เมื่อเสียงมา กระทบหู เป็นคำพูด เป็นคำสรรเสริญที่ดี รู้สึกเป็นสุข เราก็เริ่มชอบมัน "แหม คำสรรเสริญ นี้ไพเราะ ฉันอยากฟังอีก" หรือมิเช่นนั้น เมื่อมีเสียงมากระทบ เป็นคำพูด เป็นคำด่าทอที่ไม่ดี ก็จะรู้สึกเป็นทุกช์ และเราก็จะเริ่มไม่ชอบ "ฉันทนฟังคำหยาบคายพวกนี้ไม่ได้อีกแล้วหยุดเสีย ที" ทุกทวารอันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนมีกระบวนการรับรู้อย่างเดียวกัน ในทำนองเดียว เมื่อมีความคิด หรือจินตนาการมากระทบใจความรู้สึกก็จะเกิดขึ้นกับร่างกายเหมือนๆกัน ว่า เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ และคนเราก็จะมีการปรุงแต่งว่า ชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งในขณะนั้น ความ รู้สึกชอบก็จะพัฒนาเป็นโลภะ และความไม่ชอบก็จะพัฒนาเป็นโทสะ ถึงขั้นนี้ คนเราก็จะเริ่ม ผูกปม เงื่อนขึ้นภายในตนเองแล้ว นี่คือเมล็ดพันธุ์ที่แท้จริงที่จะให้ผลการกระทำที่จะทำให้เกิด ผลก็คือ สังขาร เป็นการปรุงแต่งของใจ คนเราปลูกเมล็ดพันธุ์พืช ด้วยการปรุงแต่งว่าชอบ หรือไม่ชอบ มีโลภะและโทสะอยู่ทุกขณะ การ กระทำเช่นนี้ ทำให้ตัวเราเองมีความทุกข์





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย