พุทธานุสสติโดยอาศัยลมหายใจ : ท่านพ่อลี ธัมมธโร

 จำปาพร  

พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

...

ดวงจิตคือ "มโนธาตุ" และธรรมดาของจิตนั้น
ก็มีความเร็วยิ่งกว่าลมในอากาศซึ่งมีอาการไหวไปมา
และสะเทือนขึ้นลงอยู่เสมอ ไม่คงที่
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้มีสติเข้าไปอาศัยอยู่ในดวงจิต
เพื่อจะได้แก้จุดเสียให้เป็นดีเรียกว่า "ภาวนา"

คือ ให้กำหนดลมหายใจและระลึกถึง "พุทธคุณ"นี้ข้อหนึ่ง
พุทธคุณนี้โดยพยัญชนะ ไม่จำเป็นต้องวิจาร
ให้รู้แต่เพียงคำพูดที่เรานึกกันอยู่ว่า "พุทโธๆ"นี้เสียก่อน

"พุทโธ" เป็นชื่อของ "สติ" "พุทธะ" หมายความว่า รู้
แต่เพียงแค่นึกพุทโธนี้ก็ยังไม่สำเร็จรูปขององค์ภาวนา
การนึกนี้ เวลานึก็ต้องประคองคำพูด
ให้มีส่วนเสมอเท่ากับลมหายใจของเราด้วย
คือ หายใจให้พอดี พองาม ไม่ช้านัก ไม่เร็วนัก
สุดแล้วแต่ลมตามธรรมชาติ เราก็นึกอนุโลมไปตามลมหายใจ
ปรับปรุงการนึกของเราให้กลมกลืนกับลม
นี่จึงจะแสดงว่า เป็นการถูกต้องกับองค์ภาวนา

นี้เป็น "พุทธานุสสติ" คือ นึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยย่อๆ
โดยอาศัย "ลม" เป็นเครื่องหมายอันหนึ่งและ "สติ" เป็นผู้นึก
เมื่อสติของเราได้แนบแน่นอยู่กับลมกับจิต
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเช่นนี้ อายตนะส่วนอื่นๆก็จะสงบราบคาบ
ดวงจิตของเราก็จะค่อยๆสงบขึ้นทีละน้อยๆ
นี่ก็เรียกว่า ตั้งอยู่ใน "อารักขกัมมัฏฐาน"*ข้อหนึ่ง

การภาวนาเช่นนี้ ก็คือ "พุทธานุสสติ"
ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า คือ นึกโดยการปฏิบัติ
การนึกเช่นนี้ย่อมจะให้ผลแก่พุทธบริษัททุกเหล่า

...

คัดลอกจาก
หนังสือแนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน เล่ม ๒
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร. มกราคม, ๒๕๕๓. หน้า ๘๙-๙๐



*อารักขกัมมัฏฐานหรืออารักขกรรมฐาน กรรมฐานที่ควรรักษาไว้เป็นนิจนี้
ข้อ ๑) พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ข้อ ๒) เมตตา แผ่จิตออกไปด้วยความใคร่
ความปรารถนาสุขประโยชน์แก่บุคคลแก่สัตว์ทั้งหลาย
ข้อ ๓) อสุภะ พิจารณากายนี้ว่าไม่งดงาม
และข้อ ๔ ) มรณสติ ระลึกถึงความตาย

5,558







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย