พระบาลีอันเป็นหลักฐานแสดงฌาน ๔ นี้มีมากแห่ง และแสดงลักษณะไว้ตรงกันหมดทั้ง
แสดงว่า ฌาน ๔ ชั้นนี้ เป็นสมาธิพละ สมาธิสัมโพชฌงค์ และสัมมาสมาธิองค์แห่งมรรค
ด้วยพระบาลีมีดัง ต่อไปนี้
๑. ปฐมฌาน " วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกฺชํ ปีติสุขํ
ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ " คือ สงัดเงียบจากกาม สงัดเงียบจาก อกุศลธรรม แล้วเข้า
ปฐมฌาน ซึ่งมีวิตก มีวิจารมีปีติ และมีสุขเกิดจากวิเวกอยู่
๒. ทุติยฌาน " วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ
อวิจารํ สมาธิชํ ปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ " คือ ระงับวิตกวิจารแล้วเข้าทุติยฌาน
ซึ่งมีความผ่องใสในภายใน มีความปรากฏเด่นเป็นดวงเดียว แห่งจิตใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
๓. ตติยฌาน ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน
ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ “อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ”
คือ สำรอกปีติ แล้วเข้าตติยฌาน ซึ่งเป็นผู้วางเฉย มีสติ สัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยกาย ที่
พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
๔. จตุตถฌาน สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ
อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธิ จตุตฺถํฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ คือ การละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนนั่นเทียวแล้วเข้าจตุตถฌาน ซึ่งไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่
อุเบกขากับสติและความบริสุทธิ์ของจิตเท่านั้น