"การอบรมจิตให้เป็นสมาธิและฌานนั้น ย่อมต้องอาศัยอุบายอันแยบคาย จึงจะสำเร็จง่าย
อุบายอันแยบคายนั้น ท่านเรียกว่า กรรมฐาน ท่านแยกไว้เป็น 2 ประเภท คือ สมถกรรมฐาน
ประเภทหนึ่ง วิปัสสนากรรมฐาน ประเภทหนึ่ง
แต่ในที่นี้ จะกล่าวเฉพาะแต่ สมถกรรมฐาน ซึ่งเป็นประเภทอบรมจิตใจให้เป็นสมาธิและฌาน
เท่านั้นการอบรมจิตใจให้เป็นสมาธิและฌาน ตามหลักสมถกรรมฐานจัดเป็นเหตุเบื้องต้นของ
ฌาน จะข้ามเลยไปเสียมิได้ จำเป็นต้องใช้สมถกรรมฐานข้อหนึ่งหรือหลายข้อ เป็นเครื่อง
อบรมจิตใจเสมอไป จิตใจจึงจะเป็นสมาธิและฌานได้ดังประสงค์
สมถกรรมฐาน นั้น พระบรมศาสดาตรัสไว้ในที่ต่างๆ โดยปริยายหลายหลาก พระโบราณา
จารย์ประมวลมาไว้ในที่เดียวกัน มีจำนวนถึง ๔๐ ประการ จัดเป็น ๗ หมวด คือ
- กสิณ ๑๐
- อสุภะ ๑๐
- อนุสติ ๑๐
- อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
- จตุธาตุววัตถาน ๑
- พรหมวิหาร ๔
- อรูปกรรมฐาน ๔
มีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไปการที่แสดงอุบายทำความสงบใจไว้มากเช่นนี้ก็เพื่อให้เหมาะ
แก่จริตอัธยาศัยของเวไนย ซึ่งมีจริตอัธยาศัยต่างๆกัน มิได้หมายให้ทุกคนเจริญทั้ง ๔๐
ประการจนครบ
สมถกรรมฐานทั้ง ๗ หมวด นั้น หมวดแรกก็คือหมวดของ กสิณ ๑๐ ส่วนรายละเอียด
และวิธีปฏิบัติ จะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามได้ในตอนต่อไปครับ