คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ ปงฺกูลิกํงคํ สมาทิยามิ
เรางดคหบดีจีวรเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ประเภทของการธุดงค์
๑. ผู้ถืออย่างอุกฤษฏ์ ใช้แต่ผู้ที่ตกอยู่ในป่าช้าเท่านั้น
๒. ผู้ถืออย่างกลาง ย่อมถือเอาผ้าที่ผู้ปรารถนาทำบุญทอดไว้ตามต้นไม้ ด้วยเขาตั้งใจว่า
ภิกษุผู้ผ่านมาเห็นคงจะถือเอา
๓. ผู้ถืออย่างเพลา ย่อมรับแม้ผ้าที่เขาวางถวายแทบเท้า
ความแตกทำลายของธุดงค์ข้อนี้คือ เธอยินดีรับผ้าที่พวกคฤหัสถ์ถวายตามความชอบใจพอใจ
ของตน
อานิสงส์
๑. เกิดมีความปฏิบัติที่สมควรแก่นิสัย ที่รับมาจากอุปัชฌาย์ เมื่อบวชวันแรก
๒. ได้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ (วงศ์ของพระอริยเจ้า)
๓. ไม่ต้องลำบากเพราะการรักษาผ้า
๔. ไม่เป็นผู้มีความเป็นไปเกาะเกี่ยวกับผู้อื่น
๕. ไม่มีความกลัวว่าผู้อื่นจะมาขโมยเอาจีวรไป
๖. ไม่มีตัณหาในการใช้สอยจีวร
๗. มีบริขารเป็นสมณสารูป
๘. มีปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ว่า เป็นของเล็กน้อยด้วย เป็นของหาได้
ง่ายด้วย เป็นของหาโทษมิได้ด้วย
๙. เป็นผู้มักน้อยเป็นต้น อำนวยผล
๑๐. เป็นผู้น่าเลื่อใส
๑๑. สัมมาปฏิบัติเพิ่มพูนขึ้น
๑๒. ทำให้ประชุมชนผู้เกิดในภายหลังถือเอาเป็นแบบปฏิบัติ