จตุตฺถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ
เรางดจีวรผืนที่ ๔ เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือซึ่งไตรจีวรเป็นวัตร
ประเภทของการธุดงค์
๑. ผู้ถืออย่างอุกฤษฏ์ จะไม่ใช้ผ้าผืนที่ ๔ เด็ดขาด (อนุโลมผ้าอังสะ)
๒. ผู้ถืออย่างกลาง จะยืมผ้าผู้อื่นในเวลาอาบน้ำ ก็ควร
๓. ผู้ถืออย่างเพลา จะยืมผ้าจีวรผู้อื่นในเวลาเปียก ก็ควรแต่จะยืมตลอดไปคงไม่ควร
ความแตกทำลายของธุดงค์ข้อนี้ ย่อมแตกขาดเมื่อยินดีจีวรผืนที่ ๔
อานิสงส์
๑. ภิกษุผู้ถือผ้า ๓ ผืน ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรแต่พอรักษากายด้วยความสันโดษนั้น
(ไปข้างไหน) เราถือเอา (จีวรนั้น) ไปได้ดุจนก (พาเอาแต่ปีกบินไป) ฉะนั้น
๒. มีกิจที่จะพึงปรารมภ์น้อย
๓. เลิกการสะสมผ้า
๔. มีความประพฤติเป็นคนเบาดี
๕. ละความละโมบในอดิเรกจีวรได้
๖. ทำความพอใจในผ้าที่เป็นกัปปิยะ
๗. มีความประพฤติขูดเกลากิเลส
๘. มีความมักน้อยเป็นผลอำนวยแก่เธอ