ค้นหาในเว็บไซต์ :

ธุดงควัตร
๔ : ธุดงค์ ๑๓ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

ศ า ส น พิ ธี : ธุดงควัตร
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๔ : ธุดงค์ ๑๓ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร



อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ ปิณฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ
ข้าพเจ้างดอดิเรกลาภเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร


วิธีปฏิบัติ ไม่พึงยินดี ๑๔ อย่าง เหล่านี้คือ

๑. ภัตรที่เขาถวายสงฆ์ทั่วไป
๒. ภัตรที่เขาเจาะจงถวายเฉพาะตัว
๓. ภัตรในที่นิมนต์
๔. ภัตรที่ถวายโดยสลาก
๕. ภัตรถวายเป็นประจำปักษ์
๖. ภัตรถวายประจำวันอุโบสถ
๗. ภัตรถวายประจำวันปฏิบท
๘. ภัตรเพื่อภิกษุอาคันตุกะ
๙. ภัตรเพื่อภิกษุเตรียมเดินทาง
๑๐. ภัตรเพื่อผู้อุปัฏฐากภิกษุอาพาธ
๑๑. ภัตรเพื่อภิกษุอาพาธ
๑๒. ภัตรประจำวิหาร
๑๓. ภัตรประจำบ้านใกล้วัด
๑๔. ภัตรที่เขาถวายโดยวาระ (คือแบ่งเวรกันถวาย)

ประเภทของธุดงค์

๑. ผู้ที่ถืออย่างอุกฤษฎ์ ย่อมรับภักษาที่ทายกนำมา (ถวายจากเรือน) ข้างหน้าก็ได้ จากเรือน ข้างหลังก็ได้ ยืนที่หน้าประตูแม้คนอื่น (บ้านอื่นๆ มาขอ) รับบาตรก็ให้ รับภักษาที่เขา นำมาถวายในเวลากลับก็ได้ แต่ (เลิกบิณฑบาต) นั่งแล้วไม่ยอมรับรักษาอีกในวันนั้น แต่ ไม่รับนิมนต์เพื่อฉันวันพรุ่ง
๒. ผู้ถืออย่างกลาง แม้นั่งแล้วก็ยังรับสำหรับวันนั้น แต่ไม่รับเพื่อภัตรในวันรุ่งขึ้น
๓. ผู้ถืออย่างเพลา ย่อมรับนิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งก็ได้ ในวันต่อไปก็ได้

ความแตกทำลายของธุดงค์ข้อนี้คือ ยินดีรับอดิเรกลาภ มีสังฆภัตรเป็นต้น นั้นแล

อานิสงส์

๑. เกิดมีความปฏิบัติที่สมควรแก่นิสัยที่รับมาแต่วันออกอนุศาสน์
๒. ได้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์
๓. ไม่เป็นผู้มีความเป็นไปเกี่ยวเกาะกับผู้อื่น
๔. มีปัจจัยตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ว่า เป็นของเล็กน้อยด้วย เป็นของหา ได้ง่ายด้วย เป็นของหาโทษมิได้ด้วย
๕. ย่ำยีความเกียจคร้านเสียได้
๖. มีอาชีวะบริสุทธิ์
๗. บำเพ็ญเสขิยปฏิบัติ
๘. ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น
๙. ได้ทำความอนุเคราะห์ผู้อื่น
๑๐. ละมานะเสียได้
๑๑. ป้องกันตัณหาในการติดรสเสียได้
๑๒. ไม่ต้องอาบัติเพราะคุณโภชนสิกขาบท ปรับปรโภชนสิกขาบทและจาริตตสิกขาบท
๑๓. ความประพฤติสมควรแก่ธุตธรรมทั้งหลาย มีความมักน้อยเป็นต้น
๑๔. สัมมาปฏิบัติเพิ่มพูน
๑๕. ได้อนุเคราะห์ประชุมชนผู้เกิดในภายหลัง




หัวข้อย่อย + ธุดงควัตร

อุปสมบทวิธีและการรักษาอุโบสถศีล



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย