"อุเบกขาต้องมีปัญญา"
" ..
"คนที่จะวางเฉยได้ต้องมีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา" พิจารณาถึงบุญกรรมบาปเวร บุญวาสนาบารมีของมนุษย์สัตว์ ทั่วไปว่า
"มนุษย์สัตว์ทั้งหลายเกิดมามีกรรมเป็นของของตน" ตนนั่นแหละเป็นผู้ได้รับผลของกรรม คนอื่นจะรับแทนไม่ได้ คนอื่นเป็นแต่ผู้ช่วยเมตตาแนะนำและตักเตือนให้เขาเว้นจากความชั่ว
"เมื่อเขาไม่ได้ทำกรรมชั่ว เขาก็ไม่เดือดร้อน" เมื่อเขาไม่ทำกรรมชั่วและไม่เดือดร้อนแล้ว ใจของเขาก็สบาย เป็นอุเบกขา เป็นความดีของเขาที่ทำตามคำสอนของเรา
"คราวนี้เมื่อเราสอนเขาแล้ว เขาไม่ทำตามคำสอนของเรา" จนกระทั่งเขาทำความผิด ได้รับโทษนานาประการ
เราก็พิจารณาเช่นนั้นเหมือนกันว่า
"น้ำขี้โคลนมองไม่เห็นตัวปลาฉันใด คนที่ทำกรรมกิเลสมากไม่มีปัญญา ใครจะตักเตือนชี้ เหตุผลให้ฟังสักเท่าใด ๆ ก็ย่อมรู้ตามไม่ได้" เอาแต่ใจของตัวถ่ายเดียว เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วใจก็วางเฉยได้ .. "
"อัปปมัญญา ๔"
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี