"ความประมาทในการพูด"
" .. มหาบุรุษนั้นมีคำกล่าวถึงไว้ว่า
"จะรอบคอบระมัดระวังมากในการพูด" จนถึงการฝึกการพูดกับตนเองก่อนจะพูดกับผู้อื่น คำใดประโยคใดเรื่องใดที่จะพูดออกไป แม้ให้ผลเป็นความไม่ดีงามแก่ตนเอง เช่น
"พูดออกไปแล้วพ่ายแพ้ต่อคำพูดของผู้อื่น จะไม่พูดออกไป" นั่นเป็นการพูดออกไปแล้วเสียกับผู้พูด
"ความเสียหายเช่นนั้นเมื่อไม่ร้ายแรงหนักหนา ก็พอจะไม่ถือว่าผู้พูดประมาท"
แต่ถ้าเป็นความเสียหายที่ใหญ่ยิ่ง เช่น
"เป็นความเสียหายถึงส่วนรวม" เช่น
"ทำให้เกิดการแตกสามัคคี เช่นนี้ การพูดนั้นนับว่า เป็นการพูดที่ผู้พูดประมาทมาก"
"การก่อให้แตกความสามัคคี จะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ถือว่าผู้พูดเป็นผู้ตั้งอยู่ในความประมาท" ก่อโทษให้เกิดแม้เริ่มต้นที่ส่วนน้อย แต่ย่อมขยายใหญ่โตออกไปได้
"ผลเสียหายแม้เริ่มต้นเพียงเล็กน้อยเพียงในวงแคบ แต่ขยายใหญ่ต่อไปได้" ผลไม่ดีที่จะเกิดจากความแตกสามัคคีจะขยายใหญ่ถึงบ้านถึงเมืองได้แน่นอน
"ความประมาทในการพูด จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก เป็นเรื่องใหญ่ได้ ใหญ่เพียงใดก็ได้" .. "
"แสงส่องใจ วันมหาจักรี ๒๕๔๘"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15463