๑.๕ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๑.๕.๑ ปุ้ย แสงฉาย กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “พุทธปฏิภาณ” สรุปได้ว่า ปฏิภาณ
เป็นคุณธรรมสำคัญอย่างหนึ่งต่อคนทั้งหลาย ทุกชั้น ทุกเพศ ทุกวัย ยิ่งผู้เป็นใหญ่ผู้เป็นหัวหน้า
ผู้สอนศาสนา ผู้เป็นทูต ผู้เป็นนักการเมือง หรือผู้เป็นนักเทศน์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีปฏิภาณเป็น
คุณสมบัติสำคัญยิ่ง พระพุทธเจ้าของเราได้ทรงล้างวาทะ อุปวาทะของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย
ที่เป็นเสี้ยนหนาม หลักตอต่อพระพุทธศาสนามาโดยชอบธรรมแล้วเป็นอันมาก และทำให้เห็น
ว่าผู้ที่เลื่อมใสนับถือพระพุทธศาสนา ด้วยยอมจำนนต่อปฏิภาณของพระพุทธเจ้านั้นมีมาก
พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของเรา และพระสาวกของพระพุทธเจ้านั้น
ล้วนแต่เป็นผู้มีปฏิภาณดีทั้งนั้น ไม่มีศาสดาใด หรือสาวกของศาสดาใดในโลกจะเสมอเหมือน
หรือไล่เลี่ยกันเลย จะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนาถูกซักฟอกมาจนบริสุทธิ์สิ้นเชิงแล้ว เป็นพระ
ศาสนาที่เปิดโอกาสให้มีผู้รู้ซักไซ้ไล่เลียงมาแล้ว ไม่ใช่เป็นศาสนาที่ไม่มีผู้รู้ได้ซักไซ้ไล่
เลียงเลย ส่วนผลอันเกิดจากความคิด ความเห็น ความเลื่อมใสก็จักมีเป็นอเนกอนันต์สุดที่จะ
พรรณนา ๖
๑.๕.๒ พระกิตติศักดิ์ ยโสธโร (แก้วเหลา) กล่าวไว้ในงานวิจัยเรื่อง “การศึกษา
บทบาทของพระสารีบุตรเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” สรุปได้ว่า พระสารีบุตรเป็น
พระสาวกองค์หนึ่งที่ยึดมั่นอยู่ในหลักการเผยแผ่ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทานให้พระสาวก
ยึดถือปฏิบัติ จึงทำให้ท่านมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการรักษา
พระสัทธรรมให้คงอยู่ จนได้รับตำแหน่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มี
ปัญญาเลิศ บทบาทของพระสารีบุตรที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์ชั้นรอง ๆ
ในประเด็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนามีความ
เจริญรุ่งเรือง และมั่นคงสืบต่อมาได้จนถึงปัจจุบันนี้
๑.๕.๓ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “พุทธวิธีในการ
สอน” สรุปได้ว่า วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า มีหลายแบบหลายอย่าง วิธีการตอบปัญหา
ก็เป็นอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะผู้ที่มาถามปัญหานั้น นอกจากผู้ที่มีความสงสัยข้องใจใน
ธรรมต่าง ๆ แล้ว โดยมากเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่น บ้างก็มาถามเพื่อต้องการรู้คำสอนทาง
ฝ่ายพระพุทธศาสนา หรือเทียบเคียงกับคำสอนในลัทธิของตน บ้างก็มาถามเพื่อลองภูมิ
บ้างก็เตรียมมาถามเพื่อข่มปราบให้อับจน หรือให้ได้รับความอับอาย ในการตอบพระพุทธองค์
ทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหาและใช้วิธีตอบให้เหมาะกัน ๘
๑.๕.๔ พระมหาวิสิษฐ์ ปญฺญาวฑฺฒโน (กฤษวี) กล่าวไว้ในงานวิจัยเรื่อง
“การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอุปมากถาในมิลินทปัญหา” สรุปได้ว่า คัมภีร์มิลินทปัญหา
เป็นเรื่องราวการโต้ตอบปัญหาระหว่าง พระเจ้ามิลินท์ผู้ถามกับพระนาคเสนผู้ตอบ เป็นคัมภีร์
ที่สำคัญยิ่งคัมภีร์หนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท พระอรรถกถาจารย์ในลังกาโดยเฉพาะ
พระพุทธโฆษาจารย์มักอ้างอิงข้อคิดเห็นในคัมภีร์นี้เป็นหลักฐาน ยืนยันการตีความหมาย
พุทธธรรมในงานของท่าน
คัมภีร์มิลินทปัญหา มีคุณค่าทั้งในด้านเนื้อหาสาระที่สอดคล้องตามบาลี
พระไตรปิฎก และในด้านอรรถรสแห่งวรรณคดีบาลีเป็นคัมภีร์พุทธปรัชญาที่มีลีลาการดำเนิน
เรื่องที่ชวนติดตาม เช่นเดียวกับบทสนทนาของพลาโต้(Dialogues of Plato) ลักษณะเด่น
ของคัมภีร์ คือการใช้อุปมาอุปไมย ปัญหาที่ไม่ชัดเจนก็ทำให้ชัดเจน สิ่งที่เป็นนามธรรม
ก็สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน ๙
๑.๕.๕ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัย
พระพุทธศาสนา” สรุปได้ว่า พระนาคเสนเมื่อสมัยอยู่ครองฆราวาสวิสัยมีสติปัญญาเฉียบ
แหลม เจรจาคมคาย มีปฏิภาณโวหารเป็นเลิศ ศึกษาไตรเพทจนแตกฉานสามารถเป็น
ครูบาอาจารย์ได้อย่างสบาย นอกจากนี้แล้วยังมีความรอบรู้ในศาสตร์ร่วมสมัยอีกมากมาย
หลายสาขา ต่อมาเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจนได้เข้ามาบวชเป็นภิกษุโดยการ
ชักชวนของพระโรหณเถระ บวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ในสำนักของพระอัสสคุต
เถระ เมื่อมีความแตกฉานในพระไตรปิฎกจนเป็นที่พอใจของตัวท่านเองและครูบาอาจารย์
แล้วก็ได้ย้ายมาพำนักที่วัดสังเขยยะในเมืองสาคละ ซึ่ง ณ อารามแห่งนี้เองที่ท่านได้พบกับ
พระยามิลินท์หรือกษัตริย์เมนันเดอร์ผู้ลือนามเป็นที่เกรงขามไปทั้งชมพูทวีป ตำนานแห่งการ
สัประยุทธ์ทางปัญญาที่พระปิฏกจุฬาภัยนำมาร้อยเรียงเป็นมิลินทปัญหาเริ่มต้นขึ้นที่อาราม
อันเป็นที่พำนักของท่านแห่งนี้เอง ๑๐
๑.๕.๖ พระมหาสนธ์ สนฺติกโร (เกษมญาติ) กล่าวไว้ในงานวิจัยเรื่อง “การศึกษา
บทบาทของพระมหากัจจายนเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” สรุปได้ว่า พระมหากัจจายน
เถระ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านมีปฏิภาณไหวพริบชี้แจง
เหตุผลให้หายข้องใจได้ เช่น การตอบปัญหาแก่พราหมณ์อารามทัณฑะ โดยพราหมณ์ได้ถาม
ถึงเหตุปัจจัยความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล ท่านตอบว่า เหตุปัจจัยที่ทำให้บุคคลมีความ
ขัดแย้งกัน เพราะยึดมั่นในกามราคะ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ และมีความกำหนัดยินดี
ในกามราคะ เป็นต้น พราหมณ์อารามทัณฑะหายข้อข้องใจเกิดความเลื่อมใส จึงหันมานับถือ
พระพุทธศาสนา ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระมหากัจจายนเถระนั้น มีลักษณะเด่นกว่าสาวก
รูปอื่น ๆ คือ ได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าให้ไปประกาศพระพุทธศาสนาแทนพระองค์
เพราะเห็นว่าท่านมีความรู้ ความสามารถในการใช้โวหาร สามารถพูดและแสดงธรรมให้
ประชาชนเกิดความเลื่อมใสและเข้าใจเนื้อความได้ง่าย จึงทำให้แคว้นอวันตีเป็นศูนย์กลาง
พระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่งในสมัยนั้น ๑๑
๑.๕.๗ วศิน อินทสระ กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “อธิบายมิลินทปัญหา” สรุปได้ว่า
พระนาคเสนเป็นพระอรหันต์ ที่ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในอรรถ
ความแตกฉานในธรรม ความแตกฉานในภาษา และความแตกฉานในปฏิภาณ ได้โต้ตอบ
ปัญหาพระยามิลินท์ด้วยความฉลาดรอบรู้และแหลมคม มีอุปมาอุปไมยอันเหมาะเจาะ
หาที่เปรียบได้ยาก ทำ ให้พระยามิลินท์ได้ทรงทราบถึงสิ่งที่เป็นสาระแก่นสาร
ในพระพุทธศาสนา หมดความสงสัยในพระรัตนตรัยอย่างสิ้นเชิง ๑๒
ที่มา : พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, พระมหาสนธ์ สนฺติกโร (เกษมญาติ),