."นักปฏิบัติลังเลใจ" (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

 วิริยะ12  

.
 "นักปฏิบัติลังเลใจ"

" .. ปัจจุบันนี้ศาสนิกชนผู้สนใจในการปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนา "มีความงวยงง สงสัยอย่างยิ่งในแนวทางปฏิบัติ" โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นสนใจ เนื่องจากคณจารย์ฝ่ายวิปัสสนา แนะแนวปฏิบัติไม่ตรงกัน

ยิ่งกว่านั้น แทนที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจโดยความเป็นธรรม ก็กลับทำเหมือนไม่อยากจะยอมรับคณาจารย์สำนักอื่นว่าเป็นการถูกต้อง "หรือถึงขั้นดูหมิ่นสำนักอื่นไปแล้วก็เคยมีไม่น้อยฯ"

ดังนั้น "เมื่อมีผู้สงสัยทำนองนี้มากและเรียนถามหลวงปู่อยู่บ่อย ๆ" จึงได้ยินหลวงปู่อธิบายให้ฟังอยู่เสมอว่า

"การเริ่มต้นวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว" ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำสำหรับบริกรรม เช่น "พุทโธ สัมมาอรหัง" เป็นต้น

เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน "เมื่อจิตรวม สงบแล้ว คำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง" แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือ มีวิมุติเป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง .. "

พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์  

5,559







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย