"ราคะ เหมือนน้ำไหลลงไปสู่ที่ต่ำ"
" ..
"ราคะ มันเข้ามาย้อมใจที่ใสอยู่แล้วให้ขุ่นมัว เห็นรูปที่ชั่วช้าสกปรกด้วยอสุภนานาประการตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่กลับเห็นเป็นสิ่งที่สวยงามสะอาด น่ารักน่าใคร่ น่าชม" นี่ก็เพราะใจเป็นของเศร้าหมอง
"ขุ่นมัวด้วยราคะกิเลสเข้ามาย้อม" ย่อมให้เห็นเป็นไป ตามอำนาจของมัน
สมัยใด
"ถ้าราคะกิเลส ไม่เข้าไปย้อมใจให้เศร้าหมองขุ่นมัวแล้ว" ถึงรูปเก่านั่นแหละที่ว่าสวยสะอาดน่ารักน่าใคร่
"เห็นเข้าแล้วจะเป็นรูปธรรมดา ๆ นี่เอง เพราะเราไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของราคะ" ถึงแม้จะเห็นรูปนั้น เป็นของสวยสะอาดตามธรรมชาติ ของวิบากตกแต่งมาก็ตาม
"แต่ก็ไม่ถึงจะให้เข้าไปยึดเอาว่า เป็นของน่ารัก น่าใคร่ อันเป็นไฟสุมหัวใจให้เร่าร้อน ด้วยความอยากได้มาเป็นของตัว"
นี่ว่า
"ถึงโทษของราคะที่เกิดจากทางรูปอย่างเดียว" พอเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์
"ส่วนที่เกิดทางเสียง กลิ่น รส สัมผัส ขอให้ผู้มีปัญญาพิจารณาโดยนัยเดียวกันนี้"
"ราคะ ท่านอุปมาเหมือนกระแสน้ำไหลลงไปสู่ที่ต่ำ ที่เลวทรามตลอดกาล ไม่มีเวลาหยุดอยู่คงที่" ฉะนั้น .."
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
http://tesray.com/three-dhamma-forces/