(๔) กรรม ๒ (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตามทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม — action; deed) ๑. อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ — unwholesome action; evil deed; bad deed) ๒. กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ —wholesome action; good deed) A.I.104, 263; It.25,55 องฺ. ติก. ๒๐/๔๔๕/๑๓๑,๕๕๑/๓๓๘; ขุ.อิติ.๒๕/๒๐๘/๒๔๘; ๒๔๒/๒๗๒ (*) กรรมฐาน ๒ ดู (๓๖) ภาวนา ๒. (๕) กาม ๒ (ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา — sensuality) ๑. กิเลสกาม (กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส — subjective sensuality) ๒. วัตถุกาม (วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่น่าปรารถนา, สิ่งที่อยากได้, กามคุณ —objective sensuality) Nd12 ขุ. มหา. ๒๙/๒/๑ (๖) กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม —sensual pleasures; sensual objects) ๑. รูปะ (รูป — form; visible object) ๒. สัททะ (เสียง — sound) ๓. คันธะ (กลิ่น — smell; odor) ๔. รสะ (รส — taste) ๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย — touch; tangible object) ๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (agreeable, delightful, pleasurable) เรียกว่า กามคุณ M.I. 85,173 ม.มู. ๑๒/๑๙๗/๑๖๘; ๓๒๗/๓๓๓. (๗) ฌาน ๒ (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ — meditation; scrutiny; examination) ๑. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ — object-scrutinizing Jhana) ๒. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล — characteristic-examining Jhana)
ฌานที่แบ่งเป็น
๒ อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา. AA. II. 41; PsA.281; DhsA. 167. องฺ.อ. ๑/๕๓๖; ปฏิสํ.อ. ๒๒๑; สงฺคณี.อ. ๒๗๓ (๘) ฌาน ๒ ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ — absorption) ๑. รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร — Jhanas of the Fine-Material Sphere) ๒. อรูปฌาน ๔ (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร —Jhanas of the Immaterial Sphere) คำว่า รูปฌาน ก็ดี อรูปฌาน ก็ดี เป็นคำสมัยหลัง เดิมเรียกเพียงว่า ฌาน และ อารุปป์. D.III. 222; Dhs. 56. ที.ปา. ๑๑/๒๓๒/๒๓๓; อภิ.สํ. ๓๔/๑๙๒/๗๘. (๙) ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔ (the Four Jhanas) ๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ — the First Absorption) มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒ — the Second Absorption) มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา ๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ — the Third Absorption) มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา ๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ — the Fourth Absorption) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง) M.I.40 ม.มู. ๑๒/๑๐๒/๗๒ (๑๐) ฌาน ๘ = รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน ๔ (อรูปฌาน ๔ ดู (๑๙๙) อรูป ๔) (๑๑) ทาน ๒๑ (การให้, การเสียสละ, การบริจาค — gift; giving; charity; liberality) ๑. อามิสทาน (การให้สิ่งของ — material gift; carnal gift) ๒. ธรรมทาน (การให้ธรรม, การให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน — gift of Truth; spiritual gift) ใน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ อามิสทานช่วยค้ำจุนชีวิตทำให้เขามีที่พึ่งอาศัย แต่ธรรมทานช่วยให้เขารู้จักพึ่งตนเองได้ต่อไป เมื่อให้อามิสทาน พึงให้ธรรมทานด้วย. A.I.90. องฺ.ทุก. ๒๐/๓๘๖/๑๑๔. (๑๒) ทาน ๒๒ (การให้ — gift; giving; alms-giving; offering; charity; liberality; generosity; benevolence; donation; benefaction) ๑. ปาฏิบุคลิกทาน (การให้จำเพาะบุคคล, ทานที่ให้เจาะจงตัวบุคคลหรือให้เฉพาะแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง —offering to a particular person; a gift designated to a particular person) ๒. สังฆทาน (การให้แก่สงฆ์, ทานที่ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม หรือให้แก่บุคคล เช่น พระภิกษุหรือภิกษุณีอย่างเป็นกลางๆ ในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์ โดยอุทิศต่อสงฆ์ ไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง — offering to the Sangha; a gift dedicated to the Order or to the community of monks as a whole) ในบาลีเดิม เรียก ปาฏิบุคลิกทาน ว่า “ปาฏิปุคฺคลิกา ทกฺขิณา” (ขอถวายหรือของให้ที่จำเพาะบุคคล) และเรียกสังฆทาน ว่า “สงฺฆคตา ทกฺขิณา” (ขอถวายหรือของให้ที่ถึงในสงฆ์) ในทาน ๒ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญสังฆทานว่าเป็นเลิศ มีผลมากที่สุด ดังพุทธพจน์ว่า “เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่าของที่ให้แก่สงฆ์ไม่ว่าโดยปริยายใด ๆ” และได้ตรัสชักชวนให้ให้สังฆทาน M.III. 254-6; A.III. 392 ม.อุ. ๑๔/๗๑๐-๓/๔๕๙-๔๖๑; อ้างใน มงฺคล. ๒/๑๖; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๓๐/๔๓๙ (๑๓) ทิฏฐิ ๒ (ความเห็น, ความเห็นผิด — view; false view) ๑. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง, ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป - eternalism) ๒. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป - annihilationism) S.III.97. สํ.ข. ๑๗/๑๗๙-๑๘๐/๑๒๐. (๑๔) ทิฏฐิ ๓ (ความเห็น, ความเห็นผิด — view; false view) ๑. อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีเหตุ, เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย — view of the inefficacy of action) ๒. อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี, เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย — view of non-causality) ๓. นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี, เห็นว่าไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้ — nihilistic view; nihilism) M.I.404. ม.ม. ๑๓/๑๐๕/๑๑๑. (๑๕) ที่สุด หรือ อันตะ ๒ (ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง คือมัชฌิมาปฏิปทา — the two extremes) ๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข — the extreme of sensual indulgence; extreme hedonism) ๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง, การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน — the extreme of self-mortification; extreme asceticism) Vin.I.10; S.V. 420 วินย. ๔/๑๓/๑๘; สํ.ม. ๑๙/๑๖๖๔/๕๒๘. (๑๖) ทุกข์ ๒ (สภาพที่ทนได้ยาก, ความทุกข์, ความไม่สบาย — pain; suffering; discomfort) ๑. กายิกทุกข์ (ทุกข์ทางกาย — bodily pain; physical suffering) ๒. เจตสิกทุกข์ (ทุกข์ทางใจ, โทมนัส — mental pain; mental suffering) ดู [๗๘] ทุกขตา ๓ ด้วย. D.II.306; S.V.204 ที.ม. 10/295/342; สํ.ม. ๑๙/๙๔๒, ๙๔๔/๒๘๐. (๑๗) เทศนา ๒๑ (การแสดงธรรม, การชี้แจงแสดงความ — preaching; exposition) ๑. บุคคลาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างคน, แสดงโดยยกคนขึ้นอ้าง, ยกคนเป็นหลักฐานในการอธิบาย — exposition in terms of persons) ๒. ธรรมาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีธรรมเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างธรรม, แสดงโดยยกหลักหรือตัวสภาวะขึ้นอ้าง —exposition in terms of ideas) เทศนา ๒ นี้ ท่านสรุปมาจากเทศนา ๔ ในคัมภีร์ที่อ้างไว้ PsA.449. ปฏิสํ.อ. ๗๗. (๑๘) เทศนา ๒๒ (การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า, การชี้แจงแสดงความ — preaching: exposition; teaching) ๑. สมมติเทศนา (เทศนาโดยสมมต, แสดงตามความหมายที่รู้ร่วมกัน หรือตกลงยอมรับกันของชาวโลก เช่นว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ เทวดา เป็นต้น — conventional teaching) ๒. ปรมัตถเทศนา (เทศนาโดยปรมัตถ์, แสดงตามความหมายของสภาวธรรมแท้ ๆ เช่นว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น — absolute teaching) ผู้ฟังจะเข้าใจความ
สำเร็จประโยชน์ด้วยเทศนาอย่างใด ก็ทรงแสดงอย่างนั้น AA.I.94; etc องฺ.อ. ๑/๙๙, ฯลฯ (๑๙) ธรรม ๒๑ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ —things; states; phenomena) ๑. รูปธรรม (สภาวะอันเป็นรูป, สิ่งที่มีรูป, ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด —materiality; corporeality) ๒. อรูปธรรม (สภาวะมิใช่รูป, สิ่งที่ไม่มีรูป, ได้แก่นามขันธ์ 4 และนิพพาน —immateriality; incorporeality) ในบาลีที่มา ท่านเรียก รูปิโน ธมฺมา และ อรูปิโน ธมฺมา Dhs. 193, 245 อภิ.สํ. 34/705/279; 910/355. (๒๐) ธรรม ๒๒ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ — things; states; phenomena) ๑. โลกิยธรรม (ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่เป็นสาสวะทั้งหมด —mundane states) ๒. โลกุตตรธรรม (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก ได้แก่มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ — supramundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม ๓๗: ขุ.ปฏิ.๖๒๐; Ps.II.166) Dhs.193, 245. อภิ.สํ. ๓๔/๗๐๖/๒๗๙; ๙๑๑/๓๕๕. (๒๑) ธรรม ๒๓ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ — thing; states; phenomena) ๑. สังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด — conditioned things; compounded things) ๒. อสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือ นิพพาน — the Unconditioned, i.e. Nibbana) Dhs.193, 244. อภิ.สํ. ๓๔/๗๐๒/๒๗๘; ๙๐๗/๓๕๔. (๒๒) ธรรม ๒๔ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ — thing; states; phenomena) ๑. อุปาทินนธรรม (ธรรมที่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิเข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก และรูปที่เกิดแต่กรรมทั้งหมด — states grasped by craving and false view; grasped states) ๒. อนุปาทินนธรรม (ธรรมที่ไม่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ส่วนนอกนี้ รูปที่มิใช่เกิดแต่กรรม และ โลกุตตรธรรมทั้งหมด —states not grasped by craving and false view; ungrasped states) Dhs. 211, 255 อภิ.สํ. ๓๔/๗๗๙/๓๐๕; ๙๕๕/๓๖๙. (๒๓) ธรรมคุ้มครองโลก ๒ (ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย — virtues that protect the world) ๑. หิริ (ความละอาย, ละอายใจต่อการทำความชั่ว — moral shame; conscience) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว —moral dread) A.I. 51; It. 36. องฺ.ทุก.๒๐/๒๕๕/๖๕5; ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๐/๒๕๗ (๒๔) ธรรมทำให้งาม ๒ (gracing virtues) ๑. ขันติ (ความอดทน, อดได้ทนได้เพื่อบรรลุความดีงามและความมุ่งหมายอันชอบ —patience: forbearance; tolerance) ๒. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม, อัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดเรียบร้อยงดงาม —modesty; meekness) Vin.I.349; A.I.94. วินย.๕/๒๔๔/๓๓๕; องฺ.ทุก. ๒๐/๔๑๐/๑๑๘ [**] ธรรมที่พระพุทธเจ้าเห็นคุณประจักษ์ ๒ ดู (๖๔) อุปัญญาตธรรม ๒ [**] ธรรมเป็นโลกบาล ๒ ดู [๒๓] ธรรมคุ้มครองโลก ๒ (๒๕) ธรรมมีอุปการะมาก ๒ (ธรรมที่เกื้อกูลในกิจหรือในการทำความดีทุกอย่าง —virtues of great assistance) ๑. สติ (ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ — mindfulness) ๒. สัมปชัญญะ (ความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง —clear comprehension) D.III.273; A.I.95. ที.ปา.๑๑/๓๗๘/๒๙๐; องฺ.ทุก.๒๐/๔๒๔/๑๑๙ (๒๖) ธุระ ๒ (หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา —Burden; task; business; responsibility in the Dispensation) ๑. คันถธุระ (ธุระฝ่ายคัมภีร์, กิจด้านการเล่าเรียน — burden of study; task of learning) ๒. วิปัสสนาธุระ (ธุระฝ่ายเจริญวิปัสสนา, กิจด้านการบำเพ็ญภาวนา หรือเจริญกรรมฐาน ซึ่งรวมทั้งสมถะด้วย เรียกรวมเข้าในวิปัสสนาโดยฐานเป็นส่วนคลุมยอด —burden of insight development; task of meditation practice) ธุระ ๒ นี้ มาในอรรถกถา DhA.1.7 ธ.อ.๑/๗ (๒๗) นิพพาน ๒ (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ —Nirvana; Nibbana) ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ —Nibbana with the substratum of life remaining) ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ —Nibbana without any substratum of life remaining) หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า ๑. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน — extinction of the defilements) ๒. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน — extinction of the Aggregates) หรือ ๑. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่ ๒. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว It.38. ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๒/๒๕๘. อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า ๑. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ ๒. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ A.IV.379. องฺ.นวก. ๒๓/๒๑๖/๓๙๔. (๒๘) บัญญัติ ๒ และ ๖ (การกำหนดเรียก หรือ สิ่งที่ถูกกำหนดเรียก, การกำหนดตั้งหรือตราไว้ให้เป็นที่รู้กัน — designation; term; concept) ๑. ปัญญาปิยบัญญัติ หรือ อรรถบัญญัติ (บัญญัติในแง่เป็นสิ่งอันพึงให้รู้กัน, บัญญัติที่เป็นความหมาย, บัญญัติคือความหมายอันพึงกำหนดเรียก, ตัวความหมายที่จะพึงถูกตั้งชื่อเรียก — the Pannatti to be made Known or conveyed; concept) ๒. ปัญญาปนบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ (บัญญัติในแง่เป็นเครื่องให้รู้กัน, บัญญัติที่เป็นชื่อ, บัญญัติที่เป็นศัพท์, ชื่อที่ตั้งขึ้นใช้เรียก — the Pannatti that makes Known or conveys; term; designation) ปัญญาปิยบัญญัติ เรียกเต็มว่า ปัญญาปิยัตตา บัญญัติ, ปัญญาปนบัญญัติ เรียกเต็มว่า ปัญญาปนโต บัญญัติ ปัญญาปนบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ แยกย่อยออกเป็น ๖ อย่าง คือ ๑. วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มีอยู่ เช่น รูป เวทนา สมาธิ เป็นต้น — designation of reality; real concept) ๒. อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่ เช่น ม้า แมว รถ นายแดง เป็นต้น — designation of an unreality; unreal concept) ๓. วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น คนดี นักฌาน ซึ่งความจริงมีแต่ดี คือภาวะที่เป็นกุศล และฌาน แต่คนไม่มี เป็นต้น — designation of an unreality by means of a reality; unreal concept by means of a real concept) ๔. อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น เสียงหญิง ซึ่งความจริง หญิงไม่มี มีแต่เสียง เป็นต้น — designation of a reality by means of an unreality; real concept by means of an unreal concept) ๕. วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น จักขุสัมผัส โสตวิญญาณ เป็นต้น —designation of a reality by means of a reality; real concept by means of a real concept) ๖. อวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น ราชโอรส ลูกเศรษฐี เป็นต้น — designation of an unreality by means of an unreality; unreal concept by means of an unreal concept) Pug.A.171;COMP.198 ปญจ.อ. ๓๒; สงฺคห. ๔๙; สงฺคห.ฏีกา ๒๕๓ (๒๙) บุคคลหาได้ยาก ๒ (rare persons) ๑. บุพการี (ผู้ทำความดีหรือทำประโยชน์ให้แต่ต้นโดยไม่ต้องคอยคิดถึงผลตอบแทน — one who is first to do a favor; previous benefactor) ๒. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน, ผู้รู้จักคุณค่าแห่งการกระทำดีของผู้อื่น และแสดงออกเพื่อบูชาความดีนั้น — one who is grateful and repays the done favor; grateful person) A.I.87 องฺ.ทุก. ๒๐/๓๖๔/๑๐๘. (๓๐) บูชา ๒ (worship; acts of worship; honoring) ๑. อามิสบูชา (บูชาด้วยสิ่งของ —worship or honoring with material thing; material worship) ๒. ปฏิบัติบูชา (บูชาด้วยการปฏิบัติ — worship or honoring with practice; practical worship) ในบาลีที่มา ปฏิบัติบูชา เป็น ธรรมบูชา A.I.93; Vbh.360. องฺ.ทุก. ๒๐/๓๙๗/๑๑๖. อภิ.วิ. ๓๕/๙๒๑/๔๘๗ (๓๑) ปฏิสันถาร ๒ (การต้อนรับ, การรับรอง, การทักทายปราศรัย - hospitality; welcome; greeting) ๑. อามิสปฏิสันถาร (ปฏิสันถารด้วยสิ่งของ - worldly hospitality; material or carnal greeting) ๒. ธรรมปฏิสันถาร (ปฏิสันถารด้วยธรรมหรือโดยธรรม - doctrinal hospitality; spiritual greeting) A.I.93; Vbh.360. องฺ.ทุก. 20/397/116. อภิ.วิ. 35/921/487.
(๓๒) ปธาน ๒ (ความเพียร หมายเอาความเพียรที่ทำได้ยาก — hard struggles; painstaking endeavors) ๑. ความเพียรของคฤหัสถ์ ที่จะอำนวยปัจจัย ๔ (แก่บรรพชิต เป็นต้น) — struggle of householders to provide the four requisites. ๒. ความเพียรของบรรพชิตที่จะไถ่ถอนกองกิเลส —struggle of the homeless to renounce all substrates of rebirth. A.I.49; Netti 159. องฺ.ทุก.๒๐/๒๔๘/๖๓. (๓๓) ปริเยสนา ๒ (การแสวงหา — search; quest) ๑. อนริยปริเยสนา (แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ, แสวงหาอย่างอนารยะ คือ ตนเอง เป็นผู้มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และสังกิเลสเป็นธรรมดา ก็ยังใฝ่แสวงหาแต่สิ่งอันมีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และสังกิเลสเป็นธรรมดา — unariyan or ignoble search) ๒. อริยปริเยสนา (แสวงหาอย่างประเสริฐ, แสวงหาอย่างอารยะ คือ ตนเป็นผู้มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และสังกิเลสเป็นธรรมดา แต่รู้จักโทษข้อบกพร่องของสิ่งที่มีสภาพเช่นนั้นแล้ว ใฝ่แสวงธรรมอันเกษม คือ นิพพาน อันไม่มีสภาพเช่นนั้น — ariyan or noble search) สองอย่างนี้ เทียบได้กับ อามิสปริเยสนา และ ธรรมปริเยสนา ที่ตรัสไว้ใน อังคุตตรนิกาย; แต่สำหรับคนสามัญ อาจารย์ภายหลังอธิบายว่า ข้อแรกหมายถึงมิจฉาอาชีวะ ข้อหลังหมายถึงสัมมาอาชีวะ ดังนี้ก็มี. M.I.161; A.I.93. ม.มู. ๑๒/๓๑๓/๓๑๔; องฺ.ทุกฺ. ๒๐/๓๙๙/๑๑๖. (๓๔) ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง : sources or conditions for the arising of right view) ๑. ปรโตโมสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร : another’ s utterance; inducement by others; hearing or learning from others) ๒. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection) ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ (๑) และ (๒) นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ ๑ ในที่นี้ใช้คำกว้าง ๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้. M.I.294; A.I.87. ม.มู.๑๒/๔๙๗/๕๓๙; องฺ.ทุก. ๒๐/๓๗๑/๑๑๐. (๓๕) ปาพจน์ ๒ (วจนะอันเป็นประธาน, พุทธพจน์หลัก, คำสอนหลักใหญ่ : fundamental text; fundamental teaching) ๑. ธรรม (คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ และแนะนำหลักความดีที่ควรประพฤติ : the Doctrine) ๒. วินัย (ข้อบัญญัติที่วางไว้เป็นหลักกำกับความประพฤติให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอกัน : the Discipline) ดู (๗๔) ไตรปิฎกด้วย. D.II.154. ที.ม.๑๐/๑๔๑/๑๗๘ (**] พุทธคุณ ๒ ดู (๒๙๒) พุทธคุณ ๒ [**] พุทธคุณ ๒ ดู (๒๙๓) พุทธคุณ ๓ [**] ไพบูลย์ ๒ ดู (๔๔) เวปุลละ ๒ [๓๖] ภาวนา ๒ (การเจริญ, การทำให้เกิดให้มีขึ้น, การฝึกอบรมจิตใจ : mental development) ๑. สมถภาวนา (การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ, การฝึกสมาธิ : tranquillity development) ๒. วิปัสสนาภาวนา (การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง, การเจริญปัญญา : insight development) สองอย่างนี้ ในบาลีที่มาท่านเรียกว่า ภาเวตัพพธรรม และ วิชชาภาคิยธรรม. ในคัมภีร์สมัยหลัง บางทีเรียกว่า กรรมฐาน (อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งงานเจริญภาวนา, ที่ตั้งแห่งงานทำความเพียรฝึกอบรมจิต, วิธีฝึกอบรมจิต — stations of mental exercises; mental exercise; สังคห.๕๑ ; Comp. 202) D.III.273; A.I. 60. ที.ปา. ๑๑/๓๗๙/๒๙๐; องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๕/๗๗. (๓๗) ภาวนา ๔ (การเจริญ, การทำให้เป็นให้มีขึ้น, การฝึกอบรม, การพัฒนา : cultivation; training; development) ๑. กายภาวนา (การเจริญกาย, พัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ, การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ : physical development) ๒. สีลภาวนา (การเจริญศีล, พัฒนาความประพฤติ, การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน : moral development) ๓. จิตภาวนา (การเจริญจิต, พัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทนมีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น : cultivation of the heart; emotional development) ๔. ปัญญาภาวนา (การเจริญปัญญา, พัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา : cultivation of wisdom; intellectual development) ในบาลีที่มา ท่านแสดงภาวนา ๔ นี้ ในรูปที่เป็นคุณบทของบุคคล จึงเป็น ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต ภาวิตปัญญา (ผู้ได้เจริญกาย ศีล จิต และปัญญาแล้ว) บุคคลที่มีคุณสมบัติชุดนี้ครบถ้วนย่อมเป็นพระอรหันต์ A.III.106 องฺ.ปญจก. ๒๒/๗๙/๑๒๑ (๓๘) รูป ๒ (สภาวะที่แปรปรวนแตกสลายเพราะปัจจัยต่าง ๆ อันขัดแย้ง, ร่างกายและส่วนประกอบฝ่ายวัตถุพร้อมทั้งพฤติกรรมและคุณสมบัติของมัน, ส่วนที่เป็นร่างกับทั้งคุณและอาการ : corporeality; materiality; matter) ๑. มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ (สภาวะอันปรากฏได้เป็นใหญ่ ๆ โต ๆ หรือเป็นต่าง ๆ ได้มากมาย, รูปที่มีอยู่โดยสภาวะ, รูปต้นเดิม ได้แก่ ธาตุ ๔ : primary elements) ๒. อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป ๒๔ (รูปอาศัย, รูปที่เป็นไปโดยอาศัยมหาภูต, คุณและอาการแห่งมหาภูต : derivative materiality) M.II.262; Ps.I.183 ม.อุ. ๑๔/๘๓/๗๕; ขุ.ปฏิ.๓๑/๔๐๓/๒๗๕.
๑. มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ (รูปใหญ่, รูปเดิม : primary elements; great essentials) ดู (๓๙) ๒. อุปาทายรูป ๒๔ (รูปอาศัย, รูปสืบเนื่อง : derived material qualities) ดู (๔๐) Comp.157. สงฺคห.๓๓. (๓๙) มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ : the Four Primary Elements; primary matter) ๑. ปฐวีธาตุ (สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่, สภาพอันเป็นหลักที่ตั้งที่อาศัยแห่งสหชาตรูป เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็ง หรือ ธาตุดิน : element of extension; solid element; earth) ๒. อาโปธาตุ (สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม หรือซ่านไป ขยายขนาด ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว หรือ ธาตุน้ำ : element of cohesion; fluid element; water) ๓. เตโชธาตุ (สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ : element of heat or radiation; heating element; fire) ๔. วาโยธาตุ (สภาวะที่ทำให้สั่นไหวเคลื่อนที่ และค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม : element of vibration or motion; air element; wind) สี่อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธาตุ ๔ D.I.214; Vism. 443; Comp. 154. ที.สี.๙/๓๔๓/๒๗๗; วิสุทธิ.๓/๑๑; สงฺคห.๓๓ (๔๐) อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป ๒๔ (derivative materiality) ก. ปสาทรูป ๕ (รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์: sensitive material qualities) ๑. จักขุ (ตา — the eye) ๒. โสต (หู — the ear) ๓. ฆาน (จมูก — the nose) ๔. ชิวหา ( ลิ้น — the tongue) ๕. กาย ( กาย — the body) ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป ๕ (รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ : material qualities of sense-fields) ๖. รูปะ (รูป — form) ๗. สัททะ (เสียง — sound) ๘. คันธะ (กลิ่น — smell) ๙. รสะ (รส — taste) ๐. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย — tangible objects) ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูต ๓ คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ที่กล่าวแล้วในมหาภูต ค. ภาวรูป ๒ (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ — material qualities of sex) ๑๐. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง — femininity) ๑๑. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย — masculinity) ง. หทยรูป ๑ (รูปคือหทัย — physical basis of mind) ๑๒. หทัยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ — heart-base) จ. ชีวิตรูป ๑ (รูปที่เป็นชีวิต — material qualities of life) ๑๓. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต — life-faculty; vitality; vital force) ฉ. อาหารรูป ๑ (รูปคืออาหาร — material quality of nutrition) ๑๔. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน : edible food; nutriment) ช. ปริจเฉทรูป ๑ (รูปที่กำหนดเทศะ : material quality of delimitation) ๑๕. อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง : space-element) ญ. วิญญัติรูป ๒ (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย : material intimation; gesture) ๑๖. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยกาย : bodily intimation; gesture) ๑๗. วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา : verbal intimation; speech) ฏ. วิการรูป ๕ (รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ : material quality of plasticity or alterability) ๑๘. (รูปัสส) ลหุตา (ความเบา — lightness; agility) ๑๙. (รูปัสส) มุทุตา (ความอ่อนสลวย : elasticity; malleability) ๒๐. (รูปัสส) กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้ : adaptability; wieldiness) ๐. วิญญัติรูป ๒ ไม่นับเพราะซ้ำในข้อ ญ. ฏ. ลักขณรูป ๔ (รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด : material quality of salient features) ๒๑. (รูปัสส) อุปจย (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น : growth; integration) ๒๒. (รูปัสส) สันตติ (ความสืบต่อ : continuity) ๒๓. (รูปัสส) ชรตา (ความทรุดโทรม : decay) ๒๔. (รูปัสส) อนิจจตา (ความปรวนแปรแตกสลาย : impermanence) Dhs. 127; Vism.443; Comp.155 อภิ.สํ.๓๔/๕๐๔/๑๘๕; วิสุทธิ.๓/๑๑; สงฺคห.๓๔ (๔๑) รูป ๒ (สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ : rupa: matter; materiality) ๑. อุปาทินนกรูป (รูปที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่รูปที่เกิดจากกรรม : karmically grasped materiality; clung-to materiality; organic matter) ๒. อนุปาทินนกรูป (รูปที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่รูปที่เกิดจากกรรม : karmically grasped materiality; not-clung-to materiality; inorganic matter) Vbh.14; Vism.450; Comp.159 อภิ.วิ.๓๕/๓๖/๑๙; วิสุทธิ.๓/๒๐; สงฺคห.๓๕. (๔๒) ฤทธิ์ ๒ (อิทธิ คือความสำเร็จ ความรุ่งเรือง : achievement; success; prosperity) ๑. อามิสฤทธิ์ (อามิสเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางวัตถุ : achievement of carnality; material or carnal prosperity) ๒. ธรรมฤทธิ์ (ธรรมเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางธรรม : achievement of righteousness; doctrinal or spiritual prosperity) A.I.93. องฺ.ทุก.๒๐/๔๐๓/๑๑๗. (**) โลกบาลธรรม ๒ ดู (๒๓) ธรรมคุ้มครองโลก ๒ (๔๓) วิมุตติ ๒ (ความหลุดพ้น : deliverance; liberation; freedom) ๑. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ : deliverance of mind; liberation by concentration) ๒. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง : deliverance through insight; liberation through wisdom) A.I.60 องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๖/๗๘ (**) เวทนา ๒ ดู (๑๐๙) เวทนา ๒ (๔๔) เวปุลละ ๒ (ความไพบูลย์ — abundance) ๑. อามิสเวปุลละ (อามิสไพบูลย์, ความไพบูลย์แห่งอามิส — abundance of material things; material abundance) ๒. ธัมมเวปุลละ (ธรรมไพบูลย์, ความไพบูลย์แห่งธรรม — abundance of virtues; doctrinal or spiritual abundance) A.I.93. องฺ. ทุก. ๒๐/๔๐๗/๑๑๗. (๔๕) สมาธิ ๒ (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว : concentration) ๑. อุปจารสมาธิ (สมาธิเฉียด ๆ, สมาธิจวนจะแน่วแน่ : access concentration) ๒. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่, สมาธิแนบสนิท, สมาธิในฌาน — attainment concentration) Vism.85, 371. วิสุทธิ.๑/๑๐๕; ๒/๑๙๔ (๔๖) สมาธิ ๓ (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว : concentration) ๑. ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ — momentary concentration) ๒. อุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่ — access concentration) ๓. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่ — attainment concentration) DhsA.117; Vism.144. สงฺคณี อ.๒๐๗; วิสุทธิ.๑/๘๔. (๔๗) สมาธิ ๓ (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น — concentration) ๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ — concentration on the void) ๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ — concentration on the signless) ๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ : concentration on the desireless or non-hankering) ดู (๑๐๖) วิโมกข์ ๓ D.III.219; A.I.299; Ps.I.49. ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑; องฺ.ติก.๒๐/๕๙๘/๓๘๕; ขุ.ปฏิ.๓๑/๙๒/๗๐. (๔๘) สังขาร ๒ (สภาพที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งขึ้น, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย : conditioned things; compounded things) ๑. อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อุปาทินนธรรม : karmically grasped phenomena) ๒. อนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อนุปาทินนธรรมทั้งหมด เว้นแต่อสังขตธาตุ คือนิพพาน : karmically ungrasped phenomena) ดู (๒๒) ธรรม ๒; (๔๑) รูป ๒; (๑๑๘) สังขาร ๓; (๑๘๒) สังขาร ๔ ด้วย A.A.IV.50 องฺ.อ.๓/๒๒๓; วิภงฺค.อ.๕๙๖ (๔๙) สังคหะ ๒ (การสงเคราะห์ — aid; giving of help or favors; act of aiding or supporting) ๑. อามิสสังคหะ (อามิสสงเคราะห์, สงเคราะห์ด้วยอามิส : supporting with requisites; material aid) ๒. ธัมมสังคหะ (ธรรมสงเคราะห์, สงเคราะห์ด้วยธรรม : aiding by teaching or showing truth; spiritual aid) A.I.91. องฺ.ทุก. ๒๐/๓๙๓/๑๑๕. (๕๐) สัจจะ ๒ (ความจริง : truth) ๑. สมมติสัจจะ (ความจริงโดยสมมุติ, ความจริงที่ถือตามความกำหนดตกลงกันไว้ของชาวโลก เช่นว่า คน สัตว์ โต๊ะ หนังสือ เป็นต้น : conventional truth) ๒. ปรมัตถสัจจะ (ความจริงโดยปรมัตถ์, ความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่นว่า รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น : absolute truth) AA.I.95; KvuA.34 องฺ.อ.๑/๑๐๐; ปญฺจ.อ.๑๕๓,๑๘๒,๒๔๑; ฯลฯ (๕๑) สาสน์ หรือ ศาสนา ๒ (คำสอน : teaching; dispensation) ๑. ปริยัติศาสนา (คำสอนฝ่ายปริยัติ, คำสอนอันจะต้องเล่าเรียนหรือจะต้องช่ำชอง ได้แก่ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ — teaching to be studied or mastered; textual or scriptural teaching; dispensation as text) = (๒๙๐) นวังคสัตถุสาสน์ ๒. ปฏิบัติศาสนา (คำสอนฝ่ายปฏิบัติ, คำสอนที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ สัมมาปฏิปทา อนุโลมปฏิปทา อปัจจนีกปฏิปทา (ปฏิปทาที่ไม่ขัดขวาง) อันวัตถปฏิปทา (ปฏิปทาที่เป็นไปตามความมุ่งหมาย) ธัมมานุธัมมปฏิปทา (ปฏิบัติธรรมอันถูกหลัก) กล่าวคือ การบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ (๑๒๗) ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค สติสัมปชัญญะ (๑๗๙) สติปัฏฐาน ๔ (๑๕๕) สัมมัปปธาน ๔ (๒๐๕) อิทธิบาท ๔ (๑๔๖) อินทรีย์ ๕ (๒๒๐) พละ ๕ (๒๖๖) โพชฌงค์ ๗ (๒๗๘) มรรคมีองค์ ๘ — teaching to be practiced; practical teaching; dispensation as practice) ที่เป็นสำคัญในหมวดนี้ ก็คือ (๓๓๘) โพธิปักขิยธรรม ๓๗. Nd1 143. ขุ.ม.๒๙/๒๓๒/๑๗๕. (๕๒) สุข ๒ (ความสุข — pleasure; happiness) ๑. กายิกสุข (สุขทางกาย — bodily happiness) ๒. เจตสิกสุข (สุขทางใจ — mental happiness) A.I.80. องฺ.ทุก.๒๐/๓๑๕/๑๐๑. (๕๓) สุข ๒ (ความสุข — pleasure; happiness) ๑. สามิสสุข (สุขอิงอามิส, สุขอาศัยเหยื่อล่อ, สุขจากวัตถุคือกามคุณ — carnal or sensual happiness) ๒. นิรามิสสุข (สุขไม่อิงอามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ, สุขปลอดโปร่งเพราะใจสงบ หรือได้รู้แจ้งตามเป็นจริง — happiness independent of material things or sensual desires; spiritual happiness) A.I.80. องฺ.ทุก.๒๐/๓๑๓/๑๐๑. (๕๔) สุทธิ ๒ (ความบริสุทธิ์, ความสะอาดหมดจด — purity) ๑. ปริยายสุทธิ (ความบริสุทธิ์บางส่วน, หมดจดในบางแง่บางด้าน ได้แก่ ความบริสุทธิ์ของปุถุชนจนถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่ครองตนบริสุทธิ์ด้วยข้อปฏิบัติหรือธรรมที่ตนเข้าถึงบางอย่าง แต่ยังกิจในการละและเจริญซึ่งจะต้องทำต่อไปอีก — partial purity) ๒. นิปปริยายสุทธิ (ความบริสุทธิ์สิ้นเชิง, หมดจดแท้จริงเต็มความหมาย ได้แกความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ผู้เสร็จกิจในการเจริญธรรม ครองตนไร้มลทินทุกประการ : absolute purity) AA.I.293-4 องฺ.อ.๒/๔ (**) อรหันต์ ๒ ดู (๖๑) อรหันต์ ๒ (๕๕) อริยบุคคล ๒ (บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้บรรลุธรรมพิเศษตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป, ผู้เป็นอารยะในความหมายของพระพุทธศาสนา — noble individuals; holy persons) ๑. เสขะ (พระเสขะ, พระผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่พระอริยบุคคล ๗ เบื้องต้นในจำนวน ๘ — the learner) ๒. อเสขะ (พระอเสขะ, พระผู้ไม่ต้องศึกษา ได้แก่ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว : the adept) A.I.62. องฺ.ทุก.๒๐/๒๘๐/๘๐. (๕๖) อริยบุคคล ๔ ๑. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, “ผู้ถึงกระแส” — Stream-Enterer) ๒. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, “ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว” — Once-Returner) ๓. อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, “ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก” — Non-Returner) ๔. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, “ผู้ควร” “ผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว” — the Worthy One) ดู (๑๖๓) มรรค ๔; (๓๑๗) สังโยชน์ ๑๐ D.I.156. นัย ที.สี.๙/๒๕๐-๒๕๓/๑๙๙-๒๐๐. (๕๗) อริยบุคคล ๘ แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) ๔, ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล) ๔. ๑. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล — one who has entered the stream; one established in the Fruition of Stream-Entry; Stream-Enterer) ๒. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry) ๓. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล — one who is a Once-Returner; one established in the Fruition of Once-Returning) ๔. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Once-Returning; one established in the Path of Once-Returning) ๕ อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล — one who is a Non-Returner; one established in the Fruition of Non-Returning) ๖. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (พระตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Non-Returning; one established in the Path of Non-Returning) ๗. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล — one who is an Arahant; one established in the Fruition of Arahantship) ๘. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Arahantship; one established in the Path of Arahantship ดู (๑๖๓-๔) มรรค ๔ ผล ๔ ด้วย. D.III.255; A.IV. 291; Pug 73. ที.ปา. ๑๑/๓๔๒/๒๖๗; องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๔๙/๓๐๑; อภิ.ปุ.๓๖/๑๕๐/๒๓๓. (๕๘) โสดาบัน ๓ (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, ผู้แรกถึงกระแสอันนำไปสู่พระนิพพาน แน่ต่อการตรัสรู้ข้างหน้า — Stream-Enterer) ๑. เอกพีชี (ผู้มีพืชคืออัตตภาพอันเดียว คือ เกิดอีกครั้งเดียว ก็จักบรรลุอรหัต — the Single-Seed) ๒. โกลังโกละ (ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือ เกิดในตระกูลสูงอีก ๒-๓ ครั้ง หรือเกิดในสุคติอีก ๒-๓ ภพ ก็จักบรรลุอรหัต — the Clan-to-Clan) ๓. สัตตักขัตตุงปรมะ (ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือ เวียนเกิดในสุคติภพอีกอย่างมากเพียง ๗ ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต — the Seven-Times-at-Most) A.I.233: IV.380; V.120; Pug.3,16,74 องฺ.ติก.๒๐/๕๒๘/๓๐๒; องฺ.นวก.๒๓/๒๑๖/๓๙๔; องฺ.ทสก.๒๔/๖๔/๑๒๙/; อภิ.ปุ.๓๖/๔๗-๙/๑๔๗. (๕๙) สกทาคามี ๓,๕ (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว — Once-Returner) พระสกทาคามีนี้ ในบาลีมิได้แยกประเภทไว้ แต่ในคัมภีร์รุ่นหลังแยกประเภทไว้หลายอย่าง เช่น ในคัมภีร์ ปรมัตถโชติกา แยกไว้เป็น ๓ ประเภท คือ ผู้ได้บรรลุผลนั้น ในกามภพ ๑ ในรูปภพ ๑ ในอรูปภพ ๑ ในคัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา จำแนกไว้ ๕ ประเภท คือ ผู้บรรลุในโลกนี้แล้วปรินิพพานในโลกนี้เอง ๑ ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในเทวโลก ๑ ผู้บรรลุในเทวโลกแล้วปรินิพพานในเทวโลกนั้นเอง ๑ ผู้บรรลุในเทวโลกแล้ว เกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน ๑ ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ไปเกิดในเทวโลกหมดอายุแล้ว กลับมาเกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน ๑ และอธิบายต่อท้ายว่า พระสกทาคามีที่กล่าวถึงในบาลีหมายเอาประเภทที่ ๕ อย่างเดียว นอกจากนี้ ที่ท่านแบ่งออกเป็น ๔ บ้าง ๑๒ บ้าง ก็มี แต่จะไม่กล่าวไว้ในที่นี้ KhA.182. ขุทฺทก.อ.๑๙๙; วิสุทฺธิ. ฏีกา ๓/๖๕๕. (๖๐) อนาคามี ๕ (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก — Non-Returner) ๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่ง ก็ปรินิพพานโดยกิเลสปรินิพพาน — one who attains Parinibbana within the first half life-span) ๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จวนจะถึงจึงปรินิพพาน คือ อายุพ้นกึ่งแล้ว จวนจะถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน — one who attains Parinibbana after the first half life-span) ๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยง่าย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก — one who attains Parinibbana without exertion) ๔. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก — one who attains Parinibbana with exertion) ๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็ตาม จะเกิดเลื่อนต่อขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพาน — one who goes upstream bound for the highest realm; up-streamer bound for the Not-Junior Gods) A.I. 233; IV. 14,70,380; V. 120; Pug.16 องฺ.ติก.๒๐/๕๒๘/๓๐๒; องฺ.นวก.๒๓/๒๑๖/๓๙๔; องฺ.ทสก.๒๔/๖๔/๑๒๙; อภิ.ปุ.๓๖/๕๒-๖/๑๔๘. (๖๑) อรหันต์ ๒ (ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, ท่านผู้สมควรรับทักษิณาและการเคารพบูชาอย่างแท้จริง — an Arahant; arahant; Worthy One) ๑. สุกขวิปัสสก (ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ว คือ ท่านผู้มิได้ฌาน สำเร็จอรหัตด้วยเจริญแต่วิปัสสนาล้วน ๆ — the dry-visioned; bare-insight worker) ๒. สมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน คือ ท่านผู้เจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อจนได้สำเร็จอรหัต — one whose vehicle is tranquillity; the quiet-vehicled) KhA.178,183; Vism.587,666. ขุทฺทก.อ.๒๐๐; วิสุทธิ.๓/๒๐๖,๓๑๒; วิสุทธิ.ฏีกา ๓/๓๙๘; ๕๗๙. (๖๒) อรหันต์ ๔, ๕, ๖๐ (an Arahant; arahant; Worthy One) ๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน — bare-insight-worker) ๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓ — one with the Threefold Knowledge) ๓. ฉฬภิญฺโ (ผู้ได้อภิญญา ๖ — one with the Sixfold Superknowledge) ๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา — one having att...the Analytic Insights) พระอรหันต์ทั้ง ๔ ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๔๑ พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น ๒ อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น ๕ อย่างบ้าง ที่เป็น ๕ คือ ๑. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา — one liberated by wisdom) ๒. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ — one liberated in both ways) ๓. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ — one possessing the Threefold Knowledge) ๔. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ — one possessing the Sixfold Superknowledge) ๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ — one having gained the Four Analytic Insights) ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท) พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชาและโลกิยอภิญญา ก็มี ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่าและการบรรลุอรหัต พระอรหันต์ทั้ง ๕ นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ ๓ รวมเป็น ๑๕ จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา ๔ จึงรวมเป็น ๖๐ ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่ ดู (๖๑) อรหันต์ ๒; (๑๐๕) วิชชา ๓; (๑๕๔) ปฏิสัมภิทา ๔; (๒๖๐) อภิญญา ๖. Vism. 710. วิสุทธิ.๓/๓๗๓; วิสุทธิ.ฏีกา ๓/๖๕๗. (๖๓) อริยบุคคล ๗ (บุคคลผู้ประเสริฐ — noble individuals) เรียงจากสูงลงมา ๑. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ท่านที่ได้สัมผัสว๘ ด้วยกายและสิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมบัติมาก่อนที่จะได้ปัญญาวิมุตติ — one liberated in both ways) ๒. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ ท่านที่มิได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายแต่สิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้ปัญญาวิมุตติก็สำเร็จเลยทีเดียว — one liberated by understanding) ๓. กายสักขี (ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัต ที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ — the body-witness) ๔. ทิฏฐิปปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ คือ ท่านที่เข้าใจอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัต ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ — one attained to right view) ๕. สัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา คือ ท่านทีเข้าในอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มีศรัทธาเป็นตัวนำหน้า หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ — one liberated by faith) ๖. ธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม หรือผู้แล่นตามไปด้วยธรรม คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีปัญญาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ — the truth-devotee) ๗. สัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา หรือผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต — the faith devotee) D.III. 105,254;
Vism.659. ที.ปา.๑๑/๘๐/๑๑๕;
๓๓๖/๒๖๖; องฺ.ติก.๒๐/๔๖๐/๑๔๘; ขุ.ปฏิ. ๓๑/๔๙๓-๕/๓๘๐-๓; (๖๔) อุปัญญาตธรรม ๒ (ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติเห็นคุณประจักษ์กับพระองค์เอง คือ พระองค์ได้ทรงอาศัยธรรม ๒ อย่างนี้ดำเนินอริยมรรคจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ สัมมาสัมโพธิญาณ — two virtues realized or ascertained by the Buddha himself) ๑. อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ (ความไม่สันโดษในกุศลธรรม, ความไม่รู้อิ่มไม่รู้พอในการสร้างความดีและสิ่งที่ดี — discontent in moral states; discontent with good achievements) ๒. อปฺปฏิวาณิตา ปธานสฺมึ (ความไม่ระย่อในการพากเพียร, การเพียรพยายามก้าวหน้าเรื่อยไปไม่ยอมถอยหลัง — perseverance in exertion; unfaltering effort) D.III.214; A.I.50,95; Dhs.8,234. ที.ปา.๑๑/๒๒๗/๒๒๗; องฺ.ทุก.๒๐/๒๕๑/๖๔; ๔๒๒/๑๑๙; อภิ.สํ.๓๔/๑๕/๘; ๘๗๕/๓๓๙ |