(***) ฌาน ๘ ดู (๑๐) ฌาน ๘. (๒๗๘) มรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ — the noble Eightfold Path); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู (๖๘) กุศลวิตก ๓ ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ — Right Speech) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ — Right Action) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ — Right Effort) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ — Right Mindfulness) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ — Right Concentration) องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา ดู (๑๒๓) สิกขา ๓; (๑๙๗) อริยสัจ ๔; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู (๑๕) ที่สุด ๒ D.II.321; M.I.61; M,III.251; Vbh.235. ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๘; ม.มู.๑๒/๑๔๙/๑๒๓; ม.อุ.๑๔/๗๐๔/๔๕๓; อภิ.วิ.๓๕/๕๖๙/๓๐๗. (๒๗๙) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ หรือ หลักกำหนดธรรมวินัย ๘ (criteria of the Doctrine and the Discipline) ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ ๑. วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด, ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ (detachment; dispassionateness) มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ, การเสริมความติด ๒. วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ (release from bondage) มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์ ๓. อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส (dispersion of defilements) มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส ๔. อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย, ความมักน้อย (wanting little) มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่, ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่ ๕. สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ (contentment) มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ ๖. ปวิเวก คือ ความสงัด (seclusion; solitude) มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่ ๗. วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร (energy; exertion) มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน ๘. สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย (being easy to support) มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา; หมวดนี้ ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี Vin.II.259; A.IV.280. วินย.๗/๕๒๓/๓๓๑; องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๔๓/๒๘๙. (๒๘๐) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗ หรือ หลักกำหนดธรรมวินัย ๗ (criteria of the Doctrine and the Discipline) ๑. เอกันตนิพพิทา (ความหน่ายสิ้นเชิง, ไม่หลงใหลเคลิบเคลิ้ม — disenchantment) ๒. วิราคะ (ความคลายกำหนัด, ไม่ยึดติดรัดตัว เป็นอิสระ — detachment) ๓. นิโรธะ (ความดับ, หมดกิเลสหมดทุกข์ — extinction) ๔. อุปสมะ (ความสงบ — calm; peace) ๕. อภิญญา (ความรู้ยิ่ง, ความรู้ชัด — discernment; direct knowledge) ๖. สัมโพธะ (ความตรัสรู้ — enlightenment) ๗. นิพพาน (นิพพาน) ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา; หมวดนี้ ตรัสแก่พระอุบาลี A.IV.143. องฺ.สตฺตก.๒๓/๘๐/๑๔๖ (๒๘๑) โลกธรรม ๘ (ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก, ความเป็นไปตามคติธรรมดาซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตว์โลกและสัตวโลกก็หมุนเวียนตามมันไป — worldly conditions; worldly vicissitudes) ๑. ลาภ (ได้ลาภ, มีลาภ — gain) ๒. อลาภ (เสื่อมลาภ, สูญเสีย — loss) ๓. ยส (ได้ยศ, มียศ — fame; rank; dignity) ๔. อยส (เสื่อมยศ — obscurity) ๕. นินทา (ติเตียน — blame) ๖. ปสํสา (สรรเสริญ — praise) ๗. สุข (ความสุข — happiness) ๘. ทุกข์ (ความทุกข์ — pain) โดยสรุปเป็น ๒ คือ ข้อ ๑-๓-๖-๗ เป็น อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา; ข้อที่เหลือเป็น อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ต่างกันแต่ว่า คนพวกแรกย่อมไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง ลุ่มหลง ยินดียินร้าย ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะปริเทวะ เป็นต้น ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง ว่า สิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง คลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น A.IV.157. องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๙๖/๑๕๙ (๒๘๒) วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ — supernormal knowledge) ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน — insight-knowledge) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ — mind-made magical power) ๓. อิทธวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ — supernormal powers) ๔. ทิพพโสต (หูทิพย์ — divine ear) ๕. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ — penetration of the minds of others) ๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้ — remembrance of former existences) ๗. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์ — divine eye) ๘. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants) ข้อที่ ๒ โดยมากจัดเข้าในข้อที่ ๓ ด้วย ข้อที่ ๓ ถึง ๘ (๖ ข้อท้าย) ตรงกับอภิญญา ๖. ดู (๑๐๕) วิชชา ๓; (๒๖๐) อภิญญา ๖; (๒๙๙) วิปัสสนาญาณ ๙. D.I.76-84; M.II.17. ที.สี.๙/๑๓๑๑๓๘/๑๐๑-๑๑๒. (๒๘๓) วิโมกข์ ๘ (ความหลุดพ้น, ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้น ๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ — liberations; the eight stages of release) ๑. ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม — Remaining in the fine-material sphere, one perceives corporeal forms.) ๒. ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก — Not perceiving internal corporeal forms, one perceives corporeal forms externally) ๓. ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า "งาม" (ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา — One is intent on the thought, ‘It is beautiful’.) ๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ — One attains and abides in the Sphere of Unbounded Space.) ๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (—One attains and abides in the Sphere of Unbounded Consciousness.) ๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย (— One attains and abides in the Sphere of Nothingness.) ๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ (— One attatins and abides in the Sphere of Neither-Perception-Nor-Nonperception.) ๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ (— One attains and abides in the cessation of Perception and Feeling.) D.III.262, 288; A.IV.306. ที.ปา.๑๑/๓๕๐/๒๗๖; ๔๕๓/๓๒๘; องฺ.อฏฺ€ก.๒๓/๑๖๓/๓๑๕ (๒๘๔) ศีล ๘ หรือ อัฏฐศีล (การรักษาระเบียบทางกายวาจา, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป — the Eight Precepts; training rules) ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป — to abstain from taking life) ๒. อทินฺนาทานา เวรมณี (เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย — to abstain from taking what is not given) ๓. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี (เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์, เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือร่วมประเวณี — to abstain from unchastity) ๔. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากการพูดเท็จ — to abstain from false speech) ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา เวรมณี (เว้นจากน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท — to abstain from intoxicants causing heedlessness) ๖. วิกาลโภชนา เวรมณี (เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไป จนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ — to abstain from untimely eating) ๗. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺานา เวรมณี (เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง — to abstain from dancing, singing, music and unseemly shows, from wearing garlands, smartening with scents, and embellishment with unguents) ๘. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี (เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย — to abstain from the use of high and large luxurious couches) คำสมาทาน ให้เติม สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ต่อท้ายทุกข้อ แปลเพิ่มว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก... หรือ ข้าพเจ้าขอถือข้อปฏิบัติในการฝึกตนเพื่องดเว้นจาก... ศีล ๘ นี้ สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ เรียกว่า อุโบสถ (the Observances) หรือ อุโบสถศีล (precepts to be observed on the Observance Day) A.IV.248 องฺ.อฏฺก.๒๓/๑๓๑/๒๕๓. (๒๘๕) ศีล ๑๐ หรือ ทศศีล (การรักษาระเบียบทางกายวาจา, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ยิ่งขึ้นไป — the Ten Precepts; training rules) ๖ ข้อแรกเหมือนในศีล ๘; ข้อที่ ๗ แยกเป็น ๒ ข้อ ดังนี้ ๗. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา เวรมณี (เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่น อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ — to abstain from dancing, singing , music and unseemly shows) ๘. มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺานา เวรมณี (เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง — to abstain from wearing garlands, smartening with scents, and embellishment with unguents) เลื่อนข้อ ๘ ในศีล ๘ เป็นข้อ ๙ และเติมข้อ ๑๐ ดังนี้ ๑๐. ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณี (เว้นจากการรับทองและเงิน — to abstain from accepting gold and silver) สิกขาบท ๑๐ นี้ เป็นศีลที่สามเณรและสามเณรีรักษาเป็นประจำ หรืออุบาสก อุบาสิกาผู้มีอุตสาหะจะรักษาก็ได้ Kh.I.1. ขุ.ขุ.๒๕/๑/๑. (๒๘๖) ศีล ๘ ทั้งอาชีวะ หรือ อาชีววัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นคำรบ ๘, หลักความประพฤติรวมทั้งอาชีวะที่บริสุทธิ์ด้วยเป็นข้อที่ ๘ — virtue having livelihood as eighth; the set of eight precepts of which pure livelihood is the eighth) ๑.- ๗. ตรงกับ กุศลกรรมบถ ๗ ข้อต้น (กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔) ๘. สัมมาอาชีวะ อาชีวัฏฐมกศีลนี้ เป็นศีลส่วน อาทิพรหมจรรย์ คือ เป็นหลักความประพฤติเบื้องต้นของพรหมจรรย์ กล่าวคือ มรรค เป็นสิ่งที่ต้องประพฤติให้บริสุทธิ์ในขั้นต้น ของการดำเนินตามอริยอัฏฐังคิกมรรค ว่าโดยสาระ อาชีวัฏฐมกศีล ก็คือ องค์มรรค ๓ ข้อ ในหมวดศีล คือข้อที่ ๓-๔-๕ ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และ สัมมาอาชีวะ นั่นเอง ดู (๒๗๘) มรรคมีองค์ ๘; (๓๐๗,๓๐๘) กุศลกรรมบถ ๑๐. Vism.11. วิสุทฺธิ.๑/๑๓ (๒๘๗) สมาบัติ ๘ (คุณวิเศษเป็นที่อันบุคคลเข้าถึง หรือ ธรรมวิเศษที่ควรเข้าถึง, การบรรลุขั้นสูง — attainment) ได้แก่ ฌาน ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ ดู (๙) ฌาน ๔; (๑๐) ฌาน ๘; (๑๙๙) อรูป ๔. Ps.I.20 ขุ.ปฏิ.๓๑/๖๐/๓๔ (๒๘๘) สัปปุริสทาน ๘ (ทานของสัตบุรุษ, การให้อย่างสัตบุรุษ — gifts of a good man) ๑. สุจึ เทติ (ให้ของสะอาด — to give clean things) ๒. ปณีตํ เทติ (ให้ของประณีต — to give choice things) ๓. กาเลน เทติ (ให้เหมาะกาล ให้ถูกเวลา — to give at fitting times) ๔. กปฺปิยํ เทติ (ให้ของสมควร ให้ของที่ควรแก่เขา ซึ่งเขาจะใช้ได้ — to give proper things) ๕. วิเจยฺย เทติ (พิจารณาเลือกให้ ให้ด้วยวิจารณญาณ เลือกของ เลือกคนที่จะให้ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก — to give with discretion) ๖. อภิณฺหํ เทติ (ให้เนืองนิตย์ ให้ประจำ หรือสม่ำเสมอ — to give repeatedly or regularly) ๗. ททํ จิตฺตํ ปสาเทติ (เมื่อให้ ทำจิตผ่องใส — to calm one’s mind on giving) ๘. ทตฺวา อตฺตมโน โหติ (ให้แล้ว เบิกบานใจ — to be glad after giving) A.IV.243 องฺ.อฏฺก.๒๓/๑๒๗/๒๔๘. (๒๘๙) สัปปุริสธรรม ๘ (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี — qualities of a good man) ๑. สัทธัมมสมันนาคโต (ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ — to be endowed with the seven virtues) คือ
๒. สัปปุริสภัตตี (ภักดีสัตบุรุษ คือ คบหาสมณพราหมณ์ ท่านผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการข้างต้น เป็นมิตรสหาย — to consort with good men) ๓. สัปปุริสจินตี (คิดอย่างสัตบุรุษ คือ จะคิดสิ่งใด ก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น — to think as do good men) ๔. สัปปุริสมันตี (ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ คือ จะปรึกษาการใด ก็ไม่ปรึกษาเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น — to consult as do good men) ๕. สัปปุริสวาโจ (พูดอย่างสัตบุรุษ คือ พูดแต่คำที่ถูกต้องตามวจีสุจริต ๔ — to speak as do good men) ๖. สัปปุริสกัมมันโต (ทำอย่างสัตบุรุษ คือ ทำการที่ถูกต้องตามกายสุจริต ๔ — to act as do good men) ๗. สัปปุริสทิฏฐิ (มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ คือ มีสัมมาทิฏฐิ เช่นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น — to have the views of good men) ๘. สัปปุริสทานัง เทติ (ให้ทานอย่างสัตบุรุษ คือ ให้ตามหลักสัปปุริสทาน เช่น ให้โดยเอื้อเฟื้อทั้งแต่ของที่ตัวให้ทั้งแก่ผู้รับทาน ให้ของบริสุทธิ์ ให้โดยเข้าใจถึงผลที่จะมีตามมา เป็นต้น — to give a gift as do good men) บางทีเรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ เพราะนับเฉพาะสัทธรรม ๗ ในข้อ ๑ M.III.23. ม.อุ.๑๔/๑๔๓/๑๑๒. (***) หลักตัดสินธรรมวินัย ๘ ดู (๒๗๙) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ (***) อริยบุคคล ๘ ดู (๕๗) อริยบุคคล ๘ (***) อริยอัฏฐังคิกมรรค ดู (๒๗๘) มรรคมีองค์ ๘ (***) อวิชชา ๘ ดู (๒๐๑) อวิชชา ๘ (***) อาชีวัฏฐมกศีล ดู (๒๘๖) ศีล ๘ ทั้งอาชีวะ (***) อุโบสถศีล ดู (๒๘๔) ศีล ๘ |