(๒๙๐) นวังคสัตถุสาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ — the Teacher’s nine-factored dispensation the Master’s ninefold teaching) ๑. สุตฺตํ (สูตร ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่นๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือ สุตตันตะ กล่าวง่ายคือ วินัยปิฎก คัมภีร์นิทเทสทั้งสอง และพระสูตรทั้งหลาย — threads; discourses) ๒. เคยฺยํ (เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน หมายเอาพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคในสังยุตตนิกาย — discourses mixed with verses; songs) ๓. เวยฺยากรณํ (ไวยากรณ์ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘ ข้อที่เหลือ — prose-expositions) ๔. คาถา (คาถา ได้แก่ ความร้อนกรองล้วน หมายเอา ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร — verses) ๕. อุทานํ (อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ พร้อมทั้งข้อความอันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร ๘๒ สูตร — exclamations; psalms; verses of uplift) ๖. อิติวุตตกํ (อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ตรัสโดยนัยว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา — thus-said discourses) ๗. ชาตกํ (ชาดก ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น — birth-stories) ๘. อพฺภูตธมฺมํ (อัพภูตธรรม หรือเรื่องอัศจรรย์ ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยข้ออัศจรรย์ ไม่เคยมี ทุกสูตร เช่น ที่ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ หาได้ในอานนท์" ดังนี้เป็นต้น — marvelous ideas) ๙. เวทลฺลํ (เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถามตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจ ถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัณหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร เป็นต้น — question and-answer; catechetical suttas) คำว่า นวังคสัตถุสาสน์ นี้ เป็นคำรุ่นคัมภีร์อปทาน พุทธวงส์ และอรรถกถาทั้งหลาย บางทีเรียกว่า ชินสาสน์ บ้าง พุทธวจนะ บ้าง ส่วนในบาลีที่มาทั้งหลายเรียกว่า ธรรม บ้าง สุตะ บ้าง ดู (๕๑) สาสน์ หรือ ศาสนา ๒. Vin.III.8; M.I.133; A.II.5; A.III.86 วินย. ๑/๗/๑๒; ม.มู.๑๒/๒๗๘/๒๖๘; องฺ.จตุกฺก.๒๑/๖/๘; อง.ปญฺจก.๒๒/๗๓/๙๘. (๒๙๑) พุทธคุณ ๙ (คุณของพระพุทธเจ้า — virtues or attributes of the Buddha) อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น — thus indeed is he, the Blessed One,) ๑. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น — holy; worthy; accomplished) ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง — fully self-enlightened) ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ — perfect in knowledge and conduct) ๔. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา — well-gone; well-farer; sublime) ๕. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยท่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังมาอยู่ในกระแสโลกได้ — knower of the worlds) ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า — the incomparable leader of men to be tamed) ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย — the teacher of gods and men) ๘. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ ดดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย — awakened) ๙. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม — blessed; analyst) พุทธคุณ ๙ นี้ เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางทีเลือนมาเป็น นวรหคุณ หรือ นวารหคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ M.I.37; A.III.285. ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๗. (๒๙๒) พุทธคุณ ๒ (virtues, qualities or attributes of the Buddha) ๑. อัตตหิตสมบัติ (ความถึงแห่งประโยชน์ตน, ทรงบำเพ็ญประโยชน์ส่วนพระองค์เอง เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว — to have achieved one’s own good; accomplishment of one’s own welfare) พระคุณข้อนี้มุ่งเอาพระปัญญาเป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จพุทธภาวะ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้ ๒. ปรหิตปฏิบัติ (การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น, ทรงบำเพ็ญพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น — practice for the good or welfare of others) พระคุณข้อนี้มุ่งเอาพระกรุณาเป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จพุทธกิจ คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้า และความเป็นโลกนาถ คือ เป็นที่พึ่งของชาวโลกได้ พุทธคุณ ๙ ในข้อก่อน (๒๙๑) ย่อลงแล้วเป็น ๒ อย่างดังแสดงมานี้ คือ ข้อ ๑-๒-๓-๕ เป็นส่วนอัตตหิตสมบัติ ข้อ ๖-๗ เป็นส่วนของปรหิตปฏิบัติ ข้อ ๔-๘-๙ เป็นทั้งอัตตหิตสมบัติ และปรหิตปฏิบัติ DAT.I.8 (ฉบับไทยยังไม่พิมพ์) วิสุทธิ.ฎีกา. ๑/๒๕๘/๓๘๑; ๒๔๖/๓๓๘ (ฉบับโรมันยังไม่พิมพ์) (๒๙๓) พุทธคุณ ๓ (virtues, qualities or attributes of the Buddha) ๑. ปัญญาคุณ (พระคุณคือพระปัญญา — wisdom) ๒. วิสุทธิคุณ (พระคุณคือความบริสุทธิ์ — purity) ๓. กรุณาคุณ (พระคุณคือพระมหากรุณา — compassion) ในพระคุณ ๓ นี้ ข้อที่เป็นหลักและกล่าวถึงทั่วไปในคัมภีร์ต่างๆ มี ๒ คือ ปัญญา และกรุณา ส่วนวิสุทธิ เป็นพระคุณเนื่องอยู่ในพระปัญญาอยู่แล้ว เพราะเป็นผลเกิดเองจากการตรัสรู้ คัมภีร์ทั้งหลายจึงไม่แยกไว้เป็นข้อหนึ่งต่างหาก (ฉบับโรมันยังไม่พิมพ์) นัย. วิสุทธิ. ฎีกา. ๑/๑. (๒๙๔) ธรรมคุณ ๖ (คุณของพระธรรม — virtues or attributes of the Dhamma) ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง — Well proclaimed is the Dhamma by the Blessed One) ๒. สนฺทิฏฺฐิโก (อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้ — to be seen for oneself) ๓. อกาลิโก (ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล — not delayed; timeless) ๔. เอหิปสฺสิโก (ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง — inviting to come and see; inviting inspection) ๕. โอปนยิโก (ควรน้อมเข้ามา คือ ควรเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึง ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่า เชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดู อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน — worthy of inducing in and by one’s own mind; worthy of realizing; to be tried by practice; leading onward) ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญชนจะพึงรู้ได้ เป็นของจำเพาะตน ต้องทำจึงเสวยได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง — directly experienceable by the wise) คุณข้อที่ ๑ มีความหมายกว้างรวมทั้งปริยัติธรรม คือ คำสั่งสอนด้วย ส่วนข้อที่ ๒ ถึง ๖ มุ่งให้เป็นคุณของโลกุตตรธรรม จะเห็นได้ในที่อื่นๆ ว่า ข้อที่ ๒ ถึง ๖ ท่านแสดงไว้เป็น คุณบทของนิพพาน ก็มี M.I.37; A.III.285. ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๘. (๒๙๕) สังฆคุณ ๙ (คุณของพระสงฆ์ — virtues of the Sangha; virtues or attributes of the community of noble disciples) ๑. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี — Of good conduct is the community of noble disciples of the Blessed One) ๒. อุชุปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติตรง — of upright conduct) ๓. ายปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง — of right conduct) ๔. สามีจิปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติสมควร — of dutiful conduct; of proper conduct) ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺ ปุริสปุคฺคลา (ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘ — namely, the four pairs of men, the eight types of individuals.) เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ — This community of the disciples of the Blessed One is) ๕. อาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย — worthy of gifts) ๖. ปาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ — worthy of hospitality) ๗. ทกฺขิเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา, ควรแก่ของทำบุญ — worthy of offerings) ๘. อญฺชลีกรณโย (เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี, ควรแก่การกราบไหว้ — worthy of reverential salutation) ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส (เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก, เป็นแหล่งปลูกฝังและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก — the incomparable fied of merit or virtue for the world) M.I.37; A.III.286 ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๘ (๒๙๖) มละ ๙ (มลทิน — stains) ๑. โกธะ (ความโกรธ — anger) ๒. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีผู้อื่น — detraction; depreciation) ๓. อิสสา (ความริษยา — envy; jealousy) ๔. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ — stinginess; meanness) ๕. มายา (มารยา — deceit) ๖. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, สาไถย — hypocrisy) ๗. มุสาวาท (การพูดปด — false speech) ๘. ปาปิจฉา (ความปรารถนาลามก — evil desire) ๙. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด — false view) Vbh.289 อภิ.วิ.๓๕/๑๐๒๑/๕๒๖. (๒๙๗) มานะ ๙ (ความถือตัว, ความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ — conceit; pride) ๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (Being superior to others, one thinks, "Better am I.") ๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา (Being superior to others, one thinks, "Equal am I.") ๓. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลยกว่าเขา (Being superior to others, one thinks, "Worse am I.") ๔. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (Being equal to others, one thinks, "Better am I.") ๕. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา (ฺBeing equal to others, one thinks, "Equal am I.") ๖. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (Being equal to others, one thinks, "Worse am I.") ๗. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (Being inferior to others, one thinks, "Better am I.") ๘. เป็นผู้เลวกวาเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา (Being inferior to others, one thinks, "Equal am I.") ๙. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (Being inferior to others, one thinks, "Worse am I.") Nd 80; Nd 226; Vbh.389. ขุ.ม.๒๙/๑๐๒/๙๔; ๘๒๙/๕๑๙; ขุ.จู. ๓๐/๕๗๘/๒๘๓; อภิ.วิ.๓๕/๑๐๒๒/๕๒๗
(๒๙๘) โลกุตตรธรรม ๙ (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก — supermundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ = ๔๖ : ขุ. ปฏิ. ๓๑/๖๒๐/๕๓๕; Ps.II.166) -
มรรค ๔ (the Four Paths) ดู (๒๗) นิพพาน ๒; (๑๖๓) มรรค ๔; (๑๖๔) ผล ๔. Dhs.1094. อภิ.สํ.๓๔/๗๐๖/๒๗๘; ๙๑๑/๓๕๕. (๒๙๙) วิปัสสนาญาณ ๙ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง — insight-knowledge) ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on rise and fall) ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on dissolution) ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น — knowledge of the appearance as terror) ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์ — knowledge of contemplation on disadvantages) ๕. นิพพทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ — knowledge of contemplation on dispassion) ๖. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น — knowledge of the desire for deliverance) ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป — knowledge of reflective contemplation) ๘. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้ — knowledge of equanimity regarding all formations) ๙. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป — conformity-knowledge; adaptation-knowledge) ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์ — Comprehension-knowledge) เข้ามาเป็นข้อที่ ๑ จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ ๑๐ และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ ดู (๒๗๐) วิสุทธิ ๗; (๓๓๓) ญาณ ๑๖ Ps.I.I; Vism.630-671; Comp.210. ขุ.ปฏิ.๓๑/๑/๑; วิสุทธิ.๓/๒๖๒-๓๑๙; สังคห.๕๕. (๓๐๐) สัตตาวาส ๙ (ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์ — Abodes of Beings) ข้อ ๑-๔ ตรงกับ วิญญาณฐิติ ๔ ข้อต้น ๕. สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เช่น เหล่าเทพจำพวกอสัญญีสัตว์ (beings without perception and feeling) ข้อ ๖-๘ ตรงกับ วิญญาณฐิติ ข้อที่ ๕-๗ ๙. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (beings reborn in the sphere of Neither-Perception-Nor-Nonperception) ดู (๒๖๙) วิญญาณฐิติ ๗ D.III.263; 288; A.IV.401 ที.ปา.๑๑/๓๕๓/๒๗๗; ๔๕๗/๓๒๙; องฺ.อฏฺก.๒๓/๒๒๘/๔๑๓ (๓๐๑) อนุบุพพวิหาร ๙ (ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ — progressive abidings; mental states of gradual attainment) รูปฌาน ๔ (the Four Absorptions of the Form-Sphere) อรูปฌาน ๔ (the Four Absorptions of the Formless Sphere) สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา — extinction of perception and feeling) เรียกอีกอย่างว่า นิโรธสมาบัติ (attainment of extinction) สมาบัติข้อที่ ๙ นี้ เฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญในสมาบัติ ๘ ข้างต้นแล้วเท่านั้น จึงจะเข้าได้ อนุบุพพวิหารนี้ เรียกอีกอย่างว่า อนุบุพพนิโรธ (graded stages of cessation) เพราะต้องดับขั้นต้นๆ และขั้นไปตามลำดับ จึงจะเข้าถึงขั้นสูงที่อยู่ถัดขึ้นไปได้ ดู (๙) ฌาน ๔; (๑๙๙) อรูป ๔. D.III.265, 190; A.IV.410. ที.ปา.๑๑/๓๕๕/๒๗๙; ๔๖๓/๓๓๒; องฺ.นวก.๒๓/๒๓๖/๔๒๔. |