(***) กัลยาณธรรม ๕ ดู (๒๑๗) เบญจธรรม. (***) กามคุณ ๕ ดู (๖) กามคุณ ๕. (***) กำลัง ๕ ของพระมหากษัตริย์ ดู (๒๒๒) พละ ๕ ของพระมหากษัตริย์ (๒๐๘) ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต — the Five Groups of Existence; Five Aggregates) ๑. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ — corporeality) ๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ — feeling; sensation) ๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น — perception) ๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต — mental formations; volitional activities) ๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ ๖ — consciousness) ขันธ์ ๕ นี้ ย่อลงมาเป็น ๒ คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, ๔ ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม. อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม ๔ : วิญญาณขันธ์เป็น จิต, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็น เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ ๕ นอกนี้ ดู (๓๔๒) จิต ๘๙; (๓๔๑) เจตสิก ๕๒ S.III.47; Vbh.1. สํ.ข.๑๗/๙๕/๕๘; อภิ.วิ.๓๕/๑/๑. (***) คติ ๕ ดู (๓๓๗) ภูมิ ๔. (๒๐๙) จักขุ ๕ (พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า — the Five Eyes of the Blessed One) ๑. มังสจักขุ (ตาเนื้อ คือ ทรงมีพระเนตรอันงาม มีอำนาจ เห็นแจ่มใส ไว และเห็นไกล — the physical eye which is exceptionally powerful and sensitive) ๒. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์ คือ ทรงมีพระญาณอันเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นไปต่างๆ กัน ด้วยอำนาจกรรม — the Divine Eye) ๓. ปัญญาจักขุ(ตาปัญญา คือ ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้อริยสัจจธรรม เป็นต้น — the eye of wisdom; Wisdom-Eye) ๔. พุทธจักขุ (ตาพระพุทธเจ้า คือ ทรงประกอบด้วยอินทรีย์ปโรปริยัตตญาณ และอาสยานุสยญาณ เป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์ แล้วทรงสั่งสอนแนะนำให้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ ยังพุทธกิจให้บริบูรณ์ — the eye of a Buddha; Buddha-Eye) ๕. สมันตจักขุ (ตาเห็นรอบ คือ ทรงประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ — the eye of all-round knowledge; All-seeing Eye; omniscience) Nd 235. ขุ.ม.๒๙/๕๑/๕๒. (***) ฌาน ๕ ดู (๙) ฌาน ๔ (๒๑๐) ธรรมขันธ์ ๕ (กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหัวข้อใหญ่ — bodies of doctrine; categories of the Teaching) ๑. สีลขันธ์ (กองศีล, หมวดศีล ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปาติโมกขสังวร กายสุจริต สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นต้น — body of morals; virtue category) ๒. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ, หมวดสมาธิ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นต้น — body of concentration; concentration category) ๓. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา, หมวดปัญญา ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ธัมมวิจยะ วิมังสา ปฏิสัมภิทา สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น— body of wisdom or insight; understanding category) ๔. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ, หมวดวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ปหาน วิราคะ วิโมกข์ วิสุทธิ สันติ นิโรธ นิพพาน เป็นต้น — body of deliverance; deliverance category) ๕. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ (กองวิมุตติญาณทัสสนะ, หมวดธรรมเกี่ยวกับการรู้ การเห็นในวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เป็นต้น — body of the knowledge and vision of deliverance; knowing-and-seeing-of-deliverance category) ธรรมขันธ์ ๔ ข้อต้น เรียกอีกอย่างว่า สาระ ๔ (แก่น, หลักธรรมที่เป็นแกน, หัวใจธรรม — essences) D.III.279; A.lll.134; A.II.140 ที.ปา.๑๑/๔๒๐/๓๐๑; องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๕๐/๑๘๙. (๒๑๑) ธรรมเทสกธรรม ๕ (ธรรมของนักเทศก์, องค์แห่งธรรมกถึก, ธรรมที่ผู้แสดงธรรมหรือสั่งสอนคนอื่นควรตั้งไว้ในใจ — qualities of a preacher; qualities which a teacher should establish in himself) ๑. อนุปุพฺพิกถํ (กล่าวความไปตามลำดับ คือ แสดงหลักธรรมหรือเนื้อหาวิชาตามลำดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลำดับ — His instruction or exposition is regulated and gradually advanced.) ๒. ปริยายทสฺสาวี (ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น โดยอธิบายขยายความ ยักเยื้องไปต่างๆ ตามแนวเหตุผล — It has reasoning or refers to causality) ๓. อนุทยตํ ปฏิจฺจ (แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือ สอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา — It is inspired by kindness; teaching out of kindliness.) ๔. น อามิสนฺตโร (ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือ สอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือผลประโยชน์ตอบแทน — It is not for worldly gain.) ๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ (แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลักตามเนื้อหา มุ่งแสดงธรรม แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น — It does not hurt oneself or others; not exalting oneself while contempting others.) A.III.184 องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๕๙/๒๐๕. (๒๑๒) ธรรมสวนานิสงส์ ๕ (อานิสงส์ในการฟังธรรม — benefits of listening to the Dharma) ๑. อสฺสุตํ สุณาติ (ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง, ได้เรียนรู้สิ่งที่ยังไม่เคยเรียนรู้ — He hears things not heard.) ๒. สุตํ ปริโยทเปติ (สิ่งที่เคยได้ฟัง ก็ทำให้แจ่มแจ้ง เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น — He clears things heard.) ๓. กงฺขํ วิหนติ (แก้ข้อสงสัยได้, บรรเทาความสงสัยเสียได้ — He dispels his doubts.) ๔. ทิฏฺฐึ อุชุ ํ กโรติ (ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ — He makes straight his views.) ๕. จิตฺตมสฺส ปสีทติ (จิตของเขาย่อมผ่องใส — His heart becomes calm and happy.) A.III.248. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๐๒/๒๗๖. (๒๑๓) นวกภิกขุธรรม ๕ (ธรรมที่ควรฝึกสอนภิกษุบวชใหม่ให้ประพฤติ ปฏิบัติอย่างมั่นคง, องค์แห่งภิกษุใหม่ — qualities of a newly ordained monk; qualities which should be established in newly ordained monks) ๑. ปาติโมกขสังวร (สำรวมในพระปาติโมกข์ รักษาศีลเคร่งครัด ทั้งในส่วนเว้นข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต — restraint in accordance with the monastic code of discipline; self-control strictly in accordance with the fundamental training-rules) ๒. อินทรีย์สังวร (สำรวมอินทรีย์ มีสติระวังรักษาใจ มิให้กิเลสคือความยินดี ยินร้ายเข้าครอบงำ ในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ มีเห็นรูปด้วยตาเป็นต้น — restraint of the senses; sense-control) ๓. ภัสสปริยันตะ (พูดคุยมีขอบเขต คือ จำกัดการพูดคุยให้น้อย รู้ขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา — restraint as regards talking) ๔. กายวูปกาสะ (ปลีกกายอยู่สงบ คือ เข้าอยู่ในเสนาสนะอันสงัด — seclusion as to the body; love of solitude) ๕. สัมมาทัสสนะ (ปลูกฝังความเห็นชอบ คือ สร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ — cultivation of right views.) A.III 138. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๑๔/๑๕๖. (๒๑๔) นิยาม ๕ (กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; the five aspects of natural law) ๑. อุตุนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ — physical inorganic order; physical laws) ๒. พีชนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต — psychic law) ๓. จิตตนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ — order of act and result; the law of Karma; moral laws) ๔. กรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ — order of act and result; the law of Karma; moral laws) ๕. ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย — order of the norm; the general law of cause and effect; causality and conditionality) ดู (๘๕) ธรรมนิยาม ๓; (๑๗๕) สมบัติ ๔; (๑๗๔) วิบัติ ๔. DA.II.432; DhsA.272. ที.อ.๒/๓๔; สงฺคณี.อ.๔๐๘. (๒๑๕) นิโรธ ๕ (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น — extinction; cessation of defilements) ๑. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น — extinction by suppression) ๒. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ — extinction by substitution of opposites) ๓. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทนิโรธ — extinction by cutting off or destruction) ๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ — extinction by tranquillization) ๕. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน — extinction by escape; extinction by getting freed) ปหาน ๕ (การละกิเลส — abandonment), วิมุตติ ๕ (ความหลุดพ้น — deliverance), วิเวก ๕ (ความสงัด, ความปลีกออก — seclusion), วิราคะ ๕ (ความคลายกำหนัด, ความสำรอกออกได้ — detachment; dispassionateness), โวสสัคคะ ๕ (ความสละ, ความปล่อย — relinquishing) ก็อย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด Ps.I.27,220-221; Vism.410 ขุ.ปฏิ.๓๑/๖๕/๓๙; ๗๐๔/๖๐๙; วิสุทธิ.๒/๒๔๙. (๒๑๖) นิวรณ์ ๕ (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี, อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง — hindrances.) ๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ — sensual desire) ๒. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ — illwill) ๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม — sloth and torpor) ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล — distraction and remorse; flurry and worry; anxiety) ๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย — doubt; uncertainty) A.III.62; Vbh.278. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๕๑/๗๒; อภิ.วิ.๓๕/๙๘๓/๕๑๐. (๒๑๗) เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม (ธรรม ๕, ธรรมอันดีงามห้าอย่าง, คุณธรรมห้าประการ คู่กับเบญจศีล เป็นธรรมเกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีล ผู้รักษาเบญจศีลควรมีไว้ประจำใจ — the five ennobling virtues; virtues enjoined by the five precepts) ๑. เมตตาและกรุณา (ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญและความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ — loving-kindness and compassion) คู่กับศีลข้อที่ ๑ ๒. สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต — right means of livelihood) คู่กับศีลข้อที่ ๒ ๓. กามสังวร (ความสังวรในกาม, ความสำรวมระวังรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส — sexual restraint) คู่กับศีลข้อที่ ๓ ๔. สัจจะ (ความสัตย์ ความซื่อตรง — truthfulness; sincerity) คู่กับศีลข้อที่ ๔ ๕. สติสัมปชัญญะ (ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นความมัวเมาประมาท — mindfulness and awareness; temperance) คู่กับศีลข้อที่ ๕ ข้อ ๒ บางแห่งเป็น ทาน (การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ — giving; generosity) ข้อ ๓ บางแห่งเป็น สทารสันโดษ (ความพอใจด้วยภรรยาของตน — contentment with one’s own wife) ข้อ ๕ บางแห่งเป็น อัปปมาท (ความไม่ประมาท — heedfulness) เบญจธรรมนี้ ท่านผูกเป็นหมวดธรรมขึ้นในภายหลัง จึงมีแปลกกันไปบ้าง เมื่อว่าโดยที่มา หัวข้อเหล่านี้ส่วนใหญ่ประมวลได้จากความท่อนท้ายของกุศลกรรมบถข้อต้นๆ. ดู (๓๐๘) กุศลกรรมบถ ๑๐; (๒๓๐) ศีล ๕. (***) เบญจศีล ดู (๒๓๐) ศีล ๕ (***) ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ดู (๒๒๔) โภคอาทิยะ ๕ (***) ปหาน ๕ (การละกิเลส — abandonment) ดู (๒๑๕) นิโรธ ๕ (๒๑๘) ปีติ ๕ (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ — joy; interest; zest; rapture) ๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล — minor rapture; lesser thrill) ๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ — momentary or instantaneous joy) ๓. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง — showering joy; flood of joy) ๔. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ — uplifting joy) ๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ — suffusing joy; pervading rapture) Vism.143 วิสุทฺธิ.๑/๑๘๒. (๒๑๙) พร ๕ (สิ่งน่าปรารถนาที่บุคคลหนึ่งอำนวยให้ หรือแสดงความประสงค์ด้วยความปรารถนาดีให้เกิดมีขึ้นแก่บุคคลอื่น; สิ่งประเสริฐ, สิ่งดีเยี่ยม — blessing; boon; excellent thing) พรที่รู้จักกันมากได้แก่ ชุดที่มีจำนวน ๔ ข้อ ซึ่งเรียกกันว่า จตุรพิธพร หรือ พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ Dh.109; A.II.63 ขุ.ธ.๒๕/๑๘/๒๙; องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๕๘/๘๓. พรที่เป็นชุดมีจำนวน ๕ ข้อบ้าง ๖ ข้อบ้าง ก็มี เช่น อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ (องฺ.ปญฺจก.๒๒/๓๗/๔๔ = A.III.๔๒); อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขะ พละ (องฺ.จตุกฺก.๒๑/๓๔/๔๕; องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๓๒/๓๘; ขุ.อิติ.๒๕/๒๗๐/๒๙๙ = A.III.๓๖; It. ๘๙); อายุ วรรณะ สุขะ ยศ เกียรติ สัคคะหรือสวรรค์ พร้อมทั้ง อุจจากุลีนตาคือความมีตระกูลสูง (องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๓/๕๑ = A.III.๔๘); อายุ วรรณะ ยศ สุข อาธิปัจจะ คือ ความเป็นใหญ่ (ขุ.เปต. ๒๖/๑๐๖/๑๙๕ = Pv. ๓๐๘) และชุดที่จะกล่าวถึงต่อไปคือ อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ พละ อย่างไรก็ดี พึงทราบว่า คำว่า พร ในที่นี้ เป็นการใช้โดยอนุโลมตามความหมายในภาษาไทย ซึ่งเพี้ยนไปแล้วจากความหมายเดิมในภาษาบาลี ในภาษาบาลีแต่เดิม พร หมายถึง ผลประโยชน์หรือสิทธิพิเศษที่อนุญาตหรืออำนวยให้ตามที่ขอ พรที่กล่าวถึง ณ ที่นี้ทั้งหมด ในบาลีไม่ได้ เรียกว่า พร แต่เรียกว่า ฐานะ หรือธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (ซึงจะบรรลุได้ด้วยกรรม คือการกระทำที่ดีอันเป็นบุญ) สำหรับพระภิกษุ พรหรือธรรมอันน่าปรารถนาเหล่านี้ หมายถึงคุณธรรมต่างๆ ที่ควรปลูกฝังฝึกอบรมให้เกิดมี ดังพุทธพจน์ว่า : ภิกษุท่องเที่ยวอยู่ ภานในถิ่นท่องเที่ยว ที่เป็นแดนของตนอันสืบทอดมาแต่บิดา (คือ สติปัฏฐาน ๔) จักเจริญด้วย ๑. อายุ คือ พลังที่หล่อเลี้ยงทรงชีวิตให้สืบต่ออยู่ได้ยาวนาน ได้แก่ อิทธิบาท ๔ (for monks, = the Four Bases of Accomplishment) ๒. วรรณะ คือ ความงามเอิบอิ่มผ่องใสน่าเจริญตาเจริญใจ ได้แก่ ศีล (beauty = moral conduct) ๓. สุขะ คือความสุข ได้แก่ ฌาน ๔ (the Four Meditative Absorptions) ๔. โภคะ คือ ความพรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สินและอุปกรณ์ต่างๆ อันอำนวยความสุข ความสะดวกสบาย ได้แก่ อัปปมัญญา หรือพรหมวิหาร ๔ (Wealth = the Four Boundless Sublime States of Mind) ๕. พละ คือ กำลังแรงความเข้มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังแห่งมาร ทำให้สามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามปลอดโปร่งเป็นสุข บำเพ็ญกิจด้วยบริสุทธิ์และเต็มที่ ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดใดจะสามารถบีบคั้นครอบงำ ได้แก่ วิมุตติ ความหลุดพ้น หมดสิ้นอาสวะ หรืออรหัตตผล (strength or power = the Final Freedom) D.III.77;S.V.147 ที.ปา.๑๑/๕๐/๘๕; สํ.ม.๑๙/๗๐๙/๑๙๘ (๒๒๐) พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง — power) ๑. สัทธา (ความเชื่อ — confidence) ๒. วิริยะ (ความเพียร — energy; effort) ๓. สติ (ความระลึกได้ — mindfulness) ๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น — concentration) ๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด — wisdom; understanding) ธรรม ๕ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน — controlling faculty) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้ พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง D.III.239; A.III.10; Vbh.342. ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒ (๒๒๑) พละ ๔ (ธรรมอันเป็นกำลัง, ธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่หวั่นต่อภัยทุกอย่าง — strength; force; power) ๑. ปัญญาพละ (กำลังปัญญา — power of wisdom) ๒. วิริยพละ (กำลังความเพียร — power of energy or diligence) ๓. อนวัชชพละ (กำลังสุจริต หรือ กำลังความบริสุทธิ์, ตามศัพท์แปลว่า กำลังการกระทำที่ไม่มีโทษ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบริสุทธิ์ เช่นมีความประพฤติและหน้าที่การงานสุจริต ไม่มีข้อบกพร่องเสียหาย พูดจริง มีเหตุผล มุ่งดี ไม่รุกรานให้ร้ายใคร ทำการด้วยเจตนาบริสุทธิ์ — power of faultlessness, blamelessness or cleanliness) ๔. สังคหพละ (กำลังการสงเคราะห์ คือ การยึดเหนี่ยวน้ำใจคนและประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี — power of sympathy or solidarity) สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ
พละหมวดนี้ เป็นหลักประกันของชีวิต ผู้ประพฤติธรรม ๔ นี้ย่อมดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ เพราะเป็นผู้มีพลังในตน ย่อมข้ามพ้นภัยทั้ง ๔ คือ ๑. อาชีวิตภัย (ภัยเนื่องด้วยการครองชีพ — fear of troubles about livelihood) ๒. อสิโลกภัย (ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง — fear of ill-fame) ๓. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามเก้อเขินในที่ชุมนุม — fear of embarrassment in assemblies) ๔. มรณภัย (ภัยคือความตาย — fear of death) ๕. ทุคคติภัย (ภัยคือทุคติ — fear of a miserable life after death) ดู (๑๘๓) สังคหวัตถุ ๔ A.IV.363. องฺ.นวก.๒๓/๒๐๙/๓๗๖. (๒๒๒) พละ ๕ ของพระมหากษัตริย์ (พลังของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่สามารถเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดินได้ — strengths of a king) ๑. พาหาพลัง หรือ กายพลัง (กำลังแขน หรือกำลังกาย คือ ความแข็งแรงมีสุขภาพดี สามารถและชำนาญในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ ตลอดจนมียุทโธปกรณ์พรั่งพร้อม — strength of arms) ๒. โภคพลัง (กำลังโภคสมบัติ คือ มีทุนทรัพย์บริบูรณ์ พร้อมที่จะใช้บำรุงเลี้ยงคนและดำเนินกิจการได้ไม่ติดขัด — strength of wealth) ๓. อมัจจพลัง (กำลังอมาตย์ หรือกำลังข้าราชการ คือ มีที่ปรึกษาและข้าราชการ ระดับบริหารททรงคุณวุฒิเก่งกล้าสามารถ และจงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน — strength of counsellors or ministers) ๔. อภิชัจจพลัง (กำลังความมีชาติสูง คือ กำเนิดในตระกูลสูง เป็นขัตติยชาติ ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชน และได้รับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดีตามประเพณีแห่งชาติตระกูลนั้น — strength of high birth) ๕. ปัญญาพลัง (กำลังปัญญา คือ ทรงปรีชาญาณ หยั่งรู้เหตุผล ผิดชอบ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สามารถวินิจฉัยเหตุการณ์ทั้งภายในภายนอก และดำริการต่างๆ ให้ได้ผลเป็นอย่างดี — strength of wisdom) กำลังแขน หรือกำลังกาย แม้จะสำคัญ แต่ท่านจัดว่าต่ำสุด หากไม่มีพลังอื่นควบคุมค้ำจุน อาจกลายเป็นกำลังอันธพาล ส่วนกำลังปัญญา ท่านจัดว่าเป็นกำลังอันประเสริฐ เป็นยอดแห่งกำลังทั้งปวง เพราะเป็นเครื่องกำกับ ควบคุม และนำทางกำลังอื่นทุกอย่าง J.V.120 ขุ.ชา.๒๗/๒๔๔๔/๕๓๒; ชา.อ.๗/๓๔๘. (๒๒๓) พหูสูตมีองค์ ๕ (คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่าเป็นพหูสูต คือ ผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน — qualities of a learned person) ๑. พหุสสุตา (ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก — having heard or learned many ideas) ๒. ธตา (จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ — having retained or remembered them) ๓. วจสา ปริจิตา (คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่อง จัดเจน — having frequently practised them verbally; having consolidated them by word of mouth) ๔. มนสานุเปกขิตา (เพ่งขึ้นใจ คือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัด — having looked over them with the mind) ๕. ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา (ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ ความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล — having thoroughly penetrated them by view) A.III.112. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๘๗/๑๒๙. (๒๒๔) โภคอาทิยะ ๕ (ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ หรือ เหตุผลที่อริยสาวกควรยึดถือ ในการที่จะมีหรือครอบครองโภคทรัพย์ — uses of possessions; benefits one should get from wealth; reasons for earning and having wealth) อริยสาวกแสวงหาโภคทรัพย์มาได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยทางสุจริตชอบธรรมแล้ว ๑. เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตรภรรยา และคนในปกครองทั้งหลายให้เป็นสุข (to make oneself, one’s parents, children, wife, servants and workmen happy and live in comfort) ๒. บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข (to share this happiness and comfort with one’s friends) ๓. ใช้ป้องกันภยันตราย (to make oneself secure against all misfortunes) ๔. ทำพลี ๕ อย่าง (to make the fivefold offering)
๕. อุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ (to support those monks and spiritual teachers who lead a pure and spiritual teachers who lead a pure and diligent life) เมื่อใช้โภคทรัพย์ทำประโยชน์อย่างนี้แล้ว ถึงโภคะจะหมดสิ้นไป ก็สบายใจได้ว่า ได้ใช้โภคะนั้นให้เป็นประโยชน์ถูกต้องตามเหตุผลแล้ว ถ้าโภคะเพิ่มขึ้นก็สบายใจเช่นเดียวกัน เป็นอันไม่ต้องเดือดร้อนใจในทั้งสองกรณี. A.III.45 องฺ.ปญฺจก.๒๒/๔๑/๔๘. (๒๒๕) มัจฉริยะ ๕ (ความตระหนี่, ความหวง, ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี หรือมีส่วนร่วม — meanness; avarice; selfishness; stinginess) ๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่, หวงที่อาศัย เช่น ภิกษุหวงเสนาสนะ กีดกันผู้อื่นหรือผู้มิใช่พวกของตน ไม่ให้เข้าอยู่ เป็นต้น — stinginess as to dwelling) ๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล, หวงสกุล เช่น ภิกษุหวงสกุลอุปฐาก คอยกีดกันภิกษุอื่นไม่ให้เกี่ยวข้องได้รับการบำรุงด้วย เป็นต้น — stnginess as to family) ๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ, หวงผลประโยชน์ เช่น ภิกษุหาทางกีดกันไม่ให้ลาภเกิดขึ้นแก่ภิกษุอื่น — stinginess as to gain) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ, หวงสรีรวัณณะ คือผิวพรรณของร่างกาย ไม่พอใจให้ผู้อื่นสวยงาม ก็ดี หวงคุณวัณณะ คือ คำสรรเสริญคุณ ไม่อยากให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน หรือไม่พอใจได้ยินคำสรรเสริญคุณความดีของผู้อื่น ก็ดี — stinginess as to recognition) ๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม, หวงวิชาความรู้ และคุณพิเศษที่ได้บรรลุ ไม่ยอมสอนไม่ยอมบอกผู้อื่น กลัวเขาจะรู้เทียมเท่าหรือเกินตน — stinginess as to knowledge or mental achievements) D.III.234; A.III.271; Vbh.357 ที.ปา.๑๑/๒๘๒/๒๔๖; องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๕๔/๓๐๑; อภิ.วิ.๓๕/๙๗๘/๕๐๙. (๒๒๖) มาร ๕ (สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม — the Evil One; the Tempter; the Destroyer) ๑. กิเลสมาร (มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมารเพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต — the Mara of defilement) ๒. ขันธมาร (มารคือเบญจขันธ์, ขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะชราพยาธิเป็นต้น ล้วนรอนโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนา อย่างแรง อาจถึงกับพรากโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง — the Mara of the aggregates) ๓. อภิสังขารมาร (มารคืออภิสังขาร, อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังขารทุกข์ — the Mara of Karma-formations) ๔. เทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร, เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่งชื่อว่ามาร เพราะเป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญ เสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดียิ่งใหญ่ได้ — the Mara as deity) ๕. มัจจุมาร (มารคือความตาย, ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาส ที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดีทั้งหลาย — the Mara as death) Vism.211; Thag A.II.16.46 วิสุทฺธิ.๑/๒๗๐; เถร.อ. ๒/๒๔,๓๘๓,๔๔๑; วินย.ฎีกา. ๑/๔๘๑ (***) มิจฉาวณิชชา ๕ (การค้าขายที่ผิดหรือไม่ชอบธรรม) เป็นคำชั้นอรรถกถา บาลีเรียก วณิชชาที่ไม่ควรทำ หรือ อกรณียวณิชชา ดู (๒๒๗) วณิชชา ๕ (๒๒๗) วณิชชา ๕ (การค้าขาย ๕ อย่าง ในที่นี้หมายถึง การค้าขายที่เป็นอกรณียะสำหรับอุบาสก คือ อุบาสกไม่ควรประกอบ — trades which should not be plied by a lay disciple) ๑. สัตถวณิชชา (ค้าขายอาวุธ — trade in weapons) ๒. สัตตวณิชชา (ค้าขายมนุษย์ — trade in human beings) ๓. มังสวณิชชา (ค้าขายเนื้อสัตว์ — trade in flesh; อรรถกถาแก้ว่า เลี้ยงสัตว์ไว้ขาย — trade in animals for meat) ๔. มัชชวณิชชา (ค้าขายน้ำเมา — trade in spirits) ๕. วิสวณิชชา (ค้าขายยาพิษ — trade in poison) A.III.207. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๗๗/๒๓๓. (***) วัฑฒิ หรือ วัฒิ หรือ วุฒิ ๕ ดู (๒๓๗) อริยวัฑฒิ ๕ (๒๒๘) วิมุตติ ๕ (ความหลุดพ้น — deliverance) ดู (๒๑๕) นิโรธ ๕. (***) เวทนา ๕ ดู (๑๑๑) เวทนา ๕. (๒๒๙) เวสารัชชกรณธรรม ๕ (ธรรมทำความกล้าหาญ, คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า — qualities making for intrepidity) ๑. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ — faith; confidence) ๒. ศีล (ความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดระเบียบวินัย ไม่ผิดศีลธรรม — good conduct; morality) ๓. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก — great learning) ๔. วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร คือ การที่ได้เริ่มลงมือทำความเพียรพยายามในกิจการนั้นๆ อยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง — exertion; energy) ๕. ปัญญา (ความรอบรู้ เข้าใจซึ้งในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น รู้คิด รู้วินิจฉัย และรู้ที่จะจัดการ — wisdom; understanding) A.III.127 องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๐๑/๑๔๔ (๒๓๐) ศีล ๕ หรือ เบญจศีล (ความประพฤติชอบทางกายและวาจา, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, การควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน — the Five Precepts; rules of morality) ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นจากการปลงชีวิต, เว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายกัน — to abstain from killing) ๒. อทินนาทานา เวรมณี (เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้, เว้นจากการลักโกง ละเมิดกรรมสิทธิ์ ทำลายทรัพย์สิน — to abstain from stealing) ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หวงแหน — to abstain from sexual misconduct) ๔. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง — to abstain from false speech) ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี (เว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท, เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ — to abstain from intoxicants causing heedlessness) ศีล ๕ ข้อนี้ ในบาลีชั้นเดิมส่วนมากเรียกว่า สิกขาบท ๕ (ข้อปฏิบัติในการฝึกตน — training rules) บ้าง ธรรม ๕ บ้าง เมื่อปฏิบัติได้ตามนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล คือเป็นเบื้องต้นที่จัดว่าเป็นผู้มีศีล (virtuous) คำว่าเบญจศีลที่มาในพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ชั้นอปทาน และพุทธวงส์ ต่อมาในสมัยหลัง มีชื่อเรียกเพิ่มขึ้นว่าเป็น นิจสีล (ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ — virtues to be observed uninterruptedly) บ้าง ว่าเป็น มนุษยธรรม (ธรรมของมนุษย์หรือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ — virtues of man) บ้าง ดู คำสมาทาน ในAppendix D.III.235; A.III.203,275;Vbh.285. ที.ปา.๑๑/๒๘๖/๒๔๗; องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๗๒/๒๒๗;๒๖๔/๓๐๗; อภิ.วิ.๓๕/๗๗/๓๘๘ (***) สกทาคามี ๕ ดู (๕๙) สกทาคามี ๓,๕. (***) สมบัติของอุบาสก ๕ ดู (๒๔๗) อุบาสกธรรม ๕. (๒๓๑) สังวร ๕ (ความสำรวม, ความระวังปิดกั้นบาปอกุศล — restraint) สังวรศีล (ศีลสังวร, ความสำรวมเป็นศีล — virtue as restraint) ได้แก่ สังวร ๕ อย่าง คือ ๑. ปาฏิโมกขสังวร (สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์ — restraint by the monastic code of discipline) ๒. สติสังวร (สำรวมด้วยสติ คือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น — restraint by mind—fulness) = อินทรียสังวร ๓. ญาณสังวร (สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่ — restraint by knowledge) = ปัจจัยปัจจเวกขณ์ ๔. ขันติสังวร (สำรวมด้วยขันติ คือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ — restraint by patience) ๕. วิริยสังวร (สำรวมด้วยความเพียร คือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่าอาชีวปาริสุทธิ — restraint by energy) = อาชีวปาริสุทธิ. ในคัมภีร์บางแห่งที่อธิบายคำว่าวินัย แบ่งวินัยเป็น ๒ คือ สังวรวินัย กับ ปหานวินัย และจำแนกสังวรวินัยเป็น ๕ มีแปลกจากนี้เฉพาะข้อที่ ๑ เป็น สีลสังวร. ( ดู สุตฺต.อ.๑/๙; สงฺคณี. อ.๕๐๕; SnA.8; DhsA.351) Vism.7; PsA.14,447; VbhA.330. วิสุทฺธิ.๑/๘; ปฏิสํ.อ.๑๖; วิภงฺค.อ.๔๒๙ (๒๓๒) สุทธาวาส ๕ ดู (๓๓๗) ภูมิ ๔ หรือ ๓๑ (***) องค์แห่งธรรมกถึก ๕ ดู (๒๑๑) ธรรมเทสกธรรม ๕. (***) องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ ดู (๒๑๓) นวกภิกขุธรรม ๕. (๒๓๓) อนันตริยกรรม ๕ (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที — immediacy-deeds; heinous crimes which bring immediate results) ๑. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา — matricide) ๒. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา — patricide) ๓. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์ — killing an Arahant) ๔. โลหิตุปบาท (ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป — causing a Buddha to suffer a contusion or to bleed) ๕. สังฆเภท (ยังสงฆ์ให้แตกกัน, ทำลายสงฆ์ — causing schism in the Order) A.III.146 องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๒๙/๑๖๕ (***) อนาคามี ๕ ดู (๖๐) อนาคามี ๕ (๒๓๔) อนุปุพพิกถา ๕ (เรื่องที่กล่าวถึงตามลำดับ, ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนปรมัตถ์ — progressive sermon; graduated sermon; subjects for gradual instruction) ๑. ทานกถา (เรื่องทาน, กล่าวถึงการให้ การเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน — talk on giving, liberality or charity) ๒. สีลกถา (เรื่องศีล, กล่าวถึงความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม — talk on morality or righteousness) ๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์, กล่าวถึงความสุขความเจริญ และผลที่น่าปรารถนาอันเป็นส่วนดีของกาม ที่จะพึงเข้าถึง เมื่อได้ประพฤติดีงามตามหลักธรรมสองข้อต้น — talk on heavenly pleasures) ๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษแห่งกาม, กล่าวถึงส่วนเสีย ข้อบกพร่องของกาม พร้อมทั้งผลร้ายที่สืบเนื่องมาแต่กาม อันไม่ควรหลงใหลหมกมุ่นมัวเมา จนถึงรู้จักที่จะหน่ายถอนตนออกได้ — talk on the disadvantages of sensual pleasures) ๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งความออกจากกาม, กล่าวถึงผลดีของการไม่หมกมุ่นเพลิดเพลินติดอยู่ในกาม และให้มีฉันทะที่จะแสวงความดีงามและความสุขอันสงบที่ประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านั้น — talk on the benefits of renouncing sensual pleasures) ตามปกติ พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกถานี้ก่อน แล้วจึงตรัสแสดงอริยสัจ ๔ เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับ ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้ว ควรรับน้ำย้อมต่างๆ ได้ด้วยดี Vin.I.15; D.I.148. วินย. ๔/๒๗/๓๒; ที.สี.๙/๒๓๗/๑๘๙. (๒๓๕) อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ (ข้อที่สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ควรพิจารณาเนืองๆ — ideas to be constantly reviewed; facts which should be again and again contemplated) ๑. ชราธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ — He should again and again contemplate: I am subject to decay and I cannot escape it.) ๒. พยาธิธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไมล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้ — I am subject to disease and I cannot escape it.) ๓. มรณธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ — I am subject to death and I cannot escape it.) ๔. ปิยวินาภาวตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น — There will be division and separation from all that are dear to me and beloved.) ๕. กัมมัสสกตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาท ของกรรมนั้น — I am owner of my deed, whatever deed I do, whether good or bad, I shall become heir to it.) ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ ๕ อย่างนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อละสาเหตุต่างๆ มี ความมัวเมา เป็นต้น ที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในความประมาท และประพฤติทุจริตทางไตรทวาร กล่าวคือ :- ข้อ ๑ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความเป็นหนุ่มสาวหรือความเยาว์วัย ข้อ ๒ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความไม่มีโรค คือ ความแข็งแรงมีสุขภาพดี ข้อ ๓ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในชีวิต ข้อ ๔ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความยึดติดผูกพันในของรักทั้งหลาย ข้อ ๕ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความทุจริตต่างๆ โดยตรง เมื่อพิจารณาขยายวงออกไป เห็นว่ามิใช่ตนผู้เดียวที่ต้องเป็นอย่างนี้ แต่เป็นคติธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่จะต้องเป็นไป เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้เสมอๆ มรรคก็จะเกิดขึ้น เมื่อเจริญมรรคนั้นมากเข้า ก็จะละสังโยชน์ทั้งหลาย สิ้นอนุสัยได้. A.III.71. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๕๗/๘๑. (๒๓๖) ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ ๑๐ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ — ideas to be constantly reviewed by a monk; facts which the monk should again and contemplate) บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า (เติมลงหน้าข้อความทุกข้อ) ๑. เราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว๑ (I have come to a status different from that of a layman.) ข้อนี้บาลีว่า "เววณฺณิยมฺหิ อชฺฌูปคโต" ในที่นี้แปล เววณฺณิย ว่า ความมีเพศต่าง (จากคฤหัสถ์) แต่หลายท่าน แปลว่า ความปราศจากวรรณะ (casteless state) คือเป็นคนนอกระบบชนชั้น หรือ หมดวรรณะ คือ หมดฐานะในสังคม หรือเป็นคนนอกสังคม (outcast) ความต่าง หรือปราศจาก หรือหมดไปนี้ อรรถกถาอธิบายว่า เป็นไปในสองทาง คือ ทางสรีระ เพราะปลงผมและหนวดแล้ว และทางบริขาร คือเครื่องใช้ เพราะแต่ก่อนครั้งเป็นคฤหัสถ์ เคยใช้ผ้าดีๆ รับประทานอาหารรสเลศในภาชนะเงินทอง เป็นต้น ครั้งบวชแล้ว ก็นุ่งห่มผ้าย้อมฝาดฉันอาหาร คลุกเคล้าในบาตรเหล็กบาตรดิน ปูหญ้านอนต่างเตียง เป็นต้น ส่วนวัตถุประสงค์แห่งการพิจารณาธรรมข้อนี้ อรรถกถาแก้ว่า จะละความกำเริบใจ (ความจู้จี้เง้างอน) และมานะ (ความถือตัว) เสียได้. ๒. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น๒ (คือต้องอาศัยผู้อื่น — My livelihood is) วัตถุประสงค์ ตามอรรถกถาแก้ว่า เพื่อให้อิริยาบถเรียบร้อยเหมาะสม มีอาชีวะบริสุทธิ์ เคารพในบิณฑบาต และบริโภคปัจจัยสี่ด้วยใส่ใจพิจารณา ๓. เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ๓ (I have a different way to behave.) อรรถกถาอธิบายว่า เราควรทำอากัปป์ (คือกิริยามารยาท) ที่ต่างจากของคฤหัสถ์ เช่น มีอินทรีย์สงบ ก้าวเดินสม่ำเสมอ เป็นต้น และแสดงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อให้มีอิริยาบถเรียบร้อยเหมาะสม บำเพ็ญไตรสิกขาได้บริบูรณ์ ๔. ตัวเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ (Does my not reproach me on my virtue’s account ?) ข้อนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดหิริพรั่งพร้อมอยู่ในใจ ช่วยให้มีสังวรทางไตรทวาร ๕. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ (Do my discerning fellows in the holy life, on considering me, not reproach me on my virtue’s account ?) ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ดำรงโอตตัปปะในภายนอกไว้ได้ ช่วยให้มีสังวรทางไตรทวาร ๖. เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น (There will be division and separation from all that are dear to me and beloved.) ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นผู้ไม่ประมาท และเป็นอันได้ตั้งมรณสติไปด้วย ๗. เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น (I am owner of my deed, whatever deed I do, whether good or bad, I shall become heir to it.) ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้กระทำความชั่ว ๘. วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่ (How has my passing of the nights and days been ?) ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความไม่ประมาทให้บริบูรณ์ ๙. เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ (Do I delight in a solitary place or not?) ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำกายวิเวกให้บริบูรณ์ ๑๐. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้ว มีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถาม ในกาลภายหลัง (Have I developed any extraordinary qualities whereon when questioned in my latter days by my fellows in the holy life I shall not be confounded ?) ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้เป็นผู้ตายเปล่า
๑ ในนวโกวาท มีต่อว่า "อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ" ๒ ในนวโกวาท มีต่อว่า "เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย" ๓ ในนวโกวาท ทรงเรียงเป็นข้อความใหม่ว่า "อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้" จะเห็นว่า ข้อ ๑ กับข้อ ๓ ทรงตีความต่างออกไป ถ้าแปลตามนัยอรรถกถา ข้อ ๑ จะได้ว่า "เราเป็นผู้หมดวรรณะ คือไม่มีฐานะในสังคมแล้ว จะต้องไม่มีความกระด้างถือตัวใดๆ" ข้อ ๓ จะได้ว่า "เราจะต้องมีอาการกิริยาต่างจากคฤหัสถ์ สำรวมให้เหมาะกับความเป็นสมณะ" (องฺ.อ.๓/๓๙๕) A.V.87; Netti. 185. องฺ.ทสก.๒๔/๔๘/๙๗; องฺ.อ.๓/๓๙๕. (***) อรหันต์ ๕ ดู (๖๒) อรหันต์ ๕. (๒๓๗) อริยวัฑฒิ หรือ อารยวัฒิ ๕ (ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน — noble growth; development of a civilized or a righteous man) ๑. ศรัทธา (ความเชื่อ ความมั่นใจในพระรัตนตรัย ให้หลักแห่งความจริงอย่างดีงามอันมีเหตุผล — confidence) ๒. ศีล (ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต — good conduct; morality) ๓. สุตะ (การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ — learning) ๔. จาคะ (การเผื่อแผ่เสียสละ เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจช่วยเหลือ ในกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว — liberality) ๕. ปัญญา (ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง — wisdom) A.III.80 องฺ.ปญฺจก.๒๒/๖๓-๖๔/๙๑-๙๒. (๒๓๘) อายุสสธรรม หรือ อายุวัฒนธรรม ๕ (ธรรมที่เกื้อกูลแก่อายุ หรือธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ, ธรรมที่ช่วยให้อายุยืน — things conducive to long life) ๑. สัปปายการี (รู้จักทำความสบายแก่ตนเอง — to do what is suitable for oneself and favourable to one’s health; to act in accordance with rules of hygiene) ๒. สัปปาเย มัตตัญญู (รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย — to be moderate even as to thigs suitable and favourable) ๓. ปริณตโภชี (บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย เช่น เคี้ยวให้ละเอียด — to eat food which is ripe or easy to digest) ๔. กาลจารี (ประพฤติเหมาะในเรื่องเวลา เช่น รู้จักเวลา ทำถูกเวลา ทำเป็นเวลา ทำพอเหมาะแก่เวลา เป็นต้น — to behave oneself properly as regards time and the spending of time.) ๕. พรหมจารี (ถือพรหมจรรย์ ผู้เป็นคฤหัสถ์รู้จักควบคุมกามารมณ์เว้นเมถุนบ้าง — to practise sexual abstinence) อายุวัฒนธรรมนี้ มีอีกหมวดหนึ่ง สามข้อแรกเหมือนกัน แปลกแต่ข้อ ๔ และ ๕ เป็น ๔. สีลวา (มีศีล ประพฤติดีงาม ไม่ทำความผิด — to be morally upright) ๕. กัลยาณมิตตะ (มีกัลยาณมิตร — to have good friends) A.III.145. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๒๕-๖/๑๖๓. (***) อารยวัฒิ ๕ ดู (๒๓๗) อริยวัฑฒิ ๕ (๒๓๙) อาวาสิกธรรม ๕ (ธรรมของภิกษุผู้อยู่ประจำวัด, แปลถือความมาใช้ให้เหมาะกับปัจจุบันว่า คุณสมบัติของเจ้าอาวาส, หมวดที่ ๑ ประเภทที่ควรยกย่อง — qualities of an estimable resident or incumbent of a monastery; qualities of an estimable abbot) ๑. อากัปปวัตตสัมปันนะ (ถึงพร้อมด้วยมารยาทและวัตร — to be accomplished in manner and duties) ๒. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning) ๓. ปฏิสัลเลขิตา (เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ชอบความสงบ ยินดีในกัลยาณธรรม — to be fond of solitude) ๔. กัลยาณวาจา (มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี — to have and convincing speech) ๕. ปัญญวา (มีปัญญา เฉลียวฉลาด — to be wise) A.III.261 องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๓๑/๒๙๐. (๒๔๐) อาวาสิกธรรม ๕ (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ ๒ ประเภทเป็นที่รักที่เคารพของสพหรมจารี คือ เพื่อนภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน — qualities of a beloved and respected incumbent or abbot) ๑. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to gave good conduct) ๒. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning) ๓. กัลยาณวาจา (มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี — to have lovely and convincing speech) ๔. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน ๔ สำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions ot will) ๕. อนาสวเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ (บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะแล้ว — to have gained the Deliverance A.III.262. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๓๒/๒๙๐. (๒๔๑) อาวาสิกธรรม ๕ (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ ๓ ประเภทอาวาสโสภณ คือทำวัดให้งาม — qualities of on incumbent or abbot who graces the monastery) ๑. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to have good conduct) ๒. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning) ๓. กัลยาณวาจา (มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี — to have lovely and convincing speech) ๔. ธัมมิกถาย สันทัสสนา (สามารกล่าวธรรมีกถาให้ผู้มาหาเห็นแจ่มชัด ยอมรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้า และเบิกบานใจ — to be able teach, incite, rouse and satisfy those who him with talk on the Dharma) ๕. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน ๔ ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions) A.III.262 องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๓๓/๒๙๑. (๒๔๒) อาวาสิกธรรม ๕ (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ ๔ ประเภท มีอุปการะมากแก่วัด — qualities of an incumbent or abbot who is of greal service to his monastery) ๑. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to have good conduct) ๒. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning) ๓. ขัณฑผุลลปฏิสังขรกะ (รู้จักปฏิสังขรณ์เสนาสนะสิ่งของที่ชำรุดหักพัง — to repair broken and dilapidated things) ๔. ปุญญกรณายาโรจกะ (เมื่อมีสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากต่างถิ่นต่างแคว้น ขวนขวายบอกชาวบ้านผู้ปวารณาไว้ให้มาทำบุญ — to inform the householders of the arrival of incoming monks in order that the former may make merit) ๕. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน ๔ ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions) A.III.263 องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๓๔/๒๙๒. (๒๔๓) อาวาสิกธรรม ๕ (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ ๕ ประเภทอนุเคราะห์คฤหัสถ์ — qualities of an incumbent or abbot who is kind to lay people) ๑. อธิสีเล สมาทปกะ (ชักนำคฤหัสถ์ให้ถือปฏบัติในอธิศีล — to incite them to higher 80">virtue) อธิศีลในที่นี้ ท่านอธิบายว่า ได้แก่เบญจศีลที่เป็นไปเพื่อคุณเบื้องสูง ๒. ธัมมทัสสเน นิเวสกะ (ยังคฤหัสถ์ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ คือรู้เห็นเข้าใจธรรม — to encourage them in the discernment of truth or the vision of the doctrine) ๓. คิลานสตุปปาทกะ (เมื่อคฤหัสถ์เจ็บไข้ ไปเยี่ยมให้สติ — to visit the sick and rouse them to mindfulness and awareness) ๔. ปุญญกรณายาโรจกะ (เมื่อมีสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากต่างแคว้น ขวนขวายบอกชาวบ้านผู้ปวารณาไว้ให้มาทำบุญ — to inform the householders of the arrival of incoming monks in order that the former may make merit) ๕. สัทธาเทยยาวินิปาตกะ (เขาถวายโภชนะใดๆ จะเลวหรือดี ก็ฉันด้วยตนเอง ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป — to enjoy by himself any given food, whether mean or choice, not frustrating the gift of faith) A.III.263. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๓๕/๒๙๒. (๒๔๔) อาวาสิกธรรม ๕ (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ ๖ ประเภทมีความสุขความเจริญดุจได้รับเชิญขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ — qualities of an incumbent or abbot who is prosperous as if put in heaven) ๑. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวตำหนิติเตียนบุคคลที่ควรตำหนิติเตียน — to speak in blame of a person deserving blame only after deliberately testing and plumbing the matter. ๒. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ควรยกย่องสรรเสริญ — to speak in praise of a person deserving praise only after deliberately testing and plumbing the matter. ๓. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงแสดงความไม่เลื่อมใส ในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส — to show disbelief in what deserves disbelief only after deliberately testing and plumbing the matter. ๔. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงแสดงความเลื่อมใส ในฐานะอันควรเลื่อมใส — to show appreciation in what deserves appreciation only after deliberately testing and plumbing the matter. เจ้าอาวาสที่ประพฤติตรงข้ามจากนี้ ย่อมเสื่อมดุจถูกจับไปขังในนรก. A.III.264. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๓๖/๒๙๓. (๒๔๕) อาวาสิกธรรม ๕ (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ ๗ ประเภทมีความสุขความเจริญดุจได้รับเชิญขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ อีกหมวดหนึ่ง — sikadhamma) ๑. อนุวิจจาวัณณภาสกะ (พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวตำหนิติเตียนบุคคลที่ควรตำหนิติเตียน - คำแปลภาษาอังกฤษดูในหมวดก่อน) ๒. อนุวิจจวัณณภาสกะ (พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ควรยกย่องสรรเสริญ - คำและภาษาอังกฤษดูในหมวดก่อน) ๓. น อาวาสมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนที่อยู่อาศัย — not to be stingy as to lodging) ๔. น กุลมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนตระกูลอุปฐาก — not to be stingy as to supporting-families) ๕. น ลาภมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนลาภ — not to be stingy as to gain)
นอกจากนี้ ยังมีอาวาสิกธรรมประเภทมีความสุขความเจริญเหมือนได้รับเชิญไปอยู่ในสวรรค์ อีก ๓ หมวด แต่มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย หรือกำหนดได้ง่ายคือ หมวดหนึ่ง เปลี่ยนเฉพาะข้อ ๕ เป็น "ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป" อีกหมวดหนึ่ง เปลี่ยน ๔ ข้อต้นเป็นเรื่องมัจฉริยะทั้งหมด คือ เป็น น อาวาสมัจฉรี, น กุลมัจฉรี, น ลาภมัจฉรี, น วัณณมัจฉรี ส่วนข้อสุดท้ายเป็น "ไม่ยังศรัทธาไทย ให้ตกไป" อีกหมวดหนึ่ง เปลี่ยนเป็นเรื่องมัจฉริยะทั้ง ๕ ข้อ คือ เป็นผู้ไม่มีมัจฉริยะทั้ง ๕ ดู (๒๒๕) มัจฉริยะ ๕. A.III.264-6 องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๓๗-๒๔๐/๒๙๓-๒๙๕. (๒๔๖) อินทรีย์ ๕ ดู (๒๒๐) พละ ๕ (๒๔๗) อุบาสกธรรม ๕ (ธรรมของอุบาสกที่ดี, สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกอย่างเยี่ยม — qualities of an excellent lay disciple) ๑. มีศรัทธา (to be endowed with faith) ๒. มีศีล (to have good conduct) ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล คือ มุ่งหวังจากการกระทำและการงาน มิใช่จากโชคลางและสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ (not to be superstitious, believing in deeds, not luck) ๔. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา (not to seek for the gift-worthy outside of the Buddha’s teaching) ๕. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา (to do gis first service in a Buddhist cause) ธรรม ๕ อย่างนี้ ในบาลีที่มาเรียกว่า ธรรมของอุบาสกรัตน์ (อุบาสกแก้ว) หรือ อุบาสกปทุม (อุบาสกดอกบัว) ดู (๒๔๘) อุบาสกธรรม ๗ ด้วย. A.III.206. องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๗๘/๒๓๐. (๒๔๘) อุบาสกธรรม ๗ (ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก — qualities conducive to the progress of a lay disciple) ๑. ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ (not to fail to see the monks) ๒. ไม่ละเลยการฟังธรรม (not to neglect to hear the Teaching) ๓. ศึกษาในอธิศีล (to train oneself in higher virtue) ๔. มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ นวกะ และปูนกลาง (to be full of confidence in the nonks, whether elder, newly ordained or mid-term) ๕. ไม่ฟังธรรมด้วยตั้งใจจะคอยเพ่งโทษติเตียน (to listen to the Dhamma not in order to criticize) ๖. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ (not to seek for the gift-worthy outside of the Buddha’s teaching) ๗. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา (to do his first service in a Buddhist cause) A.IV.25,26 องฺ.สตฺตก.๒๓/๒๗,๒๘/๒๖,๒๗. |