วิปัสสนา


สมัยพุทธกาลยังมีผู้เข้าใจผิดเรื่องมรรคผล


อรรถกถาธรรมบท : ชราวรรควรรณนา
เรื่องพระอธิมานิกภิกษุ


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุผู้มีความสำคัญว่า ตนได้บรรลุพระอรหัตผลหลายรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยานิมานิ" เป็นต้น.


พวกภิกษุสำคัญผิด

ดังได้สดับมา ภิกษุ ๕๐๐ รูปเรียนกรรมฐานในสำนักพระศาสดา แล้วเข้าไปสู่ป่า พากเพียรพยายามอยู่ ยังฌานให้เกิดขึ้นแล้ว สำคัญว่า "กิจบรรพชิตของพวกเราสำเร็จแล้ว" (คือบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว - ธัมมโชติ) เพราะกิเลสทั้งหลายไม่ฟุ้งขึ้น (เพราะอำนาจของสมาธิในขั้นฌานข่มกิเลสเหล่านั้นเอาไว้ ดูเรื่องพุทธวิธีพัฒนาจิต ในหมวดบทวิเคราะห์ ประกอบ - ธัมมโชติ) จึง(กลับ)มาด้วยหวังว่า "จักกราบทูลคุณที่ตนได้แล้วแด่พระศาสดา."


พระศาสดาจึงแก้ความสำคัญผิดนั้น

ในเวลาที่พวกเธอถึงซุ้มประตูชั้นนอกเท่านั้น พระศาสดาตรัสกะพระอานนทเถระว่า "อานนท์ การงาน (เกี่ยว) ด้วยเราผู้อันภิกษุเหล่านี้เข้ามาเฝ้า ยังไม่มี. ภิกษุเหล่านี้จงไปป่าช้าผีดิบ (เสียก่อน) กลับมาจากที่นั้นแล้วจึงค่อยเฝ้าเรา."

พระเถระไปแจ้งความนั้นแก่พวกเธอแล้ว. พวกเธอไม่พูดเลยว่า "พวกเราจะได้ประโยชน์อะไรด้วยป่าช้าผีดิบ" คิดเสียว่า "พระพุทธเจ้าทรงเห็นการณ์ไกล จักทรงเห็น (เหตุ) การณ์" ดังนี้แล้ว ไปสู่ป่าช้าผีดิบแล้ว เมื่อเห็นศพในที่นั้น กลับได้ความเกลียดชังในซากศพที่เขาทิ้งไว้ ๑ วัน ๒ วัน ยังความกำหนัดให้เกิดในสรีระอันสดซึ่งเขาทิ้งไว้ในขณะนั้น. ในขณะนั้นก็รู้ว่าตนยังมีกิเลส.

พระศาสดา ..... ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเห็นร่างกระดูกเช่นนั้น ยังความยินดีด้วยอำนาจราคะให้เกิดขึ้น ควรละหรือ ?" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

ยานิมานิ อปตฺถานิ อลาปูเนว* สารเท
กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ ตานิ ทิสฺวาน กา รติ.


"กระดูกนี้เหล่าใด อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาด
ดุจน้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ
ความยินดีอะไรเล่า ? (จักมี) เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น."

* อรรถกถาว่า อลาพูเนว.



วิปัสสนา
ทุกข์เกิดจากอะไร กิเลสเกิดจากอะไร กิเลสดังได้อย่างไร วิปัสสนาคืออะไร ฐานสำหรับเจริญวิปัสสนา การเจริญวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน ข้อควรจำสำหรับผู้ต้องการพ้นทุกข์ สัญโยชน์ 10 พุทธพจน์เกี่ยวกับวิปัสสนา อริยบุคคล 8 ประเภท อานาปานสติสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร ทำไมไม่พูดถึงวิปัสสนาญาณ อย่าทำวิปัสสนา-เพื่อหวังเกิดเป็นอะไร อริยบุคคล7ประเภท(ตามการบรรลุ) โพชฌงค์ 7 โยนิโสมนสิการ อาจารย์และศีลจำเป็นหรือไม่ รูปนามกำลังแสดงธรรมชาติให้เห็น โทษของกาม ทุกขเวทนากับทุกข์ในไตรลักษณ์ ศีลเป็นฐานของอริยมรรค ดอกไม้อริยะ สมถะกับวิปัสสนา การเจริญสัญญา 10 ประการ สมัยพุทธกาลมีผู้เข้าใจผิดเรื่องมรรคผล พิจารณาแล้วไม่เกิดปัญญาเสียที สุญญตาแนวเถรวาท การฝึกสติในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของชีวิต อริยบุคคลที่ต้องรีบบวช


จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย